การพัฒนารูปแบบการจัดการเทคโนโลยีศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน (Development of Technology Management Model for Community Rice Seed Center)

Main Article Content

ทศพล เมืองฮาม (Thotsaphon Mueangham)
สมสุข แขมคำ (Somsuk KhamKham)
ไชยรัตน์ เพ็ชรชลานุวัฒน์ (Chairat Phetchalanuwat)

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเทคโนโลยีศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเทคโนโลยีศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 4) ประเมินผลรูปแบบการจัดการเทคโนโลยีศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ได้แก่ (1) ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านซ่ง (2) ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนพาลุกาและ (3) ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนชะโนดน้อย จำนวน 3 แห่ง เลือกแบบเจาะจงเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณนาและตีความข้อมูล


             ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการดำเนินงานของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนทั้ง 3 ศูนย์พบว่า สมาชิกกลุ่มมีความสามัคคี และให้ความร่วมมือในการบริหารกลุ่มค่อยข้างน้อย จึงทำให้กลุ่มมีกิจกรรมไม่ค่อยต่อเนื่อง สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีการจัดทำแปลงพันธุ์ การผลิตเมล็ดพันธุ์ค่อยข้างน้อย ไม่มีการกระจายพันธุ์ให้กับเกษตรกรทั้งในกลุ่มและ นอกกลุ่มและเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ

  2. ด้านการพัฒนารูปแบบเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดตัวชี้วัดของการพัฒนา 2) ประเมินสภาพความเข้มแข็งของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนก่อนการพัฒนา 3) จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 4) การสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) นำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนและ 6) ประเมินสภาพความเข้มแข็งของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนหลังการ

  3. พัฒนาด้านการนำรูปแบบไปทดลองใช้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนทั้ง 3 ศูนย์ พบว่า องค์ประกอบ ตัวชี้วัดการพัฒนาศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวมีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย (37.20) และปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวลดลงเหลือร้อยละ 28.30 


  4. การประเมินรูปแบบโดยสมาชิกศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนทั้ง 3 ศูนย์พบว่า ระดับความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบ อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ศูนย์ และด้านความพึงพอใจขอสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนทั้ง 3 ศูนย์อยู่ในระดับมากที่สุด (4.71) 



This research aiming to : 1) study the operational status of community rice seed center 2) Development of a technology management model for the community rice seed center. 3) Experiment with the technology management model of the community rice seed center. 4) An evaluation of the technology management model of the community seed center. Mukdahan is the target area for the three community rice seed centers, namely the Bansong Community Rice Seed Center Paluga Community Rice Seed Center And Chanot Noi Community Rice Seed Center. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and content analysis.


               The research found that :


  1. From the study of the operation of the three rice seed centers. Group members are not harmonious. Do not cooperate in group management. The group is not strong with discrete activities. Most group members do not have a breeding program. No seed production No distribution to farmers both in groups and outside groups, and good quality seed is inadequate to meet demand.

  2. The development of the model found that the technology of rice seed center management is summarized in 6 steps. Step 1: Determine the development indicators 2: Assess the strength of the community seed center before development 3: Develop a strategy for the development of the community seed center 4 Exchange seminars Learn 5 to implement action plan to develop community rice seed center. And 6 assess the strength of the community rice seed center after development.

  3. In terms of the adoption of the model to the three community rice seed centers, it was found that the composition of the seed center development indicators increased on average (37.20) and that the shortage of seed was reduced to a percentage point 28.30

  1. Regarding the assessment by the members of the 3 rice seed center, the average level of comments on the average was 3 levels. The experimental group found that on average, the level of satisfaction with the management model of community rice center technology was at the highest level (4.71).

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ