พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (Behavior and factor affecting saving of the elders In Muang district, Nonthaburi province)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของผู้สูงอายุ ดำเนินการวิจัยโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 11 ราย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และนำมาสรุปผลการศึกษาและนำเสนอการศึกษาในรูปแบบการพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุ มีการออมในรูปแบบทรัพย์สินถาวร ได้แก่ บ้านหรือที่ดิน และมีทรัพย์สินทางการเงิน เช่น เงินฝากในธนาคาร อีกทั้งยังมีการออมโดยการซื้อสลากออมสิน การทำประกันชีวิตและการออมผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการ โดยจะออมมาตั้งแต่เริ่มทำงาน เนื่องจากผู้สูงอายุแต่ละรายมีจำนวนรายรับและรายจ่ายไม่เท่ากัน ทำให้มีความสามารถในการออมแตกต่างกันไป 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของผู้สูงอายุ พบว่า ดอกเบี้ยจากการฝากเงินในธนาคารไม่ใช่สิ่งจูงใจ แต่ที่ออมก็เพราะสถาบันการเงินมีความมั่นคง เชื่อถือได้ ส่วนการทำประกันชีวิตจะได้รับความคุ้มครองหรือผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ที่ตนทำไว้ เป็นหนึ่งในการวางแผนการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงส่วนบุคคลทั้งในเรื่องชีวิต สุขภาพและทรัพย์สิน ในส่วนของผู้สูงอายุที่ซื้อสลากออมสิน เมื่อฝากครบกำหนดสามารถถอนและได้รับดอกเบี้ยตามที่ธนาคารกำหนดไว้ อีกทั้งยังสามารถลุ้นรางวัลได้ทุกงวด ส่วนผู้สูงอายุที่ออมในสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลหรือเงินอัตราดอกเบี้ยของเงินฝาก ขึ้นอยู่กับประเภทการออมเงิน การที่ผู้สูงอายุมีการวางแผนสำหรับการออมในอนาคต เพราะ ต้องการให้ลูกหลานสบายแม้ว่าจะเสียชีวิตไป และออมไว้ใช้ยามฉุกเฉินหรือเจ็บป่วยเพื่อให้ตนสามารถใช้ชีวิตบั้นปลายได้อย่างมีความสุข โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ คิดว่า การออมเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ เพียงแค่เราต้องมีวินัยในการออม ในการยอมรับความเสี่ยง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเลือกออมในสถาบันการเงินที่เชื่อถือได้ เพราะ มีความปลอดภัยและมั่นคง
ผลของการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการออมของบุคคลเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุและเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายและการจัดการเพื่อสนับสนุนการออมของประชาชน
The objectives of this study are 1) to study saving behavior of the elders 2) to study factor affecting saving of the elders. A qualitative method is used to gather insights through intensive unstructured interviews and relevant document of 11 elders who live in Muang district, Nonthaburi province. Data were analyzed according to the objectives of the study. The completeness data as then verified. The outcome of the study was then concluded and presented in a descriptive form.
The results showed that 1) saving behavior of the elders are in the fixed asset as house or land and have financial assets such as bank deposit, Government savings bank's lottery, life insurance, and savings cooperative in organization. Saving has started since working. Unequal Income and expenses in each person affect to ability of saving. 2) factor affecting saving of the elders founded that deposit interest rates is not the main factor that can appeal to saving but financial institution is stable and reliable for saving. Protection or benefits were received from life insurance under the policy that can avoid the individual risks in life, healthy, and asset. In government savings bank's lottery, depositor can withdraw in due date and was received deposit interest under the bank’s policy, moreover, can look forward to win the jackpot. Elders who have saved in the savings cooperative in organization were received return of an investment in dividend or deposit interest under policy. Elders have saved because they want descendants can live comfortably, in addition saving for emergency or illness for living happily in the end of their lives. Most of elders thought saving is good and benefit for everyone and choose saving in financial institutions because of reliability and stability.
The result, conclusion and suggestion can be used for planning saving in person for preparing to elders, and can be utilized in government and any section to plan the policy and support for saving of people.