การศึกษาผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม (A Study on Performance of Inclusive Schools Project)

Main Article Content

วันทนีย์ บางเสน (Wantanee Bangsaen)

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน ครูการศึกษาพิเศษ ครูประจำชั้น และครูผู้สอนชั้นเรียนรวมและเสนอแนะการดำเนินงานโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง 276 โรงเรียน กำหนดผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน  จำนวน 1 คน ครูการศึกษาพิเศษ จำนวน 1 คน ครูประจำชั้นเรียนรวม จำนวน 1 คน และครูผู้สอนชั้นเรียนรวม จำนวน 1 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม มีจำนวน 4 ชุด  สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าเอฟ (F-Test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  


  1. ผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวม และรายกลุ่มบุคลากร โดยครูการศึกษาพิเศษมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอนชั้นเรียนรวม ส่วนครูประจำชั้นมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่าอยู่ในระดับมากทุกประเด็น โดยประเด็นคุณภาพของการจัดการเรียนรวม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือประเด็นคุณภาพของการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ส่วนประเด็นคุณภาพของการได้รับบริการเพื่อการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด  

  2. ผลเปรียบเทียบผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม มีดังนี้ 1) ผลการดำเนินงานในภาพรวม ครูการศึกษาพิเศษ และผู้อำนวยการโรงเรียนมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับครูประจำชั้น และครูผู้สอนชั้นเรียนรวม 2) ผลการดำเนินงานในรายประเด็น พบว่าประเด็นคุณภาพของการได้รับบริการเพื่อการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ครูการศึกษาพิเศษ และผู้อำนวยการโรงเรียนมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับครูประจำชั้น และครูผู้สอนชั้นเรียนรวม  

  1. ข้อเสนอแนะการดำเนินงานโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม มี 5 ข้อ ได้แก่ โรงเรียนควรจัดระบบและกระบวนการให้ความช่วยเหลือเด็กให้ตรงตามความต้องการของนักเรียน จัดให้มีนักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะมาช่วยโรงเรียน ควรเน้นพัฒนาทักษะชีวิตมากกว่าวิชาการ สร้างเจตคติความรู้ความและเข้าใจที่ถูกต้องให้ผู้ปกครอง และโรงเรียนต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน  

 


         The objectives of this research were to study and compare the opinions of directors, special education teachers, general teachers, and class teachers regarding the performance of the Inclusive School Project in Thailand and to compile and propose suggestions for the implementation of the project. 276 samples were collected using multi-stage sampling. Each sample included 1 director, 1 special education teacher, 1 general teacher, and 1 class teacher from Inclusive School Projects during academic year 2016. The research instrument included 4 different types of questionnaires created by the researcher. The descriptive statistics for quantitative data used in this research comprised frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and F-Test. The research findings were as follows.


  1. The overview and the personnel opinions on the performance of the Inclusive Schools Project revealed high opinions in general and in all aspects of study. The special education teachers had the highest opinions, next were the directors and general teachers, followed by the class teachers who had the lowest opinions. Overall the subjects rated performance at a high level, providing inclusion at the highest level, the development of students with special needs and service quality were rated at the lowest level.   

  2. For the performance comparison of the Inclusive School Projects overall, special education teachers and director affected the difference at a statistically significant .05 with class teachers, and general teachers. For the performance comparison of the Inclusive School Projects on the service quality to students with special needs aspect, special education teachers and director affected the difference at a statistically significant .05 with class teachers, and general teachers.

  3. There were 5 suggestions in developing the performance of the Inclusive Schools Project: provide a better system and intervention process, increase professional cooperation, focus on life skills more than academic skills, develop positive attitudes, and build personnel relationships.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ