การวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 (The Strategic Planning in the Basic Education Under the Chiangrai Primary Educational Service Area Office 2)

Main Article Content

อาภาศิริ โกฏิสิงห์ (Apasiri Kothsing)
เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ (Cherdsak Supasopon)
คำนึง ทองเกตุ (Kamnueng Thonggate)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 และ2) แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ประชากรในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2  ปีการศึกษา 2556 จำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยสภาพการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ (f) ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (m) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


               ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน ด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์และการประเมินผล รองลงมาคือ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และ 2) แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ด้านการจัดตั้งคณะกรรมการการจัดทำแผนกลยุทธ์ ควรให้ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของสถานศึกษา ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ควรนำข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาในการจัดทำแผนกลยุทธ์ ด้านการกำหนดทิศทางการศึกษา ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาและการนำนโยบายจากต้นสังกัดมาวิเคราะห์และกำหนดทิศทางการจัดการศึกษา, ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย สถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนด วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา ด้านการกำหนดกลยุทธ์ สถานศึกษาควรกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์ สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาของสถานศึกษา ด้านการปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์ ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรและชุมชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนาแผนกลยุทธ์ ด้านการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์และการประเมินผล ควรกำหนดการรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ


 


                 This research were aimed to study 1) The level of Strategic planning in basic education , under the Chiangrai Primary Educational Service Area Office 2 and 2) The right approach for strategies planning in basic education, under the Chiangrai  Primary Educational Service Area Office 2. The population were 184 school administrators Under the Chiangrai Primary Educational Service Area office 2. The instrument was the questionnaire with five-level scale included the Strategic planning in basic education and The development strategies in basic education which the reliability is 0.98. The statistics used in data analysis were Frequency (f) percentage (%) mean (m) standard deviation (s.) and Content analysis.


               The results showed that 1) Strategic planning in basic education , under the Chiangrai Primary Educational Service Area Office 2 were at high level in overall and individual aspects. The aspects with the highest was the plans strategies and assessments, followed by the strategy planning. The aspects with the least was the environment analysis and 2) The right approach for strategies planning in basic education, Under the Chiangrai Primary Educational Service Area Office 2. There are following ; The establishment of the strategic planning. should allow teachers to participate in the analysis of the problems and demand of the schools, The environment analysis education Information should be learning Local knowledge will be analyzed and considered in the strategic planning, The direction of education, the community should be involved determining the direction, management and policy from the agency to analyze and determine the direction of education, The vision, mission and goals should allow the school board to participate in the vision of the school, The strategy educational strategies should be consistent with the vision, mission and goals. Should determine the strategy of the institutions should be consistent with current conditions, The improvement and development strategy educational institutions should provide the personnel and community involvement in the improvement and development of the strategic planning, The plans strategies and assessments, that the school should schedule periodic performance reports


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ