การพัฒนาและการจัดการคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร (Development and management of digital intellectual repository Silpakorn University)

Main Article Content

จุฑามาศ ถึงนาค (Juthamas Thungnak)
นพดล เอกผาชัยสวัสดิ์ (Noppadol Aekphachaisawat)
สุนิศา รอดจินดา (Sunisa Rodjinda)
ดารารัตน์ จุฬาพันธุ์ (Dararat Chulapan)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการและการพัฒนาคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือเพื่อการวิจัย ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลและปรับปรุง ประชากรคือ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ที่สังกัดในหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปากร  วังท่าพระ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาข้อมูลการจัดการคลังปัญญาจากสถาบันต่าง ๆ ในประเทศไทย 4 แห่ง และศึกษาข้อมูลการจัดการผลงานทางวิชาการจากคณะวิชา/หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ 9 แห่ง รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการศึกษาจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์พบว่ามหาวิทยาลัยศิลปากรควรจัดตั้งคลังปัญญาเพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวม เก็บรักษา และเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย มีการเข้าถึงอย่างเสรีและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการดำเนินงาน จึงสร้างรูปแบบเพื่อพัฒนาและจัดการคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร ชื่อว่า “CREATION model” ได้แก่ เนื้อหาสาระของคลังปัญญาดิจิทัล (C= content of Silpakorn University Repository) การค้นคืนและการแสดงผล (RE= Retrieve and results) การกำหนดสิทธิ์โดยผู้ทรงสิทธิ์และประชาคมมหาวิทยาลัยศิลปากร  (A= Authorization by Owner Rights and Silpakorn University Community) เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับคลังปัญญา  (T=Technology for Repository) อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร (I=Identity of Silpakorn University) การเข้าถึงแบบเสรี (O=Open Access) และความต้องการของประชาคมมหาวิทยาลัยศิลปากร (N=Needs of Silpakorn University Community) ผลการประเมินความเหมาะสมและรับรองรูปแบบการพัฒนาและการจัดการคลังปัญญาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านคลังปัญญา พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด นำรูปแบบที่สร้างไปใช้ในการพัฒนาคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร ประเมินผลในการปฏิบัติงานของคลังปัญญาโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่าผู้ทรงคุณวุฒิมีความพึงพอใจในระดับมาก และประเมินผลการใช้คลังปัญญาดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบ “CREATION model” โดยผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านการสืบค้นและการแสดงผลการสืบค้น ด้านการเข้าถึงและการกำหนดสิทธิ์ และด้านอัตลักษณ์ พบว่าความต้องการใช้รูปแบบคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร ในภาพรวมและด้านอัตลักษณ์อยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจที่มีต่อการใช้คลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน


 


              This project was a R & D project, aiming to development methods and aimed to develop digital institutional repository of Silpakorn University. The research processes were divided into 4 stages as follows: 1): basic data analysis, 2) research instruments design, 3) model testing, and 4) evaluation and improvement.  A group of 354 research samples were students, lecturers and staffs who affiliated with Silpakorn University, Thapra Palace Campus. The research instruments were questionnaire and interview to collect data from 4 institutions in Thailand to investigate their repository administration and management, and from 9 faculties/divisions in Silpakorn University, Thapra Palace Campus about their scholarly works management. The collected data was quantitatively, qualitatively analyzed using statistical package and frequency, percentage, mean, standard deviation were presented.


               The findings indicated that Silpakorn University should establish its institutional repository for all scholarly works of the university to collect, preserve and publish digitally and provide open access to content and operate with appropriate technology. The “CREATION model” was generated to develop digital institutional repository for Silpakorn University, whereas C= content of Silpakorn University repository, RE= Retrieve and results, A = Authorization by owner rights and Silpakorn University community, T=Technology for repository, I = Identity of Silpakorn University, O = Open access, N = Needs of Silpakorn University community. The results of the assessment and certificate the model by institutional repository specialists were at highest level. The satisfaction of the model capacity, when applied to digital institutional repository, towards experts were at high level. The study of the use of digital institutional repository stakeholders developed by “CREATION model” in four aspects, nameby, information resources, search & result methods, information access & authorization, and uniqueness, were at high level especially uniqueness aspects. The users’ satisfaction towards the digital institutional repository, Silpakorn University were also at high level.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

ภาษาไทย
Čhitmittraphāp, Sutthiphō̜n (2010) . kān plīanplǣng lōk khō̜ng kān rīanrū nai satawat thī yīsipʻet læ kānphatthanā sū khrū mư̄ʻāchīp . khon čhāk http : / / hu . swu . ac . th / files / km / hāsiphā / sō̜ng % Changes % in % the % world 21. pdf
สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ครูมืออาชีพ. ค้นจาก https://hu.swu.ac.th/files/km/55/2_Changes_in_ the_world21.pdf
Čhœ̄m prayong, Song phan. (2014). kānhai bō̜rikān hō̜ngsamut samai mai : nǣonōm nai patčhuban læ khwām thāthāi nai ʻanākhot. khon čhāk http : //main.library.tu.ac. th/conference sō̜ngphansipsī/pdf/modern-ppt.pdf
ทรงพันธ์ เจิมประยงค์. (2557). การให้บริการห้องสมุดสมัยใหม่: แนวโน้มในปัจจุบันและความท้าทายในอนาคต. ค้นจาก https://main. library.tu.ac.th/conference2014/pdf/modern-ppt.pdf.
ʻIn lek, Pussara (2015) : kānphatthanā rabop khlang sārasonthēt phonngān naksưksā khana duriyāngkhasāt Mahāwitthayālai Sinlapākō̜n. (witthayāniphon parinyā mahābandit, Mahāwitthayālai Sinlapākō̜n)
ภัศรา อินทร์เล็ก (2558) : การพัฒนาระบบคลังสารสนเทศผลงานนักศึกษา คณะดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร
kō̜kǣo, piya wan. (2016). kānphatthanā rabop khlang panyā dičhithan khana sattawa phǣtthayasāt . mahāwitthayālai Mahidon . (witthayāniphon parinyā mahābandit , Mahāwitthayālai Sinlapākō̜n)
ปิยวรรณ กอแก้ว. (2559). การพัฒนาระบบคลังปัญญาดิจิทัล คณะสัตวแพทยศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)
Phetwong, Watcharī. (2012). kānphatthanā khlang sārasonthēt sathāban samrap ngānwičhai khō̜ng mahāwitthayālai theknōlōyī rāt mongkhon. (witthayāniphon dutsadībanthit , mahāwitthayālai khō̜nkǣn)
วัชรี เพ็ชรวงษ์. (2555). การพัฒนาคลังสารสนเทศสถาบันสำหรับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Thǣn Mālā, Prēm Rưdī . (2009). kānchai khlang panyā čhulā .phư̄a prathēt Thai khō̜ng ʻāčhān læ nisit bandit sưksā Čhulālongkō̜nmahāwitthayālai . (witthayāniphon parinyā mahābandit , čhulālongkō̜n mahāwitthayālai)
เปรมฤดี แทนมาลา. (2552). การใช้คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทยของอาจารย์และนิสิตบัณฑิตศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย).
Thūamsuk, Kunlathidā. ( 2011, Tulākhom ). Khlang sārasonthēt sathāban : khrư̄angmư̄
kānčhatkān thun thāng panyā khō̜ng ʻongkō̜n . ʻēkkasān nam sanœ̄ nai kān banyāi lǣkplīan rīanrū mung sū khlang panyā hō̜ng prachum nưng ʻākhān wichākān mahāwitthayālai theknōlōyī sura nārī . khon čhāk http : //soctech. sut. ac.th/k / ir.
กุลธิดา ท้วมสุข. (2554, ตุลาคม). คลังสารสนเทศสถาบัน: เครื่องมือการจัดการทุนทางปัญญาขององค์กร. เอกสารนำเสนอในการบรรยาย “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มุ่งสู่คลังปัญญา ห้องประชุม 1 อาคารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ค้นจาก https://soctech.sut.ac.th/km/ir.
Winit khēt khamnūan, Mārisā . (2013) . kānphatthanā khlang čhat kep ʻēkkasān sathāban bǣp pœ̄t khō̜ng khana manutsayasāt mahāwitthayālai Chīang Mai . (witthayāniphon parinyā mahābandit , mahāwitthayālai Chīang Mai)
มาริสา วินิจเขตคำนวณ. (2556). การพัฒนาคลังจัดเก็บเอกสารสถาบันแบบเปิดของคณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่)
ภาษาต่างประเทศ
Jantz, R. C., & Wilson, M. C. (2008). Institutional repositories: faculty deposits, marketing, and the reform of scholarly communication. The Journal of Academic Librarianship, 34,(3), 186-195. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/ S00991333 08000323
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.