การติดตามความก้าวหน้าการประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรม และการพัฒนาผลงานทางวิชาการ (Following the progress in applying the training knowledge and developing the academic work)

Main Article Content

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ (Somboon Sirisunhirun)
วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์ (Wuthichai Arakpothchong)
สิทธิพร ชุลีธรรม (Sittiporn Chuleetham)

Abstract

                การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความก้าวหน้าในการประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมในเชิงการพัฒนาการทำงานของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนางานวิชาการจากงานประจำ (R2R)” 2) ศึกษาความก้าวหน้าในการพัฒนาผลงานวิชาการตามเป้าหมายของโครงการฝึกอบรมของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนางานวิชาการจากงานประจำ (R2R)” 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะและความต้องการในการขอรับความช่วยเหลือด้านวิชาการที่ต่อเนื่องจากโครงการฝึกอบรมของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนางานวิชาการจากงานประจำ (R2R)” และ 4) ศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความก้าวหน้าในการประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมและการพัฒนาผลงานทางวิชาการของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนางานวิชาการจากงานประจำ (R2R)” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการติดตามความก้าวหน้าการประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมและการพัฒนาผลงานทางวิชาการจากโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนางานวิชาการจากงานประจำ (R2R)” ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนางานวิชาการจากงานประจำ (R2R) รุ่นที่ 7 – 14 (ระหว่างปี พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2556) จำนวน 247 คน คำนวณสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane (1967) ที่ค่าระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 0.05 คิดเป็นกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 153 คน โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ (Frequency) หาค่าร้อยละ (Percentage) และใช้สถิติเชิงพรรณาด้วยวิธีหาค่าเฉลี่ย (Mean: ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ มีความก้าวหน้าในการประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.94, S.D. = 0.59) 2) ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ มีความก้าวหน้าในการพัฒนาผลงานวิชาการตามเป้าหมายของโครงการฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.97, S.D. = 0.55) 3) ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ ส่วนใหญ่ประสบปัญหาหรืออุปสรรคในการประยุกต์ใช้ความรู้จากการอบรมเพื่อการพัฒนาการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 53.91 และประสบปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย คิดเป็นร้อยละ 61.29 รองลงมาประสบปัญหาด้านการวิเคราะห์ข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 19.35 และปัญหาด้านการเผยแพร่งานวิเคราะห์หรืองานวิจัย คิดเป็นร้อยละ 11.29 ตามลำดับ และข้อเสนอแนะและความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ มีความต้องการให้โครงการฝึกอบรมฯ จัดอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการทำวิจัย การติดตามดูแลและให้คำปรึกษาระหว่างการพัฒนาผลงานวิจัย หลักสูตรเทคนิคการขอตำแหน่งทางวิชาการ และการรวบรวมเครือข่าย R2R ของบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัย และ 4) ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ  ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ระดับการศึกษาและอายุการทำงานที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อความก้าวหน้าการประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพบุคลากร ระดับการศึกษา อายุและอายุการทำงานที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในการพัฒนาผลงานทางวิชาการที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งมีการอภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประเด็นในการพัฒนาการจัดโครงการฝึกอบรมฯ ต่อไป


 


                This quantitative research aimed to 1) study the progress in applying the training knowledge on work development of the participants of “ Academic Work Development Workshop (R2R)”, 2 study the progress in developing the academic work according to the workshop goals, 3) study the workshop participants’ problems, obstacles, recommendations, and needs for continuous receipt of academic assistance from the workshop, and 4) study difference of the workshop participants’ personal factors and the progress in applying the training knowledge and developing the academic work. The research tool was the questionnaires about following the progress in applying the training knowledge and developing the academic work. The research populations consisted of 247 workshop participants during 2011 – 2013. The sample groups calculated by using the formula of Yamane (1967) at the error of 0.05 consisted of 153 people. Data were analyzed by using the statistics of frequency, percentage, mean, standard deviation. The research results show the followings: 1) The workshop participants had made progress in applying the training knowledge at a high level  ( = 3.94, S.D. = 0.59). 2) The workshop participants had made progress in developing the academic work according to the workshop goals at a high level ( = 3.97, S.D. = 0.55). 3) The workshop participants faced the problem of application of the training knowledge for work development by 53.91%, the problem of knowledge and understanding on the research process by 61.29%, the problem of data analysis by 19.35%, and the problem of dissemination of analysis work or researches by 11.29%. As for the recommendations, the workshop participants wanted the workshop to organize the training in research techniques, monitoring, counselling during research results development, the techniques of request for the academic position and combination of R2R network of the university support staffs. And 4) different personal factors on sex, education and work duration of the workshop participants significantly caused different progress in applying the training knowledge at the level of 0.05. Different personal factors on status, education, age, and work duration of the workshop participants significantly caused different progress in developing the academic work at the level of 0.05. The research results were discussed and the recommendations were given for developing the workshop organizing.


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ