แนวทางการจัดการพื้นที่เทศบาลตำบลบางตะบูนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบ (The Managing Guideline of Tambon Bangtaboon Municipality area as a slow tourism destination)

Main Article Content

พนัชกร สิมะขจรบุญ (Panuschagone Simakhajornboon)

Abstract

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการพื้นที่เทศบาลตำบลบางตะบูนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 สนทนากลุ่มร่วมกับผู้ประกอบการร้านอาหาร โฮมสเตย์ ชุมชน และเจ้าหน้าที่เทศบาลฯ จำนวน 54 คน โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลัก แนวคำถามในการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามหลักองค์ประกอบการท่องเที่ยว พบว่า มีแนวทางการจัดการพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบได้ ดังนี้            1) สร้างเส้นทางการท่องเที่ยวโดยจักรยานในชุมชนเพื่อเรียนรู้แหล่งสำคัญทางประวัติศาสตร์และวิถีชุมชน 2) สร้างเส้นทางอาหารทะเลเพื่อเป็นแหล่งพักรับประทานของนักท่องเที่ยวและนักชิม 3) ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์และรูปแบบขนมพื้นถิ่นเพื่อเป็นสินค้าของฝาก 4) พัฒนาผู้ประกอบการร้านอาหารเพื่อการรับรองมาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยว 5) พัฒนาโฮมสเตย์เพื่อการรับรองมาตรฐานฯ ตอนที่ 2 นำผลการวิจัยที่ได้มาจัดทำแนวทางเชิงประจักษ์ในการจัดการพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวฯที่น่าสนใจ โดยลงพื้นที่สำรวจ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 104 คน วิเคราะห์ผลด้วย SWOT Analysis และใช้แบบประเมินมาตรฐานบริการอาหารและแบบประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สามารถสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวโดยจักรยาน 2 เส้นทาง เส้นทางอาหาร 1 เส้นทาง ปรับปรุงรูปแบบขนมเพื่อเป็นของฝาก 4 ชนิด ส่วนมาตรฐานร้านอาหารและโฮมสเตย์มีผลการประเมินในระดับดีสามารถรองรับการท่องเที่ยวฯได้ ปัญหาที่พบ คือ 1) การสร้างเส้นทางจักรยานต้องการความร่วมมือของชุมชนและการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอีกมาก 2) ร้านอาหารทะเลยังไม่สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน 3) ร้านอาหารและโฮมสเตย์ ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานจึงไม่ได้ปฏิบัติตาม เทศบาลตำบลบางตะบูนควรกำหนดแนวทางในการจัดการพื้นที่เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบ


 


                The objective of this research is to study the managing guideline of Tambon Bangtaboon Municipality as a slow tourism destination. The methodology of this research utilized qualitative methods divided into 2 stages: the first stage includes a group discussion with 54 key informants, such as operators of restaurants, homestays, and community and municipal officials. Purposeful sampling was conducted for this research and researcher is an instrument. Questionnaires used in the group discussion were developed by the researcher according to five tourism elements: tourist destinations, food, souvenirs, activities, and accommodation. The research found that there is a pathway to manage the area as a slow tourism attraction by 1) creating a biking route in the community that can be used for learning about important historical and cultural resources, 2) creating a seafood route for tourists and gourmets, 3) improving the packaging and style of local desserts for souvenirs, 4) training restaurant owners for food certification for tourism, and 5) developing homestays for tourism accreditation. The second stage is to use the results from the first stage to provide an empirical approach to managing the area as a slow tourism attraction through surveys, in-depth Interviews with 104 stakeholders and SWOT Analysis. In addition, using Food Service and Homestay Standards as instruments, analysis of mean and standard deviation. The research found that this area can create two bike routes, one seafood route, improve four desserts package for souvenirs. The restaurant and homestay standards have good appraisal and values for tourism. The problems are: 1) cycling routes require community collaboration and facility building, 2) seafood restaurants cannot create a unique identity, and 3) restaurants and homestays don’t know about their standards. Therefore, the stakeholders, especially the municipality of Tambon Bangtaboon, should set its strategies for the slow tourism destination.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ