โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความหวาดกลัวอาชญากรรมในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติในพัทยาและบางแสน จังหวัดชลบุรี (A Causal Relationship Model of Fear of Crime among Foreign Tourist in Pattaya and Bang Saen, Chonburi Province)

Main Article Content

อมรทิพย์ อมราภิบาล (Amornthip Amaraphibal)

Abstract

             การวิจัยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ 1) ศึกษาความหวาดกลัวอาชญากรรมในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติในพัทยาและบางแสน และ 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความหวาดกลัวอาชญากรรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติในพัทยาและบางแสน โดยขอบเขตของอาชญากรรมในการวิจัยนี้คืออาชญากรรมประเภทดั้งเดิม ส่วนความหวาดกลัวแบ่งเป็น 2 มิติ คือความรู้สึกกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรมและพฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อรู้สึกหวาดกลัว การออกแบบวิจัยเชิงปริมาณ ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 392 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณา และ โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM)


               ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวรู้สึกกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรมที่ระดับปานกลาง นักท่องเที่ยวหญิงรู้สึกกังวลต่ออาชญากรรมทุกประเภทมากกว่านักท่องเที่ยวชาย ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชายรู้สึกกังวลอาชญากรรมต่อทรัพย์สินมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวหญิงรู้สึกกังวลอาชญากรรมต่อชีวิตร่างกายมากที่สุด ด้านพฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อรู้สึกหวาดกลัวของทั้งเพศหญิงและเพศชาย พบว่า มากที่สุดคือพฤติกรรมลักษณะประกันความเสียหายต่ำสุดหากต้องตกเป็นเหยื่อ ด้วยการไม่พกเงินจำนวนมาก ไม่ใส่เครื่องประดับมีราคาแพงออกนอกที่พักอาศัย และฝากหรือเก็บสิ่งของมีค่ากับธนาคารหรือตู้นิรภัยของที่พัก ผลการวิเคราะห์ SEM พบว่า โมเดลมีความเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดีและมีประสิทธิภาพการทำนายความรู้สึกกังวลร้อยละ 54  ปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อความรู้สึกกังวล เรียงลำดับตามขนาดอิทธิพล ได้แก่ คือ 1) การรับรู้ผลเสียหายร้ายแรง 2) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมอาชญากรรม 3) การประเมินความเสี่ยง 4) ทัศนคติต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 5) แบบแผนชีวิตที่เปิดเผยตัวเอง และ 6) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาชญากรรม ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยอายุไม่มีนัยสำคัญต่อความกังวล งานวิจัยมีข้อเสนอแนะในเชิงปฏิบัติ และข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคตในประเด็นความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวหญิง และการมีส่วนร่วมของชุมชน


 


                The two main purposes of this research were, 1) to study fear of crime among  the foreign tourists and 2) to study causal relationships of factors effecting fear of crime, among foreign tourists in Pattaya and Bang Saen areas. The scope of crime in this study was traditional crime. The fear of crime was divided into 2 dimensions; firstly the feeling of worry and secondly the expression of behavior when they fear. The research design was quantitative approach with 392 participants. The questionnaire was used as a research instrument. Descriptive statistics and Structural Equation Modeling (SEM) were adopted for data analysis.


               The study results revealed that the foreign tourists worried about crime at the middle level and female was more worry than male in every crime categories.  Among males, the most worry related properties crime, whereas, the female the most worry about individual crime. The most explicit behavior when feeling fear, both in male and female, was insurance behavior by seeking to minimize the costs of victimization; not carrying large amount of cash or not put on expensive accessories when going out, deposit valuable belongings in a bank or in a safe in their accommodation.  The results from SEM analysis showed good fit with empirical data and predicted power of the model was high as 54 %.  The significant factors for worry, sorting by effect size, were 1) perception of serious consequences, 2) perceived of ability to control over crime, 3) risk assessment, 4) attitude towards justice procedure, 5) lifestyle exposure, and 6) perceived information about crime, respectively.  While an age factor was not significant for their worries. The study provides recommendations for implementation and for further research in female security and community participation issues.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ