บทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี : ข้อจำกัดด้านทุนกับการ(ไม่)ตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐ (The Role of Local Newspapers in Ubon Ratchathani : The Financial Constraint and the (Un) Checking System on Government Agencies)

Main Article Content

อภิริยา ยอดมาลี (Aphiriya Yotmali)
อรุณี สันฐิติวณิชย์ (Arunee Santhitiwanich)

Abstract

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อจำกัดด้านเงินทุนของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานีที่ส่งผลต่อการทำหน้าที่ตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐในระดับพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งศึกษาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี 2 ฉบับ คือ (1) หนังสือพิมพ์โอเคอีสาน (2) หนังสือพิมพ์ปทุมมาลัย โดยใช้วิธีการสำรวจและวิเคราะห์เอกสารหนังสือพิมพ์ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2559 และการวิเคราะห์บทสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้อง 11 คน


               ผลการวิจัยพบว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานีมีบทบาทในการตรวจสอบรัฐค่อนข้างน้อยมากไปจนถึงไม่มีเลย ด้วยข้อจำกัดด้านเงินทุนในการดำเนินงานเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้การบริหารงานสื่อไม่มีระบบที่ชัดเจน ขณะที่การทำอาชีพสื่อมวลชนไม่สามารถทำเพื่อเป็นรายได้เลี้ยงตนเองได้ จึงส่งผลถึงการได้มาซึ่งบุคลากรที่เป็นมืออาชีพในการเป็นสื่อมวลชน บทบาทการตรวจสอบรัฐจึงทำได้ยากเนื่องจากเจ้าของสื่อหรือบุคลากรสื่อต้องใช้เวลาไปกับการหาแหล่งทุนเพื่อมาอุดหนุนสื่อหนังสือพิมพ์ของตนเอง ทั้งนี้จากการศึกษาหนังสือพิมพ์ที่พบว่ามีการตรวจสอบหน่วยงานรัฐบ้างแต่เป็นส่วนที่น้อยมาก เนื่องจากเกรงกลัวข้อกฎหมายและอิทธิพลทางการเมือง นอกเหนือจากนั้นคือการที่บุคลากรในกองบรรณาธิการมีอาชีพหลักอย่างอื่นที่ไม่ใช่การเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอย่างเดียว โดยที่การทำสื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเป็นเพียงอาชีพเสริมเท่านั้น ซึ่งบุคลากรเหล่านั้นต้องให้เวลากับอาชีพหลักของตนเอง จึงส่งผลให้ไม่ได้ทำหน้าที่สื่อมวลชนได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะบทบาทในการตรวจสอบรัฐ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาแหล่งทุนที่ได้มาจากหน่วยงานรัฐเป็นส่วนน้อย แต่ก็ไม่ได้ทำให้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐมากขึ้น


 


            This study aimed to investigate financial limitations of Ubon Ratchathani local newspapers influencing the inspection of government agencies in the province. Two local newspapers including OK E-san and Patum Malai, publishing on August 2013 – July 2016, and In-depth Interview among a total of 11 stakeholders were applied for data collection.


            The results of the study demonstrated that the local newspapers did not play a significant role, or had no role, for checking the government agencies because of their financial constraints, considered as a critical problem resulting in an unclear media management system. Incomes of officers who are working in the mass media industry were not enough for their livings contributing to insufficient officers/professionals in the mass media industry. Additionally, it was quite hard to check the government agencies as mass media entrepreneurs including officers spent their most working times to find a source of investment funds to sustain their newspapers. The findings also indicated that only few government agencies were inspected as the newspapers companies were afraid of laws and political authorities. Officers in the editorial department also had other significant occupations, the newspaper work considered as a supplement work, so that they could not give an importance on the mass media work especially the duty of checking on government performances. Lastly, few investment funds of the two newspapers companies were granted by the government; however, it was not influential for them in performing the inspection of government agencies. 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ