การศึกษาตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (To Study on the threefold training for Human Resource Development.)
Main Article Content
Abstract
การศึกษาในพุทธศาสนา เรียกว่า “ไตรสิกขา” ประกอบด้วย (1) ศีลสิกขา คือข้อปฏิบัติสำหรับใช้อบรมทางด้านความประพฤติ (2) จิตตสิกขา คือข้อปฏิบัติสำหรับอบรมจิตให้เกิดสมาธิ และ (3) ปัญญาสิกขา คือข้อปฏิบัติสำหรับอบรมปัญญาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่ก่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดี และเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า เพราะการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการขัดเกลาทางสังคมโดยผ่านกระบวนการศึกษาที่ถูกต้องจะเป็นการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง พัฒนาครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ดังนั้น การศึกษาจึงเป็นเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาบุคลากรของชาติ ทำให้มีพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตเป็นไปในทางสร้างสรรค์ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างผาสุก มั่นคง คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความรู้คู่คุณธรรม ดังนั้น ทรัพยากรมนุษย์นับได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะมีส่วนช่วยให้เกิดความสำเร็จในด้านต่างๆ ถือเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ปรารถนา
The study in Buddhism is called "Tri Sikkha" consisting of (1) the sacrament is a practice for using behavioral training. (2) contemplation is a practice for mental training to concentrate. and (3) wisdom is a practice for intellectual training to be enlightened. In order to create a change of life that causes well-being and an important foundation for driving society and the nation to progress because the development of quality of life and socialization through the right education process will create quality personnel. To improve the quality of life, family, community, society and nation. Therefore, education is a tool for national personnel development behavior and lifestyle to be creative able to live happily and safely. Therefore, human resources are considered a valuable factor because it contributes to success in various fields considered to be an important force that fulfills the desired objective.