การใช้เบี้ยอรรถกรในการลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก (Reducing of Aggressive Behavior of Autistic Children by Using the Token Economy Reinforcement)

Main Article Content

ยุวดี เอี๊ยวเจริญ (Yuwadee Iawcharoen)

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้การเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรในการลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก ตัวอย่างที่ใช้ในการวิฤจัยครั้งนี้คือ เด็กออทิสติกที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว จำนวน 5 คน


               การทดลองเป็นการศึกษารายกรณีแบบ ABA โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ เป็นเวลา 10สัปดาห์ คือระยะที่ 1 ระยะเส้นฐานเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ระยะที่ 2 ระยะทดลองใช้โปรแกรมการใช้เบี้ยอรรถกรเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ระยะที่ 3 ระยะติดตามผลหลังหยุดการใช้การเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสำรวจตัวเสริมแรง แบบสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าว


               ผลการวิจัยพบว่า


               การใช้การเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรสามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกได้ โดยพิจารณาจากความถี่ของพฤติกรรมก้าวร้าวในระยะเส้นฐานที่ 1 (A) และระยะที่ 2 (B) โดยพบว่าระยะการปรับพฤติกรรม แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวลดลงจากระยะเส้นฐานพฤติกรรม


 


            The purpose of this research was to study the effect of token economy reinforcement to reduce aggressive behavior in autistic children. The subjects were 5 autistic students.


            The experimental design was a single – subject experimentation with ABA model. The experiment proceduce was devided in to 3 phases for 10 weeks. The first phase was a base – line period which covered 2 weeks. The second phase which covered 6 weeks was an experimentation phase of using token economy reinforcement to reduce the subject’s aggressive behavior. The instruments used to collect data were 1.The survey reinforcement form. 2.The observation form to record aggressive behavior.


            The result found that the subject’s aggressive behavior was reduced when using the economy token reinforcement.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ