"ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และ ความเที่ยงตรง" ความสอดคล้องในวิธีการและความคลาดเคลื่อนจากการวัด ของการวิจัยทางด้านสรีรวิทยาการออกกำลังกาย ("Reliability, Validity, Accuracy and Precision on Exercise Physiology Research" Method Agreement and Measurement Error in the Physiology of Exercise)

Main Article Content

กิตติคุณ แสงนิล (Kittikun Sangnin)
ประสพชัย พสุนนท์ (Prasopchai Pasunon)

Abstract

               วิธีการวัดที่ถูกต้องและเหมาะสม สามารถช่วยลดความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากกระบวนการออกแบบของการวิจัย บทความนี้ให้ความสำคัญกับการศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของการวิจัยทางด้านสรีรวิทยาของการออกกำลังกาย มีปัจจัยที่สำคัญคือ ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความเที่ยงตรง ซึ่งจากปัจจัยข้างต้นนั้นส่งผลให้ผู้วิจัยทางด้านสรีรวิทยาการออกกำลังกาย ต้องพิจารณาถึงประเด็น แนวทางการเลือกใช้เครื่องมือวัด โดยต้องอาศัยเกณฑ์ในการประเมินเครื่องมือวัดที่เหมาะสม โดยมีประเด็นที่สำคัญที่นักวิจัยต้องมุ่งเน้นพิจารณาคือ ความจำเพาะของการวัด ความสามารถในการวัดซ้ำ ความถูกต้องของการวัดหรือวิธีการวัด ความไวของการวัดหรือเครื่องมือการวัด ยิ่งไปกว่านั้น ผู้วิจัยควรดำเนินการตรวจสอบเพื่อลดความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการวัด ซึ่งเป็นวิธีการที่สำคัญหนึ่งในกระบวนการวิจัยที่ผู้วิจัยจำเป็นต้องพิจารณาตรวจสอบและประเมินในขั้นตอนของการออกแบบการวิจัย โดยแนวทางการตรวจสอบที่ต้องพิจารณา ประกอบด้วย การกำหนดขอบเขตของการวิจัย การตรวจสอบความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ การตรวจสอบความคลาดเคลื่อนแบบไม่แน่นอน และความแม่นยำทางสถิติ  ดังนั้น ทั้งการพิจารณาประเด็นที่สำคัญและแนวทางเหล่านี้ที่กล่าวมาข้างต้น สามารถทำให้งานวิจัยทางสรีรวิทยาของการออกกำลังกายมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการวิจัยและการนำไปประยุกต์ใช้ของหลักการและวิธีการตรวจสอบและประเมินการวัดได้อย่างเหมาะสมต่อนักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักสรีรวิทยา โค้ชหรือนักกีฬา


 


              Accurate and appropriate measurement can reduce the errors that may occur from the design process of the research. This article focuses on the study of factors influencing the quality of physiological research of exercise. There are important factors; included reliability, validity, accuracy and precision. From the above factors, the exercises physiologist should consider the selection issue of measurement tool; it must be based on the criteria for measuring appropriate measurement. There are important issues that researchers need to focus on; included specificity, repeatability, validity of measurement methods, and sensitivity. Moreover, researchers should investigate to reduce errors, or errors that may occur from the measurement process; this is one of the important approaches in the research process. The researcher needs to consider, check and evaluate at the stage of research design. The examination guidelines to be considered include delimitations, systematic error examination, random error examination and statistical precision. Therefore, considering both these important issues and these guidelines will make the physiological research of exercise more quality; this would be useful in the research and application of the principles and methods of monitoring and evaluating measurements appropriately for sports scientists, physiologists, coaches or athletes.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts