การพัฒนาระบบการฝึกอบรมบนเว็บเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการสอน ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (Development of Web-based Training System to Enhance Performance Instructional Design for Teacher in Non Formal Education)

Main Article Content

ศศิญานัยน์ แสนแพง (Sasiyanai Sanpang)
สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ (Suttipong Hoksuwan)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการฝึกอบรมบนเว็บเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการสอนของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (2) สร้างระบบการฝึกอบรมบนเว็บ และ (3) ศึกษาผลการใช้ระบบการฝึกอบรมบนเว็บ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ระยะที่ 1 ผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและผู้ประเมินคุณภาพภายนอกศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 10 คน และครูสังกัดสำนักงานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 2 เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่มเพื่อพิจารณาตรวจสอบคุณภาพร่างระบบการฝึกอบรมบนเว็บ จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 ครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 36 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent Samples t-test


               ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการฝึกอบรมบนเว็บเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการสอนของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ครูยังไม่สามารถออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมรรถนะด้านการพัฒนาหลักสูตรการสอน ออกแบบการสอน ใช้เทคโนโลยีการศึกษามาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง และการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพอยู่ในระดับพอใช้ซึ่งครูมีความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการสอน 4 ด้าน คือ ด้านความรู้พื้นฐาน ด้านการออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล และ ด้านการเข้าสังคม (2) ระบบการฝึกอบรมบนเว็บเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการสอนของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประกอบด้วย บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ และ ผลย้อนกลับ (3) ผลการใช้ระบบการฝึกอบรมบนเว็บเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการสอนของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พบว่า คะแนนจากการทดสอบหลังฝึกอบรมบนเว็บเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการออกแบบการสอนของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสูงขึ้นกว่าก่อนการฝึกอบรมบนเว็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้รับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมบนเว็บในระดับมาก


 


                  The purposes of this research were (1) to study problem training and needs assessment training for enhancing performance of instructional design for teacher in non formal education (2) to develop the web-based training system (3) to study the results of trials of the web-based training system. The samples used were. Phase 1: the 10 directors and assessors of non-formal education were in-depth interviewed and the teachers office of non-formal education of 400 by random sampling. Phase 2: 5 five professionals participated in the focus group to review the quality of drafts, models and training materials. Phase 3: 36 volunteers trainee teachers of non-formal education for trials of web-based training system. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, and Dependent Samples t-test.


               The research results were as follows. (1) The problem Instructional design of teacher in non formal education are the teachers can not design the learners' learning. Efficiently competency in curriculum development, instructional design, and instructional technology use in educational technology for teaching and learning. Assessment for learning authentic. And the knowledgeable and professional at a fair level. From the needs assessment, the teachers needed to develop the performance instructional design 3 aspects were, basic knowledge design and development of instructional media the learning management and evaluation. and social aspects (2) The web-based training system to enhance performance instructional design for formal education of contexts, input, process, output and feedback. (3) The post-test scores was higher than the pre-test scores at the statistical significant of .05

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ