การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Learning Management of Social Studies to Develop Social Responsibility on Learners)

Main Article Content

วิภาพรรณ พินลา (Wipapan phinla)
วิภาดา พินลา (Wipapan phinla)

Abstract

                    อิทธิพลของเทคโนโลยียุคศตวรรษที่ 21 มีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ อันเป็นการหล่อหลอมให้บุคคลมีค่านิยมวัตถุนิยมและบริโภคนิยมมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติที่เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานของสังคม จนเกิดปัญหาสังคมไร้ระเบียบ บุคคลขาดคุณธรรมและจริยธรรมด้านความรับผิดชอบในหน้าที่ต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม ดังนั้น จึงเป็นงานที่สำคัญของครูสังคมศึกษาในการปลูกฝังและยกระดับคุณภาพที่ดีในผู้เรียน โดยการให้แนวทางที่หลากหลายในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนด้วยตนเอง โดยทำตามขั้นตอนดังนี้ 1) สนใจความรับผิดชอบ 2) เสริมสร้างความรับผิดชอบ 3) แสวงหาความรับผิดชอบ 4) แสดงความรับผิดชอบ 5) สรุปความรับผิดชอบ เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


 


                The influence of the 21st century technology plays an important role in determining human behavior to the extent of instilling materialism and consumerism in mankind.  Such behaviors will only lead to the behavior that deviates from the social norms, causing social disorder and lack of moral and ethical responsibility in performing duty for oneself and for others in society.  Therefore, it is the essential task of social studies teachers in instilling and enhancing the good qualities in the learners by way of providing diverse approaches in learning management for learners.  Students are encouraged to practice on their own by following the procedures: 1) Interest in Accountability;2) EndorsementAccountability;3) In Quest of Accountability;4) Exhibition of Accountability; and 5) Inference of Accountability, in order for the learners to behave in a socially responsible manner.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ