การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสร้างมโนทัศน์ (Concept Attainment Model in Mathematics)

Main Article Content

ศิริรัตน์ ปัญจศุภวงศ์ (Sirirat Punchasupawong)

Abstract

              คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ  มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบครอบ สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การสอนคณิตศาสตร์ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน ควรวางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ สร้างสถานการณ์ให้เกิดการคิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงกับประสบการณ์กับที่มีมาก่อน แล้วจัดกลุ่มข้อมูลโดยใช้ลักษณะสำคัญร่วมในที่สุดผู้เรียนจะสามารถสร้างข้อสรุปด้วยตนเอง จะเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการนี้เรียกว่า รูปแบบการสร้างมโนทัศน์ ทั้งนี้การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสร้างมโนทัศน์ตามแนวคิดของ Klausmeir and Frayer มีขั้นตอนในการ 3 ขั้นตอน คือ 1) การสอนขั้นรูปธรรมและขั้นเหมือน 2) การสอนมโนทัศน์ประเภทการจัดกลุ่มขั้นต้น  และ 3) การสอนมโนทัศน์ขั้นที่มีวุฒิภาวะและขั้นสูง เป็นกระบวนการจัดประเภท โดยการค้นหา แยกแยะประเภทของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่เหมือนกันหรือร่วมกัน มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับประสบการณ์ของตน ในที่สุดผู้เรียนจะสามารถสร้างความหมายและเข้าใจมโนทัศน์นั้นด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสร้างมโนทัศน์อย่างต่อเนื่อง จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและการเรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไป


 


                  Mathematics is an important role in the development of human thoughts. It promotes humans’ creativity, rational thought, systematic thinking, careful analysis, accurate prediction and planning, and wise decision making. Teaching mathematics to make students understand what they are learning can be done by efficient learning management, analytical thinking simulation, linking to previous experiences, then group by its co-dominant. This process is called Concept Attainment Model. The principle in the theory based on Klausmeir and Frayer has threefold level as following: concrete and identity, classificatory, and formal. These are the sorting processes by searching for different types of things. Each category has the same or common features and there is a link to students’ own experiences. In order that students will be able to construct meaning and understand the concept by themselves, using the approach continuously will benefit learners in solving complex problems and learning at higher levels.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ