การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (An Evaluation of Bachelor of Education Program in Educational Technology Faculty of Education, Silpakorn University)

Main Article Content

สิทธิชัย ลายเสมา (Sitthichai Laisema)
ศิวนิต อรรถวุฒิกุล (Siwanit Autthawuttikul)
วรวุฒิ มั่นสุขผล (Worawut Mansukpol)
อนิรุทธ์ สติมั่น (Anirut Satiman)
มนธิรา บุญญวินิจ (Montira Boonyawinit)

Abstract

          การวิจัยประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร  มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  เป็นการวิจัยประเมินผลโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ของ สตัฟเฟิลบีม  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ  คณาจารย์  นักศึกษาปัจจุบัน บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล มีดังนี้ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 1.00 และ 2) แบบสอบถามสำหรับบัณฑิตมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.97 สำหรับนักศึกษาปัจจุบันมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.98 และสำหรับผู้ใช้บัณฑิตมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.0  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์และสรุปประเด็นจากการสัมภาษณ์  ผลการวิจัยพบว่า


  1. ด้านบริบท (Context) ผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมทั้งด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ด้านโครงสร้างของหลักสูตร และด้านแผนการดำเนินงานของสาขาวิชา ส่วนนักศึกษาปัจจุบันและบัณฑิตมีความเห็นว่าด้านบริบทมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมทั้งด้านเนื้อหาสาระของรายวิชาในหลักสูตร ด้านคุณสมบัติของผู้เรียน/การสอบคัดเลือก ด้านคุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก   ด้านงบประมาณ และด้านกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ส่วนนักศึกษาปัจจุบันและบัณฑิตมีความเห็นว่าด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

  3. ด้านกระบวนการ (Process) นักศึกษาปัจจุบันและบัณฑิตมีความเห็นว่าด้านกระบวนการความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

  4. ด้านผลผลิต (Output) ผู้ใช้บัณฑิตมีความเห็นว่าด้านผลผลิตมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

       The objectives of the research, An Evaluation of Bachelor of Education Program in Educational Technology Faculty of Education, Silpakorn University, was to evaluate of Bachelor of Education Program in Education Technology Faculty of Education by using Daniel L. Stufflebeam’s CIPP Model. The sample comprised of experts, lecturers, students, graduate students and employers. The research instruments were: 1) interview forms for experts which content validity was at 1.0 and 2) survey questionnaires for graduate students which content validity was at 0.97, survey questionnaires for students which content validity was at 0.98 and survey questionnaires for employers which content validity was at 0.97. Statistical analysis of the quantitative data by mean and standard deviation (SD). Analysis of the qualitative data included analysis and summary of key points from the interview. The result of the research found that:


  1. Context : Expert and lecturer agreed that the objectives, structure of curriculum and the plan of the department were appropriate. The current students and graduates are agreed that the context were appropriate at the highest level.

  2. Input : Expert and lecturer agreed that the content of curriculum, students’ qualification, entrance exam, lecturers’ quality and advisors’ quality, physical environment, materials, equipment and facilities, budget, and rules and regulations. The current students and graduates are agreed that the input were appropriate at the high level.

  3. Process : The current students and graduates are agreed that the input were appropriate at the highest level.

  4. Output : The employers are agreed that the input were appropriate at the highest level.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ