การผสมผสานทางวัฒนธรรมในแอ่งสกลนคร: กรณีศึกษาเขมร ลาว และไทย (An acculturation in Sakon Nakhon Basin: a case study of Khmer Laos and Thai)

Main Article Content

ดวงเด่น บุญปก (Duangden Boonpok)

Abstract

                บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการผสมผสานทางวัฒนธรรมของกลุ่มเขมร ลาว และไทยในพื้นที่แอ่งสกลนคร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร การศึกษาภาคสนาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มวัฒนธรรมเขมร ลาว และไทยในแอ่งสกลนครมีพื้นฐานความเชื่อทางวัฒนธรรมสามสายหลัก คือ วัฒนธรรมการนับถือผีและสิ่งเหนือธรรมชาติ  วัฒนธรรมการนับถือและปฏิบัติตามแบบพราหมณ์-ฮินดู และวัฒนธรรมการนับถือและปฏิบัติตามแบบพุทธศาสนา ในด้านรูปแบบของการผสมผสานทางวัฒนธรรมผ่านกรณีศึกษาสถานที่สำคัญทางศาสนาในแอ่งสกลนครพบประเด็นสำคัญ คือ 1) กลุ่มเขมรสร้างวัฒนธรรมปราสาทหินในแอ่งสกลนคร 2) กลุ่มลาวสร้างตำนานสถานที่สำคัญทางศาสนาของเขมรให้เชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนาของลาว รวมถึงการประยุกต์ใช้สถานที่สำคัญทางศาสนาของเขมรให้เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของกลุ่มลาว และ 3) กลุ่มไทยผสมผสานวัฒนธรรมด้วยการปรับรูปแบบศิลปะลาวให้เป็นศิลปะไทย รูปแบบการผสมผสานทางวัฒนธรรมในแอ่งสกลนคร คือการประนีประนอมและผสมผสานความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมของทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีและพิธีกรรมของท้องถิ่น


 


               The objective of this research is to analyze an acculturation of the Khmer, Laos and Thai in Sakon Nakhon Basin. This study uses qualitative research methodology which studied on related documents, field-work studies, participant observation and interviewing.  The results of the study founded that the Khmer, Laos and Thai in Sakon Nakhon Basin have basic belief in terms of culture from three main aspects; belief in spirit and superstition and belief in respecting and practicing in the way of Brahman-Hinduism as well as Buddhism.  The study focused on methods of acculturation in religious places. The important issues are; 1) Khmer group established stone temples 2) Laos group made story of Khmer Stone temples relating to their religious ways, Laos group shaped up Khmer religious places to be Laos religious places, and 3) Thai group adapted Laos art to be Thai art.  The methods of acculturation in Sakon Nakhon Basin indicated that belief, religion and culture of every ethnic groups was compromised, harmonized and tighten up into their unique cultural identity in ethnic traditions and rituals.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts