พฤติกรรมการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้มาเยือนอุทยานแห่งชาติปางสีดา (Environmentally Responsible Behaviors of Visitors to Pang Sida National Park)

Main Article Content

นภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว (Noppawan Tanakanjana Phongkhieo)
จิราภรณ์ เทียมพันธ์พงศ์ (Jiraporn Teampanpong)

Abstract

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและระดับของพฤติกรรมการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้มาเยือนอุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้วและปราจีนบุรี และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลและมีอำนาจในการจำแนกพฤติกรรมการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้มาเยือน โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้มาเยือนพื้นที่ศึกษาจำนวน 500 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้มาเยือนอุทยานแห่งชาติปางสีดาอยู่ที่ระดับ 2.91 จากคะแนนเต็ม 4.00 (SD. = 0.46) จัดอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่มพบว่าตัวแปรอิสระทุกตัวส่งผลและมีอำนาจในการจำแนกพฤติกรรมการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้มาเยือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การจำแนกมาตรฐานสูงสุดเรียงตามลำดับ คือ ความตระหนักในคุณค่าของการรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ (0.721) อายุ (0.467) ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของกิจกรรมการท่องเที่ยวต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (0.462) และประสบการณ์ในการไปเยือนพื้นที่ธรรมชาติ (0.403) งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะหลักให้ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของกิจกรรมการท่องเที่ยวต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มความตระหนักในคุณค่าของการรักษาระบบนิเวศทางธรรมชาติ และเพิ่มความเข้าใจในการปฏิบัติตัวอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้มาเยือนอุทยานแห่งชาติ


 


               This research aimed to study characteristics and level of environmentally responsible behaviors of visitors to Pang Sida National Park in Sa Kaeo and Prachin Buri Provinces and to study factors affecting and discriminating the environmentally responsible behaviors of visitors. Questionnaire was used to collect data from 500 park visitors. The collected data was analyzed using descriptive statistics and discriminant analysis method. The study results revealed that the average score of environmentally responsible behaviors of visitors was 2.91 from the highest possible score of 4.00 (SD. = 0.46) which was in moderate level. The discriminant analysis found all independent variables significantly affected and had discrimination power over the environmentally responsible behaviors of visitors, confirming by the Standardized Canonical Discriminant Function Coefficients ordering from highest to lowest values as follows: awareness in value of ecosystem and the environment (0.721), age (0.467), knowledge about impacts of tourism activities on ecosystem and the environment (0.462), and experience in visiting natural area (0.403). This research recommended that the related parties should extend knowledge about impacts of tourism activities on ecosystem and the environment in order to enhance the awareness in their values and to increase the understanding on environmentally practices among national park visitors. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ