รูปแบบผู้นำการพัฒนาชุมชนตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Platform of Community Development Leader by Sufficient Economy Process)

Main Article Content

กอบกุล วิศิษฏ์สรศักดิ์ (Kobkul Visitsorasak)
เฉลียว บุรีภักดี (Chalio Buripukdi)
ภัทริยา สุวรรณบูรณ์ (Pattariya Suwannaboon)
สมนึก ชูปานกลีบ (Somnauk Choopankleeb)

Abstract

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะผู้นำการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) สร้างและประเมินรูปแบบผู้นำการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  ในการศึกษาคุณลักษณะผู้นำการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้นำจากจังหวัดภาคกลางตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน ด้วยการสนทนากลุ่มและใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการสร้างคู่มือการอบรมตามรูปแบบผู้นำการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำ จำนวน 8 คน และทดลองนำไปใช้กับผู้นำโดยเลือกสุ่มแบบง่าย จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี และมีผู้นำอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ 8 ชุมชนๆ ละ 1 คน รวมผู้นำ 8 คน และประเมินรูปแบบผู้นำการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากสมาชิกของชุมชนๆ ละ 10 คน รวมเป็น 80 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตชุมชนทั้ง 8 แห่ง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


       ผลการวิจัยพบว่า


  1. คุณลักษณะผู้นำการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1) เป็นผู้รู้คิดและมีคุณธรรมในการครองใจ 2) เป็นผู้รู้รักเข้าใจและศรัทธาในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เป็นผู้รู้ฝึกฝนตนเองและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ปฏิบัติจริง 4) เป็นผู้รู้ทำและบริหารจัดการดำเนินงานได้ 5) เป็นผู้รู้เผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ผู้อื่น

  2. การสร้างและประเมินรูปแบบผู้นำการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยนำมาสร้างเป็นคู่มือการอบรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำ จำนวน 8 คน ประกอบด้วย 1) บทนำ 2) กรอบรายวิชา 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) เนื้อหาวิชา นำคู่มือมาใช้ในการอบรมผู้นำและผู้นำดำเนินกิจกรรมร่วมกับสมาชิกของตน และจาก ทางการประเมินผู้นำตามรูปแบบผู้นำการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้นำมีลักษณะ รู้คิด มีคุณธรรมครองใจโดยรวมอยู่ในระดับมากและคุณลักษณะอื่นอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยเรียงจากมากไปหาน้อยคือ เป็นผู้รู้ทำ บริหารจัดการดำเนินงานได้ การเป็นผู้รู้ฝึกฝนตนเอง เป็นผู้รัก เข้าใจ ศรัทธาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นผู้รู้เผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับผลการสังเกตชุมชนก่อนการอบรมผู้นำมีคุณลักษณะตามรูปแบบอยู่ในระดับปานกลางและหลังการอบรมผู้นำมีคุณลักษณะอยู่ในระดับมาก

 


          The objectives of this research were to: 1) study the characteristics of community development leaders according to philosophy of sufficiency economy, and 2) create and evaluate the model of community development leaders according to philosophy of sufficiency economy. The qualitative and quantitative research approaches were applied in this study. In the study of characteristics of community development leaders according to philosophy of sufficiency economy, the 40 key informants were the leaders in the lower central regions of Thailand, Samut Sakhon Province, Samut Songkhram Province, Phetchaburi Province, and Prachuap Khiri Khan Province, 10 persons from each province. The data were collected by using focus group discussion and analyzed by using content analysis. In creation of training handbook according to model of community development leaders according to philosophy of sufficiency economy, there were 8 experts giving advice. The handbook was tried out on 8 leaders from 8 communities, 80 members of 8 communities, and 10 members from each community, evaluated the model of community development leaders according to philosophy of sufficiency economy by applying quantitative research approach. The data were collected by using a questionnaire and analyzed by using mean, percentage, and standard deviation. The qualitative research approach was also used by observing 8 communities and the data were analyzed by using content analysis.


               The research results were as follows: 


  1. The characteristics of community development leaders according to philosophy of sufficiency economy were: 1) being an expert in thinking, and having virtues in mind, 2) being an expert in understanding and having faith in philosophy of sufficiency economy, 3) being an expert in self training and able to apply philosophy of sufficiency economy in living, 4) being an expert in doing and managing, and 5) being an expert in disseminating philosophy of sufficiency economy to other people.  

  2. For the creation and evaluation of the model of community development leaders according to philosophy of sufficiency economy, the training handbook was prepared with the advice from 8 experts, consisting of 1) introduction, 2) course syllabus, 3) learning plan, and 4) contents. When the handbook was used in training the leaders, then the leaders did the activities with their community members, and model of community development leaders according to philosophy of sufficiency economy was evaluated, It was found that the leaders’ characteristics in all 5 aspects were at a high level and those aspects could be ranked in descending order of their mean scores as follows: being an expert in thinking, in doing, in self training, in understanding and having faith in philosophy of sufficiency economy, and in disseminating philosophy of sufficiency economy. And the result of community observation was that the leaders’ characteristics according to the model existing before the training were at a moderate level whereas those existing after the training were at the highest level.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts
Author Biography

กอบกุล วิศิษฏ์สรศักดิ์ (Kobkul Visitsorasak)

Phetchaburi Rajabhat University

References

กานดา เต๊ะขันหมาก .(2556) .ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.ค้นเมื่อ กรกฎาคม 2560, จาก newtdc.thailis. or.th/result.aspx?
เจษฎา ความคุ้นเคย. (2557). อิทธิพลของศักยภาพผู้นำชุมชนและการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.ค้นเมื่อ กรกฎาคม 2560,จาก www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/..
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2551). การวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดจิตลักษณะแบบพหุระดับในบริบทของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานวิจัยย่อ.
ทัศไชย สุนทรวิภาพ. (2558). การใช้สื่อและพฤติกรรมการใช้จ่ายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร.
ทิวเมฆ นาวาบุญนิยม. (2553). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนอโศกจังหวัดนครปฐม.ค้นเมื่อ กรกฎาคม 2560,จาก dept.npru.ac.th/msc/data/files/mail.
นิสรา ใจซื่อ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 2560,จาก www.dpu.ac.th/dpurc/research-386
มยุรี วัดแก้วและคณะ. (2553). การวิจัยเชิงทดลองขยายผลวิถีเศรษฐกิจพอเพียงจากเกษตรกรต้นแบบสู่เกษตรกรในบริบทที่ใกล้เคียง. งานวิจัย.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและหลักการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อนุเคราะห์ไทย.
ศุภชัย ชัยจันทร์.(2553). การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน จ.อุดรธานี.
อำนวย เหมือนวงศ์ธรรม. (2556). บทบาทผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมโครงการ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษากรณีเขตพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม.