การให้ความหมายของ “คิดเป็น” โดยใช้ทฤษฎีฐานราก (Towards the Meanings of “Kidpen:” A Grounded Theory Study)

Main Article Content

สลา สามิภักดิ์ (Sara Samiphak)

Abstract

              วงการการศึกษาโลกต่างหันมาให้ความสำคัญกับการสอนให้นักเรียนคิด นอกเหนือจากการให้เขามีความรู้ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่เข้าถึงได้ง่ายบนอินเตอร์เน็ต จุดประสงค์ของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 น่าจะเป็นการพัฒนามนุษย์ให้เต็มตามศักยภาพ ผ่านการพัฒนาทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ซึ่งแน่ชัดว่าเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการคิด พัฒนาการทางด้านอารมณ์ความรู้สึก การกระทำและการแสดงออก หรือเรียกว่าการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม ในบริบทวัฒนธรรมที่มีความซับซ้อนเช่นในประเทศไทย เราเรียกการพัฒนานี้ว่า “คิดเป็น” อย่างไรก็ตาม ความหมายที่กล่าวข้างต้น ไม่เคยได้รับการยืนยันจากงานวิจัยใดมาก่อน ทำให้เราไม่สามารถวัดปรากฏการณ์ทางจิตที่เกี่ยวข้องกับ “คิดเป็น” ได้ บทความนี้จึงนำเสนอกระบวนการให้คำนิยามของ “คิดเป็น” โดยใช้ทฤษฎีฐานราก และใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมวิจัยเพื่อให้คำนิยามของ “คิดเป็น” ซึ่งเป็นนักคิดผู้ใหญ่จำนวน 20 คน ผลปรากฏว่า “คิดเป็น” หมายถึงเครื่องมือที่จะนำบุคคลไปสู่การพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ซึ่งการ “คิดเป็น” นี้ ถูกหล่อหลอมและปลูกฝังจากประสบการณ์ที่ได้รับจากการเลี้ยงดูของครอบครัว เพื่อน สังคม และประสบการณ์จากโรงเรียน การหล่อหลอมจากประสบการณ์นี้ เป็นหมวดหมู่หลัก (core category) ที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการ “คิดเป็น” และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ นิยามของ “คิดเป็น” ยังประกอบไปด้วยอีก 3 หมวดหมู่ คือ การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา การค้นพบความสุขในชีวิต และการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยการค้นพบความสุขในชีวิตถูกแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่  1) การเผชิญปัญหาอย่างมีสติ 2) การเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์และถูกต้อง 3) มีความมุ่งมั่นและ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค 4) มีความปีติ 5) มีความผ่อนคลาย สบาย 6) มีจิตแน่วแน่ เป็นสมาธิ และ 7) มีจิตที่เป็นกลาง ไม่เอนเอียงฝักใฝ่ฝ่ายใด “คิดเป็น” ทำให้บุคคลพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ เนื่องจากเขาจะค้นพบความแข็งแกร่งภายในของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ทฤษฎี “คิดเป็น”นี้สามารถนำไปสู่การวัดการ “คิดเป็น” แบบองค์รวมและแม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความหลากหลายในความหมายของ “คิดเป็น” ที่ทำให้เกิดการแปลความและการเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร และยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการ “คิดเป็น” ในนักเรียนไทย


 


              Globally, educational researchers have focused on teaching students to think rather than to merely absorb readily accessible content. The purpose of 21st century education is arguably to enable individuals to reach their full potential through intellectual development or learning. This certainly involves thinking, feelings, and acting—the whole human experience. In high-context cultures of Thailand, we call this “kidpen.” However, without a more precise definition of “kidpen,” it is impossible to measure meaningfully this mental phenomena. This article presents a process for formulating the definition of “kidpen” through the use of grounded theory. Interviewing, the main data collection method, used twenty adult thinkers participating in defining “kidpen.” “Kidpen” was described as a tool used in aiding personal development in order to reach one’s full human potential. “Kidpen” is nurtured and inculcated through experiences with friends, family, communities, and teachers. This core category, nurtured and inculcated experiences, was the most influential element in “kidpen” and in full personal development. The definition of “kidpen” involves three supporting categories: developing problem solving skills, discovering happiness in life, and pursuing actions affecting the well-being of the public. Seven phases to discovering happiness in life were: 1) facing problems with mindfulness, 2) selecting useful and ethically correct solutions, 3) being determined to succeed, 4) developing a feeling of rapture, 5) feeling relaxed, 6) having a concentrated, ready mind, and 7) maintaining equanimity. “Kidpen” leads to the development of full human potential as individuals find their inner strengths to serve the well-being of the differences between different interpretations of “kidpen,” and facilitates “kidpen” in students.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

ภาษาไทย
Amornvivat, S. (2002). khit pen tām nai hǣng phut tham “tūayāng kān khit bǣp yōnisōmanasikān” [Kidpen As Implied in Buddhism: “Examples of Yoniso Manasikara”] (3rd edition). Bangkok: Methithip Printing.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2545). คิดเป็น ตามนัยแห่งพุทธธรรม "ตัวอย่างการคิดแบบโยนิโสมนสิการ" (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เมธีทิปส์.
Boonkoum, W., Boonkoum, C., & Po Ngern, W. (2016). “kānphatthanā rūpbǣp kitčhakam kān rīanrū khō̜ng khrū kō̜sō̜nō̜ tambon nai phūmiphāk tawantok phư̄a phatthanā thaksa kān khit khō̜ng phū rīan” [Development of Learning Activities Model of Sub-district Non-formal Education Facilitator in the Western Region to Develop Learners’ Thinking Skills]. Veridian E-Journal, Silpakorn University 9,3 (September – December): 840-856.
วรรณวีร์ บุญคุ้ม, พจนา บุญคุ้ม และวิสูตร โพธิ์เงิน. (2559). “การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของครู กศน.ตำบลในภูมิภาคตะวันตกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน”. Veridian E-Journal, Silpakorn University 9,3 (กันยายน – ธันวาคม): 840-856.
Chareonwongsak, K. (2013). lāithǣng nak khit [The Secrets Hidden Behind Thinkers] (11th edition). Bangkok: Success Media.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). ลายแทงนักคิด (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
Choothap, P. (2003). kānphatthanā kitčhakam kān rīan kānsō̜n tām nǣokhit kān khit pen bon wep nai wichā sangkhom sưksā samrap nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sī [Development of Khit Pen Learning Activities Via Web on Social Studies Subject for Mathayom Suksa Four Students] (Masters Thesis). Chulalongkorn University.
ปริยาภรณ์ ชูทัพ. (2546). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดการคิดเป็นบนเว็บ ในวิชาสังคมศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kaewsuwan, K. (2012, October 22). phūyai mai tham sathō̜n dek Thai khit mai pen [Adults’ Doing Nothing Mirrors the Fact that Students Do Not Possess Kidpen]. Kom Chad Luek. Retrieved from https://www.komchadluek.net/detail/20121022/142851/ผู้ใหญ่ไม่ทำสะท้อนเด็กไทยคิดไม่เป็น.html.
ขวัญเรียม แก้วสุวรรณ. (2555, 22 ตุลาคม). ผู้ใหญ่ไม่ทำสะท้อนเด็กไทยคิดไม่เป็น. คม ชัด ลึก. สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/detail/20121022/142851/ผู้ใหญ่ไม่ทำสะท้อนเด็กไทยคิดไม่เป็น.html.
Krutta, B. (1982). kānsāng bǣp wat kān “khit pen” [A Construction of “Khit-pen” Inventory] (Masters Thesis). Chulalongkorn University.
บุญสม ครุฑทา. (2525). การสร้างแบบวัดการ "คิดเป็น" (ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Nantharojphong, K., & Pasunon, P. (2018). “kān chư̄am yōng withī witthayākān sāng thritsadī thānrāk sū kānwičhai chœ̄ng parimān phư̄a kānsưksā wičhai phrưttikam ʻongkān nai yuk lang nawa samai” [The linkage of grounded theory methodology to quantitative research methodology for organizational behavior studies in the postmodern era]. Veridian E-Journal, Silpakorn University 11, 2 (May – August): 317-336.
คมกริช นันทะโรจพงศ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2561). “การเชื่อมโยงวิธีวิทยาการสร้างทฤษฎีฐานรากสู่การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อการศึกษาวิจัยพฤติกรรมองค์การในยุคหลังนวสมัย”. Veridian E-Journal, Silpakorn University 11, 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม): 317-336.
Noosong, C. (2001). pratyā khit pen [Philosophy of Kidpen]. Bangkok: Thai Aksorn Printing House.
ชุมพล หนูสง. (2544). ปรัชญาคิดเป็น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรไทย.
Pakdeechareon, P. (2013). khrai wā khit mai pen [Who are the people not possess kidpen?]. Retrieved from https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/510389.
เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ. (2556). ใครหว่า...คิดไม่เป็น? สืบค้นจาก
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/510389.
Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2003). photčhanānukrom phutthasāt chabap pramal tham [Dictionary of Buddhism] (12th edition). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ อารยางกูร). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Rukhavibulaya, T. (1985). khwāmsamphan rawāng kān khit pen khwāmkhit sāngsan thāng witthayāsāt læ phon samrit thāngkān rīan wichā fisik khō̜ng nakrīan matthayommasưksā pī thī hok nai khēt Krung Thēp Mahā Nakhō̜n [Relationships Among “Khit-pen”, Science Creative Thinking, and Physics Learning Achievement of Mathayom Suksa Six Students in Bangkok Metropolis] (Masters Thesis). Chulalongkorn University.
ตรองพจน์ รุกขวิบูลย์. (2528). ความสัมพันธ์ระหว่างการ "คิดเป็น" ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Salayacheevin, S. (1981). kān khit pen thampen [Kidpen and Knowing to Act]. Journal of Curriculum Development.
สมบูรณ์ ศาลยาชีวิน. (2524). การคิดเป็น ทำเป็น. วารสารพัฒนาหลักสูตร.
Sidhisamarn, S. (2012, July 10). panhā yai khō̜ng dek Thai khư̄ kǣ panhā chīwit mai pen...!!! [A Big Problem for Thai Children Is That They Do not Know How to Solve Daily Life Problems.]. Retrieved from https://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000083904
สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2555, 10 กรกฎาคม). ปัญหาใหญ่ของเด็กไทย คือ แก้ปัญหาชีวิตไม่เป็น ...!!!
ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจาก
https://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000083904
Vorapipat, K. (2001). tonkhit…khitpen phư̄a hai “pan tǣng chīwit dūai khit pen” [The Origin of Kidpen for “Decorating Your Life with Kidpen”]. Bangkok: Maha Chulalongkorn Ratchawittayalai Printing House.
โกวิท วรพิพัฒน์. (2544). ต้นคิด...คิดเป็น เพื่อให้ "ปั้นแต่งชีวิตด้วยคิดเป็น". กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Wannapok, S. (2003). khit pen thampen tām nǣo phut tham [Kidpen and Knowing to Act According to Buddhist Teachings] (2nd edition). Bangkok: Sunta Press
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2546). คิดเป็นทำเป็นตามแนวพุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ซันต้าการพิมพ์.
Wannapok, S. (2010). khit sip bǣp suk čhai rō̜i pǣt [Ten Types of Thinking that Lead to Happiness]. Bangkok: Matichon Book.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2553). คิด 10 แบบ สุขใจร้อยแปด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

ภาษาต่างประเทศ
Bailin, S. (2002). Critical Thinking and Science Education. Science & Education, 11(4), 361-
375.
Burbules, N. C., & Berk, R. (1999). Critical Thinking and Critical Pedagogy: Relations,
Differences, and Limits. In T. S. Popkewitz & L. Fendler (Eds.), Critical Theories in
Education: Changing Terrains of Knowledge and Politics (pp. 45-65). New York:
Routledge.
Collins, H. (2010) Creative Research: the Theory and Practice of Research for the Creative Industries: AVA Publishing.
Ennis, C. D. (1991). Discrete Thinking Skills in Two Teachers' Physical Education Classes.
The Elementary School Journal, 91(5), 473-487.
Facione, P. (1990). Critical Thinking: A Statement of Expert Consensus for Purposes of
Educational Assessment and Instruction. Research Findings and Recommendations. .
Millbrae, CA: The California Academic Press.
Glaser, B. G. (1998). Doing Grounded Theory: Issues and Discussions. Mill Valley, CA: Sociology Press.
Kanematsu, H., & Barry, D. M. (2016). Theory of Creativity STEM and ICT Education in
Intelligent Environments (pp. 15-23): Springer.
Merriam, S. B. (1998). Qualitative Research and Case Study Applications in Education.
(2nd Ed.). San Francisco: Jossey-Bass.
Nopakun, O. (1985). Thai Concept of Khit-pen for Adult and Non-formal Education. Bangkok:
Asian and South Pacific Bureau of Adult Education.
Payutto, P. A. (1996). Toward Sustainable Science: A Buddhist Look at New Trends in
Scientific Development (B. Evans, Trans.). Thailand: Buddhadhamma Foundation.
Rogers, C. R., & Freiberg, H. J. (1994). Freedom to Learn (3rd ed.). New York: Merrill.
Wallas, G. (1926). The Art of Thought. New York: Harcourt Brace.