การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ (The Development of Application using collaborative learning on the topic “Healthy Exercise for the Elderly”)

Main Article Content

อนุชา จันทร์เต็ม (Anucha Chantem)
สรัญญา เชื้อทอง (Saranya Chuathong)
ปกรณ์ สุปินานนท์ (Pakorn Supinanont)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการของผู้สูงอายุที่มีต่อการพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 2) ศึกษาคุณภาพของแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของการใช้แอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 4) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้แอปพลิเคชัน โดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันเรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มผู้สูงอายุในเขตอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ที่มีช่วงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 1,865 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุบ้านภู ตำบลบ้านเป้าอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ที่มีช่วงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 100คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Cluster Sampling) จาก 6 ตำบลในเขตอำเภอหนองสูง แบ่งเป็นเขตการปกครองของเทศบาลตำบลบ้านเป้ามี 4 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย บ้านภู บ้านเป้า บ้านป่าแสด บ้านคำพี้ จับฉลากมา  1 หมู่บ้าน คือ บ้านภู จำนวน 133 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยวิธีการจับฉลาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุบ้านภู ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ที่มีช่วงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับฉลาก จำนวน 40 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ มีผลการสำรวจความต้องการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 และส่วนเบี่ยงเบนเท่ากับ 0.61 2) ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจำนวน 3 ท่าน โดยภาพรวมมีคุณภาพ อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และส่วนเบี่ยงเบนเท่ากับ 0.52 และผลการเมินคุณภาพด้านสื่อ จำนวน 3 ท่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 และส่วนเบี่ยงเบนเท่ากับ 0.53  3) ผลการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้พบว่า คะแนนหลังการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่า t คำนวณเท่ากับ 21.39 4 ) ผลการประเมินความพึงพอใจโดยภาพรวม มีความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 และส่วนเบี่ยงเบนเท่ากับ 0.57 และหลังจากมีการเรียนรู้ร่วมกันผ่านกลุ่มไลน์โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้และการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุเรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น ดังนั้น จึงพบว่า การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ มีคุณภาพสามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ


 


The objectives of the study were aimed at (1) exploring the elders’ needs towards the development of application with collaborative learning in the topic of “Exercising for Elders’ Health”; (2) examining the quality of application with collaborative learning;(3) studying the learning achievement from using the application with collaborative learning; and (4) finding out the satisfaction of the sample towards using the application with collaborative learning. The population of this study is specified from 1,865 elders in Nong Sung District, Mukdahan Province who have the age of more than 60 years old. 100 elders from Baan Phu in Ban Pao Sub-district,Nong Sung District, Mukdahan Province are selected as the sample of this study by using Cluster Sampling from 6 sub-districts in Nong Sung District where there are 4 villages, including Baan Phu, Baan Pao, Baan Pa Sad, and Baan Kum Pee, and 133 elders from Baan Phu were drawn by Simple Random Sampling.  The sample of the experiment is from 40 elders in Baan Phu, Ban Pao  Sub-district, Nong Sung District, Mukdahan Province, selected by Simple Random Sampling.The study revealed that (1) there had been “high” level of needs in the development of application with collaborative learning in the topic of “Exercising for Elders’ Health”  (  x=  4.69, S.D. = 0.61) (2) the content quality assessed by 3 experts had been in the “good” level (  x= 4.27, S.D. = 0.52) and the media quality evaluated by 3 experts had been in the “excellent” level (  = 4.62,S.D. = 0.53) (3) the post-test learning achievement had been higher than the pre-test score at the level of 0.05 (t = 21.39) (4) the overall satisfactory result is at the “highest” level in every dimension ( x = 4.57, S.D. = 0.57). And after learning together through the application Line-group, the exchange of knowledge and participation in the society of the elderly on fitness for health. As a result, the elderly have a faster and more convenient communication. Summarily, the development of application with collaborative learning in the topic of “Exercising for Elders’ Health” was qualified for efficiently using as the learning material.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ