การจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทย (The physical Environmental Management of cultural-based tourist attractions in Prajuabkirikhan province for accommodating the - The physical Environmental Management of cultural-based tourist attractions in Prajuabkirikhan province for accommodating the elders

Main Article Content

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ (Viroj Jadesadalug)
ณัฐวุฒิ ชื่นครุฑ (Nuttawoot Chuenkrut)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากผู้สูงอายุที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้แก่ อุทยานราชภักดิ์ วัดห้วยมงคล วัดเขาตะเกียบ มีผู้ให้ข้อมูลหลัก รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 รายมาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกต


             ผลการศึกษา พบว่า การจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ มีการนำเอาหลักการออกแบบป้ายสัญลักษณ์สื่อความหมายมาใช้เพื่อสื่อความหมายให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วอุทยานราชภักดิ์และวัดห้วยมงคลมีการออกแบบป้ายสัญลักษณ์ได้ดีและอำนวยความสะดวกได้มากกว่าวัดเขาตะเกียบที่ป้ายสัญลักษณ์มีความชำรุดทรุดโทรมเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งสถานที่ท่องเที่ยวทั้งสามยังขาดป้ายเตือนระวังจากอันตรายรูปแบบต่างๆ  การออกแบบอารยสถาปัตย์เพื่อผู้สูงอายุของสถานที่ท่องเที่ยวทั้งสามยังไม่สามารถตอบสนองต่อการเข้ามาท่องเที่ยวของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม เช่น ไม่มีการลาดเข้าสู่พื้นที่ ไม่มีห้องน้ำผู้สูงและผู้พิการ อย่างไรก็ตามสามสถานที่ยังมีการออกแบบระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกโดยอุทยานราชภักดิ์และวัดห้วยมงคลมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญๆรองรับผู้สูงอายุ เช่น จุดนั่งพัก ระบบไฟส่องสว่าง สถานที่จอดรถที่มีความกว้าง แต่วัดเขาตะเกียบระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในสภาพที่ชำระทรุดโทรมไม่สามารถใช้การได้ โดยยังพบว่าสถานที่ทั้งสามไม่มีที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้พิการประโยชน์จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสถานที่ท่องเที่ยวให้มีความเหมาะสมและความปลอดภัยสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุและเพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น


 


            This objective of this research is to study the physical Environmental Management of cultural-based tourist attractions for accommodating the elders in Prajuabkirikhan province, including: Ratchaphakdi Park ,Huay mongkol Temple and Khao takiap Temple. This research is qualitative research by observing 15 the elders who has travelled to cultural-based tourist attractions in Prajuabkirikhan province with purposive sampling. The data collection is performed by interview together with observation and relevant document.


             The study found that the physical Environmental Management of cultural-based tourist attractions for accommodating the elders in Prajuabkirikhan province. The attractions has adopted the principles to design the information signs  to convey information to the tourists. Comparison between Ratchaphakdi Park and Huay mongkol Temple found that they got good level of signs design compared with Khao takiap Temple’s signs have suffered mostly disintegrated ,but found that all three attractions still missing warning signs from the dangers of various formats. Universal design for the elders of all three attractions was not able to respond appropriately to the elders e.g. There is no Handicapped ramps , the bathroom for the cripple or elderly. Facilities and utilities was found that Ratchaphakdi Park and Huay mongkol Temple  had  major features to support the elderly such as Breakpoint, Lighting system, Parking space but comparedwith  Wat Khao takiab the Facilities and utilities was in bad condition that cannot be used. All attractions also found that there are no parking space for elders or cripple.


             The benefits of this study can be used as a guideline for the management of the physical environment of attractions to be appropriate and safe for elderly travelers and in order to improve the quality of tourist attractions in Thailand.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ