การศึกษาไทย 4.0: ภาคปฏิบัติทางวาทกรรมในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Thai Education 4.0: Practical Discourse in the Context of Educational Managementfor Sustainable Development of the Office of the Basic Education Commissionฉ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่องการศึกษาไทย 4.0: ภาคปฏิบัติทางวาทกรรมในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์การสร้างวาทกรรมการศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมด้านตัวบท ภาคปฏิบัติการทางวาทกรรม และภาคปฏิบัติการทางสังคมของวาทกรรมการศึกษาไทย 4.0 ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิทยาการวิเคราะห์วาทกรรม ตามแนวทางของ Norman Fairclough โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการสำนัก ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา และนักวิชาการศึกษาระดับชำนาญการและชำนาญการพิเศษ จำนวน 17 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์วาทกรรม โดยวิเคราะห์ตัวบทภาคปฏิบัติการทางวาทกรรม และภาคปฏิบัติการทางสังคม ผลการวิจัยพบว่า ตัวบทการศึกษาไทย 4.0 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยตัวบท 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเป้าหมายด้านผู้เรียน และ 2) ด้านเป้าหมายของการจัดการศึกษา เพื่อที่จะมุ่งสร้างเด็กและเยาวชนไทยให้มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในการประยุกต์ให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างความคิดไปสู่สิ่งใหม่ ๆ โดยด้านเป้าหมายผู้เรียน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการมุ่งให้เด็กเกิดทักษะ 3Rs และ 8Cs และด้านเป้าหมายของการจัดการศึกษา ถูกกำหนดไว้ 5 ประการ คือ 1) ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานอย่างทั่วถึง 2) ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ได้รับโอกาสและการบริการทางการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม 3) ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ผ่านระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุถึงขีดความสามารถและเต็มตามศักยภาพ 4) ระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถบริหารและจัดการศึกษาด้วยคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล 5) ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและบริบทที่เปลี่ยนแปลง ผ่านกระบวนการผลิตซ้ำของภาคปฏิบัติการทางสังคม 3 องค์ประกอบ คือ กิจกรรมทางสังคม การเป็นตัวแทนของตัวบทและการดำเนินการของตัวบท ได้หลอมรวมกลมกลืนกับแนวทางการพัฒนาประเทศภายใต้วาทกรรมบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างเหมาะสม
Research on Thai Education 4.0:Practical Discourse in the Context of Educational Management for Sustainable Development of the Office of the Basic Education Commission aims to analyze the creation of Thai Education Discourse 4.0 in the Context of Educational Management for Sustainable Development Of the Office of the Basic Education Commission. With the analysis of the discourse and Discourse Laboratory in this research and qualitative research methods were used with analytical methods. Norman Fairclough's approach is based on in-depth interviews with key informants, including top executives. Director educational specialist and academic specialists and 17 specialists Data Analysis with discourse analysis analyzing the discourse chapter and social action. The research found that The Thai education module 4.0 of the Office of Basic Education composed of 2 parts 1) the right side of the learner; and 2) the educational management. In order to create Thai children and youth to have the knowledge ability and skills are for accessing to technology and innovation and create ideas to new things by the target students. Develop all learners with 21st century skills and skills by focusing on 3Rs and 8Cs. The objectives of educational management are defined as 1) all people have access to quality education and standards thoroughly 2) all target learners 3) all people have the opportunity to receive quality education and standards. Through quality education system to develop students to achieve their full potential 4) effective education management system and management of education with quality and international standards and 5) quality and standard education system were meet and keep pace with changing world dynamics and changing contexts. Through the re-manufacturing process of the social action sector three components are social activities representation of the chapters and actions of the chapters. It fits in well with the development of the country under the context of the context of sustainable education for sustainable development.