ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู (Learning Achievement of Students Learning through Hybrid Instructional Model for Pre-service Teachers' Learning)

Main Article Content

อินทิรา รอบรู้ (Intira Robroo)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนหลังการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 34 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสัมมนาทางเทคโนโลยีการศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test dependent ผลการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมได้องค์ประกอบดังนี้ หลักการในเชิงนโยบายภาครัฐเกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวคิดและทฤษฎีทางการศึกษา ได้แก่  กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดแผนการเรียนรู้แบบนำตนเอง  กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เทคนิคระดม และผสมการเรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามเกณฑ์ของ The Sloan Consortium ผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบการเรียนการสอนว่ามีความเหมาะสม (IOC = 0.97) สื่อการเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีความเหมาะสม (IOC = 0.95) และมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.09/87.70 ผลการทดลองพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของทางการเรียนก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่าง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และผู้เรียนที่เรียนมีความพึงพอใจในระดับดีมาก (  = 4.84, SD = 0.47) จึงสรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้นนี้ มีผลทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น   


 


ข้อเสนอแนะ


  1. ควรศึกษาถึงผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับตัวผู้เรียนในด้านความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียน

  2. ควรศึกษาถึงผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมกับกลุ่มผู้เรียนในระดับต่าง ๆ เช่น ระดับบัณฑิตศึกษา ระดับอาชีวศึกษา ระดับมัธยมศึกษา

  3. ควรวิจัยและพัฒนาระบบช่วยเหลือผู้เรียน ในกระบวนการเรียนรู้ (procedural scaffolding) ผ่านระบบการเรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์

               The purposes of this study were to compare the learning achievement of students, studying with hybrid instructional model for learning  Management of Pre-service Teachers and to investigate the students’ satisfaction.  The samples were 34 third-year students studying in the Faculty of Education, Saun Sunandha Rajabhat University. They studied on “Seminar in Educational Technology” in the second semester of academic year 2060.  Data were analyzed by using mean, standard deviation, and t-test dependent statistic. The hybrid instructional model consisted of the principles based on government policies about lifelong learning.  The concepts of educational theories, focuses on learner-centered, self-directed learning plan by organizing active learning activities with brainstorming technique, and mixing with e-learning by the Sloan Consortium criteria.  The panel of experts agreed with the model in all aspects with the IOC of .97.  The efficiency of e-learning was validated by E1/E2 = 81.09/87.70.                  The results indicated that there was significant difference at the level of .05 between the learning achievements of before and after learning.  The students rated their satisfactions on the developed instructional model at a “very high” level (x̄ = 4.84, SD = 0.47).  The hybrid instructional model could be used for increased the leaners’ achievements.


            Suggestions


  1. Should study the effectiveness of using hybrid instructional model for pre-service teachers 'learning that promotes learners' learning retention.

  2. Should study on the effect of using hybrid instructional model on learners of various levels such as graduate level, vocational and high school

      3. Should research and development of procedural scaffolding systems through electronic learning

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts