การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม (A study of smoking behaviors among undergraduate students at Siam University.)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจเพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ศึกษาคะแนนระดับความรู้และเจคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ และเปรียบเทียบระดับความรู้และเจตคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ตามตัวแปรที่ศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยามปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งหมด 388 คนโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (ความถี่และ ร้อยละ) และสถิติเชิงอนุมาน (สถิติไคสแคว์ สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.41) มีอายุเฉลี่ย 21 ปี ส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ (ร้อยละ 74.50) ศึกษาในคณะบริหารธุรกิจ (ร้อยละ 25.52) พักอยู่บ้านตนเอง (ร้อยละ 62.37) และมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 33.76) เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับผู้ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ด้วยสถิติไคสแคว์ พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ เพศ ช่วงอายุ คณะที่ศึกษา สถานที่พักอาศัยในปัจจุบัน และรายได้เฉลี่ย (p= .00-.038) ผลคะแนนระดับความรู้และเจตคติเกี่ยวกับบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย 11.20 ± 1.82 จากคะแนนเต็ม 15 และ 3.84 ± 0.677 จากคะแนนเต็ม 5 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยความรู้ เจตคติตามตัวแปรเพศ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ด้วยสถิติค่าที และตัวแปร อายุ คณะ ที่พักอาศัย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่า เพศหญิงมีคะแนนความรู้และเจตคติดีกว่าเพศชาย นักศึกษาที่ไม่สูบบุหรี่และนักศึกษากลุ่มคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มีคะแนนความรู้และเจตคติดีกว่านักศึกษาที่สูบบุหรี่และนักศึกษากลุ่มคณะอื่น ๆ ตามลำดับ นักศึกษาอยู่บ้านตนเองมีคะแนนความรู้และเจตคติน้อยกว่านักศึกษาที่อยู่อาศัยที่อื่น และนักศึกษาที่มีรายได้น้อยกว่า 5000 บาทมีคะแนนเจตคติที่ดีกว่ากลุ่มรายได้ 10000 – 15000 บาท โดยทุกตัวแปรที่กล่าวมาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรอื่นพบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความรู้กับเจตคติด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.448, p=.00)
The purposes of the survey research were to study the characteristic and factor affecting smoking behavior as well as the score of knowledge and the attitude towards smoking, and to compare the score of knowledge and attitude about smoking according to the studied variables in the undergraduate students of Siam University in 2017 academic year. Three hundred eighty-eight students were selected as representative by stratified random sampling. The questionnaires were utilized as our research instruments in the present study. Data were analyzed employing both descriptive analyses expressed as the frequency and percentage, and inferential statistics using chi-square test, t-test and one-way ANOVA.
The result indicated that 55.41% of the volunteers were females. The average age of participants was 21 years old. Most of them were non-smokers which accounted for 74.50%. Moreover, 25.52% and 62.37% of the participants studied in the faculty of business administration and stayed at their own residences, respectively. The percentage of the students earning lower than 5000 baht per month was 33.76%. Using chi-square test, gender, age, faculty, accommodation, and monthly income significantly contributed to the smoking behavior (p=.00-.038). The mean score of comprehension and the attitude towards smoking were 11.20 ± 1.82 out of 15 and 3.84 ± 0.68 out of 5, respectively. The effects of various factors on knowledge and attitude towards smoking were further investigated by dividing to gender and personal smoking manner using t-test, and age, faculty, accommodation, and monthly income using one-way ANOVA. The results revealed better score in female compared to those in male. Non-smokers and the students of medical sciences had higher score of knowledge and attitude towards smoking than those in smokers and non-medical science group, respectively. In case of the students living in their own house, fewer score of knowledge and attitude were observed in comparison to those in the others. The students earning less than 5000 baht per month had greater score of attitude compared to the students with a monthly income of approximately 10000 to 15000 baht. For the comparison between the entire mentioned variables, the significant level of .05 was noted. When the relationship between the score of knowledge and the attitude towards smoking was analyzed by using Pearson correlation coefficient, the relationship between knowledge and attitude towards smoking were exhibited (r=.448, p = .00).
Article Details
References
นิยม จันทร์นวล; และ พลากร สืบสาราญ (2559). สถานการณ์การสูบบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีปลอดบุหรี่ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 18,2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) : 1-10.
ประกิต วาทีสาธกกิจ (2537). 108 คำถามเกี่ยวกับสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: สถาบันควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พุทธศักราช 2535. (2535). ราชกิจจานุเบกษา. มาตรา 6
พลกฤษณ์ พงษ์วิเศษ; และคนอื่น ๆ. (2556). การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพในการเลิกบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม ปีการศึกษา 2556. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
พัสวีภรณ์ อัครกิตติพงศ์ ; ณัฐวุธ แก้วสุทธา ; และ อังศินันท์ อินทรกาแหง. (2561). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University 11,2 (พฤษภาคม - สิงหาคม) : 50-62.
มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2561). รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย 2561. กรุงเทพฯ: เจริญมั่นคงการพิมพ์. จาก https://www.trc.or.th/th/media/attachments/2018/07/24/ch01.pdf
ลักษณาพร กรุงไกรเพชร; และ กิตติ กรุงไกรเพชร (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา บูรพาเวชสาร 4,1 (มกราคม – มิถุนายน) : 21-30.
วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ ; นํ้าฝน ไวทยวงศ์กร ; และ วิรุฬจิตรา อุ่นจางวาง (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติของผู้สูบบุหรี่ในการป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองให้กับสมาชิกในครอบครัว วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 19,1 (มกราคม - มิถุนายน) : 31-41.