การรับรู้การสื่อสารการตลาดและกระบวนการยอมรับการใช้บริการพร้อมเพย์ ในประเทศไทย (Perception of Marketing Communication and Innovation-Adoption Process toward Prompt Pay Service in Thailand)
Main Article Content
Abstract
รัฐบาลไทยได้ริเริ่มบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบพร้อมเพย์ในปีพุทธศักราช 2559 อย่างไรก็ตามจากสถิติปีพุทธศักราช 2561 พบว่า ประชากรไทยมีการลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์เพียงร้อยละ 41.2 จากจำนวนบัญชีทั้งหมด ผู้ศึกษาจึงมีความประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้การสื่อสารการตลาดต่อบริการพร้อมเพย์ และกระบวนการยอมรับบริการพร้อมเพย์ของประชากรไทย โดยการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ชุด และใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ต่อบริการพร้อมเพย์ผ่านเครื่องมือสื่อสารการตลาดแบบการตลาดทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด รองลงมาคือจากการตลาดทางออนไลน์และเครือข่ายสังคม และทั้งหมดมีความคิดเห็นด้วยกับกระบวนการยอมรับบริการพร้อมเพย์ในขั้นรับรู้ ขั้นสนใจ ขั้นการประเมินค่า ขั้นลงมือปฏิบัติ และขั้นยืนยันการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ปัจจัยส่วนบุคคลทั้งเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษาสูงสุดและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับการรับรู้การสื่อสารการตลาดของบริการพร้อมเพย์ผ่านการตลาดทางตรงและฐานข้อมูล กระบวนการยอมรับบริการพร้อมเพย์ในขั้นรับรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้การสื่อสารการตลาดผ่านการประชาสัมพันธ์มากที่สุด ในขณะที่ขั้นสนใจ ขั้นการประเมินค่า ขั้นลงมือปฏิบัติและขั้นยืนยันการปฏิบัติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดงานและการสร้างเสริมประสบการณ์มากที่สุด
Although Prompt Pay service was launched by Thai government since 2016, there are still only 41.2% out of all accounts registered for this service. This study is aimed to examine the relationships between personal characteristics, perception of marketing communication for Prompt Pay service, and innovation-Adoption process toward Prompt Pay service of Thai citizen. This is a quantitative study collected data from 400 samples by questionnaires to a group of 400 samples and used descriptive and inferential statistics for analyzing and concluding the data.
The study showed that the sample group has the highest perception of Prompt Pay service from marketing communication tools: mobile marketing, online and social marketing respectively, and they also have high-level agreement toward Innovation-Adoption process of Prompt Pay in all steps of knowledge, persuasion, decision, implementation and confirmation. All personal characteristics including gender, age, occupation, education level, and income level are related to the perception level of marketing communication by direct and database marketing. Innovation-Adoption process of Prompt Pay service in the step of knowledge is most positively related to the perception of marketing communication by public relations, while other steps including persuasion, decision, implementation and confirmation are most related to the perception of marketing communication by Events and Experience marketing.