เครื่องแต่งกายการแสดง: สถานภาพทางศิลปะและธุรกิจ (Performing Arts Costume: Status of Arts and Business)

Main Article Content

สุรพล วิรุฬห์รักษ์ (Surapone Virulrak)
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์ (Anukoon Rotjanasuksombon)
สุพรรณี บุญเพ็ง (Suphanee Boonpeng)

Abstract

               การแสดงตามแบบแผนไทย สากล และสร้างสรรค์ เนื่องในโอกาสต่าง ๆ มีเกิดขึ้นมากมายทั่วประเทศตลอดทั้งปี ทำให้ธุรกิจการสร้างการขายและการให้เช่าเครื่องแต่งกายการแสดงเป็นธุรกิจขนาดใหญ่และตัวสินค้าที่มีคุณภาพกับราคาที่หลากหลาย การวิจัยนี้มุ่งศึกษาสถานภาพทางศิลปะและธุรกิจเครื่องแต่งกายการแสดงในประเทศ พ.ศ. 2559 - 2560 โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพทางศิลปะสำหรับเครื่องแต่งกายการแสดง แบ่งตามรูปแบบได้เป็น 4 ประเภทหลัก คือแบบหลวง แบบพื้นเมือง แบบนาฏศิลป์ตะวันตก และแบบพิเศษ ส่วนคุณภาพแบ่งตามการผลิตและวัสดุได้เป็น 3 ระดับคือ ระดับดี ระดับปานกลาง และระดับพอใช้ สถานภาพทางธุรกิจ พบว่ามีธุรกิจนี้ในทุกจังหวัด โดยแบ่งคนที่เกี่ยวข้องได้เป็น 2 กลุ่มคือ        กลุ่มผู้ประกอบการ ได้แก่ ช่าง ผู้ขาย ผู้ให้เช่า ช่างแต่งตัว ผู้รับจัดงาน และกลุ่มลูกค้ากับนักสื่อสาร ผู้ทำธุรกิจนี้ มีทั้งกลุ่มที่ทำธุรกิจที่บ้านหรือเป็นกลุ่มที่บริษัทจดทะเบียนการค้า ธุรกิจนี้มีพบในทุกจังหวัดโดยเฉพาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและกรุงเทพมหานคร สื่อสังคมมีบทบาทสำคัญมากต่อความเข้มแข็งของธุรกิจนี้ ธุรกิจเครื่องแต่งกายการแสดงมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงมาก จึงควรนับเป็นอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย


 


              Performing arts of Thai traditional, international and creative styles for various occasions are seen in large number throughout the year.  This makes the business of producing, selling and renting performing arts costume as a large enterprise with products of various quality and prices.  This research aims at realizing the artistic and business condition of performing arts costume in Thailand during 2016-2017.  It is found that performing arts costume can be divided into 4 major types: court, folk, western and special designs.  Their artistic quality can be classified into 3 levels: very good, moderate, and useable.  This business can be found in every province which involves two groups of people: the demand group comprises buyer and media person.  The supply group includes craft man, seller, renter, dress fitter, organizer and the demand side comprising buyer and media person.  The supply group is either doing their business at home office or as a registered company.  This business is found in every province especially the tourist attraction spots and Bangkok.  Social media plays an important role to strengthen this business.  The business of performing arts costume has a very high economic value. Thus, it should be recognized as an important cultural industry of Thailand.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

ภาษาไทย
(2561). Sansha. [เวปไซต์]. สืบค้นจาก https://www.taladx.com
(2561). กรมศิลปากร. [เวปไซต์]. สืบค้นจาก https://www.jamesdiff.wordpress.com
(2561). กลุ่มทอผ้าทองจันทร์โสมา. [เวปไซต์]. สืบค้นจาก https://www.hisoparty.com
(2561). การตั้งรัดเกล้า. [เวปไซต์]. สืบค้นจาก https://www.pictasite.com/hashtag
(2561). โขนพระราชทาน. [เวปไซต์]. สืบค้นจาก https://www.pinterest.com
(2561). บ้านทำหัวโขน ขรรค์ชัย หอมจันทร์ (จอม). [เวปไซต์]. สืบค้นจาก https://www.th-
th.facebook.com
(2561). ร้านโกมลผ้าโบราณ. [เวปไซต์]. สืบค้นจาก https://www.m.mgronline.com
(2561). ร้านเครื่องแต่งกายละครสำเร็จรูปย่านพาหุรัด. [เวปไซต์]. สืบค้นจาก https://www.oknation.nationtv.tv
กรมศิลปากร. (2494). เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของโขนละครกรมศิลปากร. พระนคร : กรมศิลปากร.
พงศธร ยอดดำเนิน. (2561).
พสุ เรืองปัญญาโรจน์. (2560). “การประยุกต์ใช้ทุนวัฒนธรมประเภทหุ่นละครไทยในการออกแบบเครื่องประดับคิเนติก”. ศิลปากร 10, 3 (ก.ย.-ธ.ค..): 2702-2719.
มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ. (2552). วิวัฒนาการการแต่งหน้า และเครื่องแต่งกายโขนละครตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ.
ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล. (2561). “การออกแบบพัฒนาเครื่องแต่งกายสตรีจากผ้าไทยด้วย V stitcher Program (3D)”. ศิลปากร 11, 1 (ม.ค..- เม.ย.): 3904-3911.
สมภพ จันทรประภา. (2520). อยุธยาอาภรณ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร.
สุขสันติ แวงวรรณ. (2561).
สุประภา สมนักพงษ์. (2560). “แนวโน้มและตลาดการท่องเที่ยว 4.0”. ศิลปากร 10, 3 (ก.ย.-ธ.ค..): 2055-2068.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2561).
อรวัฒนา ชินพันธ์. (2549). บ้านเครื่องละคร : การผลิตและการจัดการเชิงวัฒนธรรม. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.