การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และเขต 2 (Good Governance Based Administration of School Administrators Affecting Success of Upright Schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Offices 1 and 2 )

Main Article Content

อภิชาติ จุลพันธ์ (Apichart Chunlaphan)
เอื้อมพร โตภาณุรักษ์กุล (Uempon Topanurakkul)
กาญจนา บุญส่ง (Kanchana Boonsong)

Abstract

สถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐที่มีการหลักธรรมาภิบาลมาบูรณาการเข้ากับการดำเนินงานต่าง ๆ ของสถานศึกษาเพื่อให้สถานศึกษาเกิดประสิทธิผลจากการบริหารที่มีหลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางในการบริหารจัดการอย่างสูงสุด นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการก็ได้กำหนดโครงการที่สอดคล้องกันกับแนวทางของธรรมาภิบาลนั้นคือ โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ภายใต้ชื่อ โรงเรียนสุจริต ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจทำวิจัยเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และเขต 2  2) ศึกษาระดับความสำเร็จของโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และเขต 2 และ 3) ศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต  1 และเขต 2 จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ คือ หลักความเสมอภาค หลักการมีส่วนร่วม หลักภาระรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส หลักนิติธรรม หลักประสิทธิภาพ หลักประสิทธิผล หลักมุ่งเน้นฉันทามติ หลักการกระจายอำนาจ หลักการตอบสนอง ตามลำดับ

  2. ระดับความสำเร็จของโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ คือ ผู้บริหาร โรงเรียน ครู นักเรียน ชุมชน

  3. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และเขต 2 ความสำเร็จของโรงเรียนสุจริตและการบริหารแบบธรรมาภิบาล โดยมีประสิทธิภาพในการทำนาย ร้อยละ 58.60 และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบคือgif.latex?\hat{Y}= 1.451+0.680

ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่า การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนสุจริต ดังนั้นผู้บริหารควรยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารเพื่อที่จะส่งผลต่อการพัฒนาของโรงเรียนในด้านต่างๆให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


Schools are public organizations integrating good governance in their various operations to create the highest administrative effectiveness by applying good governance in administration. Moreover, Ministry of Education has launced such the project conforming to good governance approach as Upright School Project, a project for enhancing virtues, morality, and good governance, in schools. The researcher was, therefore, interested in doing this research aiming to study: 1) the level of good governance based administration of school administrators under Phetchaburi Primary Educational Service Area Offices 1 and 2, 2) the level of success of upright schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Offices 1 and 2, and 3) the good governance based administration of school administrators affecting success of upright schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Offices 1 and 2. The research samples were 268 school administrators and teachers in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Offices 1 and 2. The research tool was a 5-level rating scale questionnaire. The data were analyzed by using mean, standard deviation, and simple regression analysis.


The research results were as follows:  


  1. The good governance based administration of school administrators under Phetchaburi Primary Educational Service Area Offices 1 and 2 was at the highest level. When each aspect was considered, the aspects of good governance could be ranked in descending order of their means as follows: equity, participation, accountibility, transparency, rule of law, efficiency, effectiveness, consensus oriented, decentalization, and responsiveness.

  2. The success of upright schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Offices 1 and 2 was at the highest level. When each aspect was considered, the aspects of success could be ranked in descending order of their means as follows: administrators, schools, teachers, students, and communities.

  3. The good governance based administration of school administrators affected success of upright schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Offices 1 and 2 with predictive efficiency for 58.60% and the raw score predictive equation was as follows: gif.latex?\hat{Y}= 1.451+0.680.

The research finding revealed that good governance based administration of school administrators affected success of upright schools. Therefore, school administrators should apply good governance in administration to influence the efficiency in school development in various aspects.  


Keywords: Good governance based administration, success of upright schools


 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

1.ก่อเกียรติ สัพโส. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 7(3): 53-64.
2.กำจร อ่อนคำ (2559 : 30) ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จกับการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. Journal of Paolfic Institute of Management Science, 2(2): 30-41.
3.คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4.ชุติมา สังทรัพย์. (2549). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี. คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
5.ดัสกรณ์ เพชรดี. (2551). การบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหาร ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
6.ทรงศักดิ์ ดวงจันทร์. (2552). การศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยองค์คณะบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
7.ธเนตร มีรัตน์. (2552). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
8.ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
9.นัยนา เจริญผล. (2552). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารการศึกษาของสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
10.นิพนธ์ บุรณจันทร์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(1): 153-160.
11.ปธาน สุวรรณมงคล. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
12.พรทิพย์ ไชยมงคล. (2560). การศึกษาสภาพการดำเนินงานในโครงการโรงเรียนสุจริต กลุ่มโรงเรียนเชียงคำ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
13.พระปิยวัฒน์ ปิยสีโล (จักร์แต). (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
14.สมศักดิ์ สุภิรักษ์. (2550). มิติการพัฒนาและการบริหารทรัพยากรบุคคล. นครสวรรค์: สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์.
15.สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการของสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัด ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาการวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
16.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: บริษัทพรีเมียร์โปร.
17.สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.(2556). มาตรฐานโรงเรียนสุจริต. สำนักงานคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.