ความแตกฉานทางสุขภาพของพระภิกษุสูงอายุในโรงพยาบาลสงฆ์ (Health Literacy of elder monks in Priest Hospital)

Main Article Content

ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช (Luerat Anuratpanich)
ปริญดา พีรธรรมานนท์ (Parinda Peradhammanon)
มนทยา สุนันทิวัฒน์ (Montaya Sununthiwat)
ภนิตา สรรพกิจภิญโญ (Panita Sappakitpinyo)
ภัณฑิลา สุภัทรศักดา (Phanthila Supattarasakda)
ศรัณย์ กอสนาน (Sarun Gorsanan)

Abstract

               ความแตกฉานทางสุขภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลลัพทธ์ทางสุขภาพในทุกช่วงวัย พระสงฆ์สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากขึ้น และมีลักษณะบางประการแตกต่างจากกลุ่มผู้สูงอายุทั่วไป เนื่องจากมีวิถีชีวิตที่อิงกับพระวินัยในศาสนาพุทธ ถ้าพระสงฆ์สูงอายุมีความแตกฉานทางสุขภาพต่ำอาจส่งผลให้เกิดโรค และ ปัญหาสุขภาพ


               งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณของความแตกฉานในพระสงฆ์สูงอายุแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความแตกฉานทางสุขภาพของพระสงฆ์สูงอายุ และ 2. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแตกฉานทางสุขภาพของพระสงฆ์สูงอายุ  เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบวัดความแตกฉานทางสุขภาพ โดยมีประชากรที่จะศึกษาเป็น พระสงฆ์อายุมากกว่า 60 ปี ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และ/หรือ โรคเบาหวาน และ/หรือ โรคไขมันในเลือดสูง ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยแจกแบบวัดความแตกฉานทางสุขภาพแก่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 รูป ในช่วงเดือนตุลาคม 2560- มกราคม 2561 และได้รับการตอบกลับจำนวน 222 รูป คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 70.25 ผลการวิจัยพบว่า มีเพียงร้อยละ 54.5 ของพระสงฆ์กลุ่มตัวอย่างเท่านั้นที่มีระดับความแตกฉานทางสุขภาพในขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดของความแตกฉานทางสุขภาพ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแตกฉานทางสุขภาพได้แก่ ได้แก่ การศึกษาทางโลก การทราบผลกระทบจากโรคที่เป็น ความสามารถในการอ่านฉลากยา และ ความสามารถในการจดจำยาและวิธีใช้ยา โดยปัจจัยเหล่านี้สามารถทำนายความแตกฉานทางสุขภาพของพระสงฆ์สูงอายุได้ร้อยละ 25.5


 


                Health literacy is one of the factors related to health outcome. Elderly monk are the population which are increasing and different from normal elder people in some aspects because of their lifestyle. They strictly rely on the Buddhist monk discipline. If the elder monks have low health literacy, diseases and health problem are the consequences.


               This study was a cross sectional quantitative research. Objectives were; to study the health literacy level of elder monks and to study factors affecting health literacy of elderly monks. Health literacy assessment has been used. Population of this research was Buddhist monks who were older than 60 years, suffering from Hypertension and/or Diabetes mellitus and/or Dyslipidemia and treated at OPD of Priest hospital Bangkok. Questionnaires were distributed to 361 elderly monks during October 2017- January 2018. Returned data was 222 which meant 70.25% complete rate. The result found that 54.5% of the respondents were in fundamental/basis health literacy which was the lowest level. Factors affecting health literacy composed of Education, Knowing the impact of the diseases, ability to read drug label and ability to recognize drug and how to take. All of these factors were able to predict health literacy of elder monks at 25.5%

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ