การดำเนินงาน สภาพแวดล้อม และคุณภาพการบริการ กรณีศึกษา : สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (Operation, Environment and Service Quality. : Case study Office of Performming Arts, Fine Arts Department, Ministry of Culture.)

Main Article Content

พิมพ์ภัทรา จำปาโชค (Phimpattra Champachoke)
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ (Viroj Jadesadalug)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการการดำเนินงานของสำนักการสังคีต  2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินงานของสำนักการสังคีต 3) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการของสำนักการสังคีต การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการสำนักการสังคีต บุคลากรภายในของสำนักการสังคีต บุคลากรภายนอกที่มาติดต่องาน ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ - ดนตรี ผู้จัดจำหน่ายตั๋วการแสดง และผู้เข้าชมการแสดงของโรงละครแห่งชาติ รวม 19 ราย โดยผู้วิจัยเลือกแนวทางในการศึกษาแบบการสังเกต และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview)  ผลการศึกษา พบว่า 1) การดำเนินงานของสำนักการสังคีต นำหลักแนวทางในการทำงานมาใช้ ประกอบด้วย ด้านการวางแผน การจัดองค์กร การบังคับบัญชา การประสานงาน และการควบคุมซึ่งสำนักการสังคีตให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน เพื่อความสำเร็จบรรลุเป้าหมายขององค์กร 2) สภาพแวดล้อมการดำเนินงานของสำนักการสังคีตทั้งภายในและภายนอก จุดแข็งของสำนักการสังคีต คือ ด้านบุคลากร ที่มีความสามารถ มีชื่อเสียงในการแสดง พร้อมทั้งพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่จุดอ่อน คือ เทคโนโลยีที่ยังไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับโรงละครแห่งชาติ เพราะต้องอนุรักษ์แบบแผนดั้งเดิมไว้ สิ่งที่เป็นจุดอ่อนจะต้องนำมาพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้มีประสิทธิผลมากขึ้น 3) คุณภาพการบริการของสำนักการสังคีต ประกอบไปด้วยการประชาสัมพันธ์ การบริการภายในโรงละครแห่งชาติ รวมไปถึงด้านนักแสดงและการแต่งกายที่ใช้ในการแสดง พบว่าอยู่ในระดับพึงพอใจสำหรับผู้เข้ารับชมการแสดง จากผลการศึกษา สามารถนำข้อมูลที่ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการบริการได้อย่างเหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ นำไปสู่ผลระยะยาว และเป็นการดึงดูดให้ผู้เข้าชม กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบไป


 


            The purposes of the research was to study the: 1) Identify operation type and characteristics of Office of Performing Arts; 2) To analyze the operating environment to analyze the operating environment; and 3) Study service Quality development of Office of Performing Arts by Qualitative Research by collect data from director of Office of Performing Arts, Performing Arts officer, Others people that contract Performing Arts, Expert of the Performing Arts – Music, Ticket supplier and Visitors. Total 19 people. by Observation and in-depth interview


            The research results was that: 1) Operating of Office of Performing Arts use The guiding approach to work consists of planning, corporate management, command coordination, and supervision which the Office of Performing Arts prioritize about operation to ensure the success of the organization. 2) Operating Environment of Office of Performing Arts about internal and external. Strength of Performing Arts was competent staff, famous for acting and Along with develop consistently. While weaknesses are technologies that can not be adapted to the national theater Because conservation of traditional patterns. The weaknesses must be developed to increase the potential to work more effectively and 3) Quality Service of Office of Performing Arts Consists of public relation, service at the national theatre, performer the costume to used in the show, found to be satisfactory for the guests to watch the show from the study can be put to use as a guide in the development of a proper quality of service to meet the needs of the user. Long-term results of lead and is attracting visitors. The new generation youth group together cultural conservation, Thailand.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ