การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ขนมหวานพื้นถิ่นของชุมชนเทศบาล ตำบลบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อพัฒนาให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว

Main Article Content

พนัชกร สิมะขจรบุญ (Panuschagone Simakhajornboon)
เอกรินทร์ จินดา (Ekkarin Chinda)

Abstract

               การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เดิม และสภาพปัญหาความต้องการของผู้ประกอบการขนมหวานในชุมชนบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ขนมหวานพื้นถิ่นของชุมชนฯ เพื่อเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการขนมหวาน จำนวน 2 คน โดยพิจารณาจากขนมที่มีอายุการเก็บรักษาได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ ใช้การวิจัยและพัฒนาเป็นกระบวนการหลักในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ขนมหวานของชุมชนที่สามารถพัฒนาเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวได้ คือ ขนมไข่แมงดาเชื่อม ขนมลำแพนแก้ว ขนมลำแพนกวน และน้ำลำแพน จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพและการบรรจุหีบห่อขนมหวานแต่ละประเภทนั้น พบว่าหากผู้ผลิตประสงค์จำหน่าย ควรได้รับการพัฒนาในด้านขนาดของเนื้อผลิตภัณฑ์ ขนาดของบรรจุภัณฑ์ สี รูปทรง ลวดลาย ฉลากแสดงรายละเอียดสินค้าบนบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามและความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น หลังจากพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว จึงนำไปให้ผู้ประกอบการขนมหวานประเมินความพึงพอใจ และได้รับข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไข จนเป็นที่พอใจแก่เจ้าของผลิตภัณฑ์ จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ที่แก้ไขแล้วไปสอบถามความคิดเห็นกับนักท่องเที่ยวในเขตเทศบางตำบลบางตะบูน จำนวน 380 คน ได้ผลความพึงพอใจด้านผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่ระดับร้อยละ 86.7 - 100.0 ด้านบรรจุภัณฑ์ ร้อยละ 90.0 - 96.7


 


               The objective of this research is 1) to study characteristic of products and packaging of dessert 2) to design, develop products and packing of local dessert in Bangtaboon’s community, Phetchaburi Province to be tourism products. The sample in the study was 2 manufacturers of dessert in Bangtaboon area and based on a dessert that lasts about 2 weeks. The methodology of this research was Research and Development. The result found that local dessert of Bangtaboon that can be developed for tourism products are sweet egg of horseshoe crab, Lumpankaew, Lumpankuan, Lumpan juice. From the study of physical characteristics and packaging of each type of desserts, it was found that if producer want to sell for tourism, It could be developed, in terms of products such as size, texture, and shape. And in term of packing such as pattern, color, shape, and label. After the development of all types of products. Then bring the developed products to the owners for evaluating of satisfaction and corrected. The final products were tested satisfaction with 380 tourists. The result of each product satisfaction shown that level of satisfaction range about 86.7 - 100.0 percent, the packaging satisfaction range about 90.0 - 96.7 percent.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ