รูปแบบทุนทางวัฒนธรรมสำหรับการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ในจังหวัดเชียงราย (A Model of Cultural Capital for Value Added on Tourism Products in Chiang Rai Province)

Main Article Content

ยุพาวดี นิศวอนุตรพันธ์ (Yupawadee Nisawaanutarapan)
จิรวัฒน์ พิระสันต์ (Jirawat Phirasant)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบทุนทางวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างสรรค์และประเมินผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และเพื่อประเมินรูปแบบทุนทางวัฒนธรรมสำหรับการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวที่ถนนคนเดินนครเชียงรายในเดือนธันวาคม 2560 และมกราคม 2561 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบประเมิน และแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ และพรรณนาวิเคราะห์


               ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบทุนทางวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงรายมี 3 ทุน คือ ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางธรรมชาติ และทุนทางมนุษย์ 2) การประเมินผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ ในด้านเนื้อหาเรื่องราวภายใต้ทุนทางวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงรายมีความสอดคล้องกัน คือ มีการนำภาพที่เป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของจังหวัดเชียงรายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผลงานและมีการบอกเล่าประวัติศาสตร์ในจังหวัดเชียงรายมาประกอบผลงาน  ส่วนด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้หัวข้อเชียงรายเมืองแห่งประวัติศาสตร์ ยังขาดความสวยงามน่าดึงดูดใจ, เชียงรายเมืองแห่งขุนเขาและสายน้ำ ยังขาดความสวยงามน่าดึงดูดใจและมีราคาแพง และเชียงรายเมืองแห่งความหลากหลายของวิถีชีวิตและชาติพันธุ์ มีน้ำหนัก รูปร่าง ขนาด ยังไม่เหมาะแก่การพกพาและมีราคาแพง และ 3) การประเมินรูปแบบทุนทางวัฒนธรรมสำหรับการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ในด้านสถานภาพทั่วไป พบว่า เพศหญิง, อายุ 21-40 ปี, การศึกษาปริญญาตรี, อาชีพธุรกิจส่วนตัว, รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-30,000 บาท, เดินทางมาจังหวัดเชียงรายเป็นครั้งแรก, ทราบข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต, เพื่อนำไปใช้เอง, เลือกซื้อเพราะเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น มากที่สุด ตามลำดับ  ส่วนในด้านความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่า เลือกซื้อในกลุ่มเชียงรายมีความหลากหลายทางวิถีชีวิตและชาติพันธุ์, เลือกซื้อประเภทของใช้ทั่วไปหรือของประดับตกแต่งร่างกาย, ให้ความสำคัญที่วัสดุของผลิตภัณฑ์, บรรจุภัณฑ์มีการออกแบบอย่างสวยงาม, ราคาของสินค้ามีการต่อรองได้ และให้ความสำคัญที่เรื่องราวที่ปรากฏบนตัวผลิตภัณฑ์มีภาพประกอบ, มีความพอใจในตัวผลิตภัณฑ์, บรรจุภัณฑ์, ราคาของสินค้าและมีความพอใจในเรื่องราวที่ปรากฏบนตัวผลิตภัณฑ์ มากที่สุด ตามลำดับ และข้อเสนอแนะคือ นักท่องเที่ยวไทยต้องการให้เพิ่มช่องทางซื้อขายแบบออนไลน์ และนักท่องเที่ยวต่างประเทศต้องการให้สื่อถึงความเป็นท้องถิ่นให้มากที่สุด


 


           This research aimed to study a model of cultural capital in Chiang Rai province, to create and evaluate prototype products and to evaluate a model of cultural capital for value added on tourism products in Chiang Rai province. The sample was 400 Thai and foreign tourists who visited Chiang Rai Walking Street between December 2017 to January 2018. The research instruments were a non-participant observation form, a non-structured interview form, an evaluation form and a questionnaire. The statistics were frequency, percentage and descriptive analysis.


            The results of the research were found that: 1) The cultural capital of Chiang Rai province is divided into three types; cultural, natural and human capital. 2) The evaluation of prototype products appeared that the content under the cultural capital of Chiang Rai province were relevant by making history to be the part of creating the product.  The product design appeared that the design under the topic of Chiang Rai: Historical city was lack of attractive, under the topic of Chiang Rai: City of mountain and river was lack of attractive and expensive and under the topic of Chiang Rai: City of various life style and ethnic groups was not suitable for carrying and expensive. 3) The evaluation of a model of cultural capital for value added on tourism products in Chiang Rai province by thai and foreign tourists were found that most of the respondents were females with aged 21-40 years old, and graduated in Bachelor’s degree. They were private business owners, with the monthly income of 15,001-30,000 baht. They visited Chiang Rai province at the first time. Most of them knew the information from internet and they bought the products to use by themselves. They chose the products because of its unique local product.


            The tourists’ satisfactions were found that most of them chose to buy the products under the topic of Chiang Rai: City of various life style and ethnic groups. They bought general items and accessories. They gave the priorities in material of the products, packaging  with the good design, price which could bargain and the story in product  with the illustration. They were satisfied with products on the product, packaging, price and the story on product, respective.  The recommendation from tourists was Thai tourists needed manufacturers to add online trading channels while foreign tourists needed the product with the unique local design.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2557). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์โดยใช้ทุน
วัฒนธรรมและภูมิปัญญา. ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมโดยใช้ทุนวัฒนธรรมและ
ภูมิปัญญา ประจำปีงบประมาณ 2557.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. ชุมชนคนเที่ยวเหนือ. เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2561. เข้าถึงได้จาก
https://www. gonorththailand.com/review_detail_639
เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์ และจิราพร ขุนศรี. (2549). อัตลักษณ์และภาพลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย. ชุดโครงการ
วิจัยการพัฒนาและการจัดการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืนกลุ่มจังหวัดล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงราย.
จิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย และมะณี สมรัก. (2550). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว
ของจังหวัดเชียงราย. ชุดโครงการพัฒนาและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืนในกลุ่ม
จังหวัดล้านนา. โดย สกว.และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
จิรวัฒน์ พิระสันต์. (2559). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิเคราะห์ผลงานศิลปะและงานออกแบบ.
พิษณุโลก: สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชูกลิ่น อุนวิจิตร. (2554). การสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่สินค้าของที่ระลึกทางการท่องเที่ยว. รายงานการวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏ
อุบลราชธานี.
นลินทิพย์ พิมพ์กลัด และภรณี หลาวทอง. (2561). “ศักยภาพสินค้าและบริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กีฬา
และนันทนาการที่สามารถดึงดูดและเชื่อมโยงทางการท่องเที่ยวได้ของจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และ
ศรีสะเกษ”. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11,1 (มกราคม-เมษายน): 505-522.
นิรัช สุดสังข์. (2548). การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
นันทพร เขียนดวงจันทร์, ขวัญกมล ดอนขวา และสรียา วิจิตรเสถียร. (2561). “พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อ
สินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของคนในกลุ่มเจเนเรชั่นวาย”. Veridian E-Journal, Silpakorn
University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11,1 (มกราคม-
เมษายน): 561-577.
บุณยสฤษฏ์ อเนกสุข. (2558). ยล เยี่ยม เยือน เหย้า : แนวคิดและทฤษฎีที่ว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรม. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.
ประชิด ทิณบุตร. (2550). “การออกแบบของที่ระลึก”. อาร์ตจันทรา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์
เกษม.
พิศมัย อาวะกุลพาณิช และคนธาภรณ์ เมียร์แมน. (2555). “การออกแบบผลิตภัณฑ์ล้านนาโดยใช้ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นล้านนา”. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สกว. 4,5: 23-37.
ไพโรจน์ ธีระประภา. (2558). อัตลักษณ์ของที่ระลึกและกราฟิกดีไซน์สะท้อนพื้นถิ่น. เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม
2559. เข้าถึงได้จาก https://bundanthai.com/th/news/9
ยุพาวดี นิศวอนุตรพันธ์, ขันติ เจริญอาจ, กฤษณพล ทีครูซ, และศุภรัตน์ อินทนิเวศ. (2556). “ศิลปกรรมบน
ฝาผนังโบราณสถานกับผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการเป็นเมืองเก่าที่มีชีวิตของจังหวัดน่าน”. วารสารวิจัย
เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สกว. 6,2: 5-13.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย. (มปป.) เชียงราย Chiangrai สีสันของธรรมชาติ ขุนเขา สายน้ำ
วัฒนธรรมและชาติพันธุ์. เชียงใหม่. มหานทีแมกกาซีน.
อรรชกา สีบุญเรือง. (2557). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์โดยใช้ทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญา. ภายใต้
โครงการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมโดยใช้ทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาประจำปีงบประมาณ 2557
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. บริษัทผลึกแก้วโปรโมชั่นแอนด์ดีไซน์จำกัด.
กรุงเทพฯ.
ภาษาต่างประเทศ
Chaithawat Siribowonphitak, Jinnapas Pathumporn and Renee Esichaikul. (2018). “Effects of
Urban Tourism from Urbanization in Khon Kaen Province,Thailand”. Veridian
E-Journal, Silpakorn University. International (Humanities, Social Sciences
and Arts). 11,4 (January-June): 32-46.
Marzieh Yazdani. (2007). An Investigation on Influencing Factors on Tourists Shopping
Attitude of Iranian Handmade Carpet in Isfaha. Master thesis, continuation
courses Marketing and e- commerce, Lulea University of Technology.