การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชาสำหรับครู ระดับชั้นประถมศึกษา (A Training Curriculum Developmenton Introduction STEM with Integrated King's Science Educationfor Primary Teachers) A Training Curriculum Development on Introduction STEM with Integrated King's Science Education for Primary Teachers
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาดัชนีประสิทธิผลฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชาสำหรับครูระดับชั้นประถมศึกษา 2) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชาสำหรับครูระดับชั้นประถมศึกษา 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชาสำหรับครูระดับชั้นประถมศึกษา ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชา ผู้วิจัยดำเนินการสร้างคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชาประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชา จำนวน 5 แผน รวมทั้งหมด 21 ชั่วโมง แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชาและคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชา จากนั้นนำไปทดลองใช้กับครูเพื่อหาดัชนีประสิทธิผล เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชา และคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชา แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชา แบบประเมินความสามารถการสร้างหลักสูตรสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชา และแบบประเมินเจตคติที่มีต่อหลักสูตรสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชา ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชาสำหรับครูระดับชั้นประถมศึกษา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 75 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกหลักสูตรที่สนใจในการพัฒนาตนเอง (Shopping) แบบแผนการวิจัย คือ One Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการทดสอบ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม
ผลการวิจัย พบว่า
- หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นให้ความสำคัญกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ และใช้วิธีการสอนแบบบทบาทสมมติโดยมี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นมาของหลักสูตร หลักการแนวคิดทฤษฎีที่สนับสนุนหลักสูตร กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร กำหนดสาระการเรียนรู้ของหลักสูตร กำหนดคำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา กำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กำหนดระยะเวลาในการฝึกอบรม กำหนดแนวทางการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ กำหนดแนวทางการวัดและประเมินผล ประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ ประเมินว่าหลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชามีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ( = 4.5,S.D.= 0.50 ) และคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชามีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ( =4.6,S.D.=0.70 ) และเมื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง พบว่าหลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชามีดัชนีประสิทธิผลด้านความรู้ความเข้าใจ เท่ากับ 0.9536คิดเป็นร้อยละ 95.36ซึ่งดัชนีประสิทธิผลเป็นค่าแสดงความก้าวหน้าของผู้เข้ารับการอบรมโดยค่าดัชนีประสิทธิผลควรมีค่า0.5 ขึ้นไป
- ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า
2.1) ความรู้ความเข้าใจสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชา หลังฝึกการอบรมสูงกว่าก่อนฝึกการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
2.2) ความสามารถในการสร้างหลักสูตรสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชา หลังการฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
2.3) เจตคติต่อการพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชา หลังการฝึกอบรม สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
- ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมสะเต็มศึกษาบูรณาการศาสตร์พระราชาสำหรับครูระดับชั้นประถมศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this research were 1) to construct and identify the effectiveness index of the training curriculum of stem education for Primary teachers.2) to implement the training curriculum of stem education and,and 3) to study satisfaction on the training curriculum of stem education for Primary Teachers.
There were three steps of research as follows ;
The first step is constructing and identifying the effectiveness index of the training curriculum and its supplement.Suggestions offer the improvement from 5 experts were used in the phase.The second step is implementing the training curriculum with a sample of 75 persons which derived from the select course that interest in self development.The third step is studying satisfaction of the stem education on the training curriculum.
The results were as follows;
- The training curriculum focuses on collaborative and role play which consisted of9elements;principles,rationale,theoreticalconceptsthatsupportthecurriculum,objectives,determine the course content,course description and structure,activities,period of time ,media use and learning ,and measurement and evaluation.The evaluation by experts showed that the training curriculum were suitable at high level ( =4.5,S.D.=0.50),The training curriculum handbook were suitable at high level ( =4.6,S.D.=0.70).When using the activities with the sample group,it found that the training curriculum had the index of effectiveness on the competency of the knowledge and understanding in stem education training curriculum was between 0.9774 or 97.74 %.
- The results of the implementation of the training curriculum showed that :
2.1) The knowledge and training curriculum in stem education of post-test was higher than that of pre-test at significance level of .05.
2.2) The result on the competency training curriculum was higher than that of the set criteria up to 80% at significance level.05
2.3) The attitude to wards the stem education training curriculum of post-test was higher than that of pre-test at significance level of .05.
- The trainee’s satisfaction on the training curriculum stem education for Primary Teachers was at high level.
Article Details
References
ภาษาไทย
Chamrat ,I .(2015). ( sō̜ngphanhārō̜ihāsippǣt ) . [kānphatthanā laksūt fưk ʻoprom phư̄a sœ̄msāng khwāmsāmāt nai kānčhatkān rīanrū tām nǣo sa tem sưksā samrap khrū radap prathom sưksā ]. Veridian E - Journal , Silpakorn University chabap phāsā Thai sākhā manut sāt sangkhommasāt læ sinlapa pī thī pǣt chabap thī sō̜ng dư̄an Phrưtsaphākhom - Singhākhom 2558.
จำรัส อินทลาภาพร .(2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา สำหรับครูระดับประถมศึกษา. Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม -สิงหาคม 2558.
Kamolchat,K.(2017).( sō̜ngphanhārō̜ihoksip ). [ʻēkkasān khamsō̜n rāiwichā kānphatthanā laksūt] . phet būn : klum wichā laksūt læ kānsō̜n Khana Kharusāt mahāwitthayālai rātchaphat phet būn. ( ʻēkkasān ʻatsamnao ).
กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2560). เอกสารคำสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร. เพชรบูรณ์: กลุ่มวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. (เอกสารอัดสำเนา).
Mathurot, P.(2016). ( sō̜ngphanhārō̜ihāsipkāo ). [kānphatthanā laksūt fưk ʻoprom sœ̄msāng khwāmsāmāt nai kānsō̜n ʻān læ winitchai kān ʻān samrap khrū radap prathom sưksā tō̜n ton] .Veridian E - Journal , Silpakorn University chabap phāsā Thai sākhā manut sāt sangkhommasāt læ sinlapa pī thī kao chabap thī sō̜ng dư̄an Phrưtsaphākhom - Singhākhom 2559.
มธุรส ประภาจันทร์และคณะ .(2559).การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการสอนอ่านและวินิจฉัยการอ่าน สำหรับครูระดับประถมศึกษาตอนต้น.Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่9 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม -สิงหาคม 2559.
Samnakngān lēkhāthikān wutthi saphā, (2017). ( sō̜ngphanhārō̜ihoksip ) . [rat tham hǣng rātchaʻānāčhak Thai Phutthasakkarāt 2560]. samnak nāyokratthamontrī .
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.(2560).รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักนายกรัฐมนตรี .
Samnakngān lēkhāthikān saphā kānsưksā,(2017).[phǣnkān sưksā hǣng chāt Phō̜.Sō̜. ( sō̜ngphanhārō̜ihoksip - sō̜ngphanhārō̜ičhetsipkāo )] . krasūang sưksāthikān .
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.(2560-2579).กระทรวงศึกษาธิการ.
Samnakngān khana kammakān phatthanā sētthakit læ sangkhom hǣng chāt.,(2017). sō̜ngphanhārō̜ihoksip).[phǣn phatthanā sētthakit læ sangkhom hǣng chāt chabap thī sip sō̜ng Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip – 2564]. samnak nāyokratthamontrī .
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2560).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. สำนักนายกรัฐมนตรี.
Samnakngān wichākān læ māttrathān kānsưksā.(2017).[khūmư̄ kānchai laksūt rāiwichā phư̄nthān witthayāsāt klum sāra kān rīanrū witthayāsāt ( chabap prapprung Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip ) tām laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄n thān Phutthasakkarāt sō̜ngphanhārō̜ihāsipʻet sāra theknōlōyī ( witthayākān khamnūan ) radap prathom sưksā læ matthayommasưksā ]. samnakngān khana kammakān kānsưksā naphư̄n thān sathāban songsœ̄m kānsō̜n witthayāsāt læ theknōlōyī .
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.(2560).คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Samnakngān wichākān læ māttrathān kānsưksā,(2017). ( sō̜ngphanhārō̜ihoksip ) . [tūa chī wat læ sāra kān rīanrū kǣn klāng klum sāra kān rīanrū witthayāsāt ( chabap prapprung Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip ) tām laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄n thān Phutthasakkarāt 2551]. samnakngān khana kammakān kānsưksā naphư̄n thān sathāban songsœ̄m kānsō̜n witthayāsāt læ theknōlōyī .
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.(2560).ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Sāwittrī ,S.(2017). ( sō̜ngphanhārō̜ihoksip ) . [kānphatthanā laksūt fưk ʻoprom sœ̄msāng khwāmsāmāt nai kānčhatkān rīanrū būranākān thammachātwitthayāsāt samrap khrū radap matthayommasưksā ]. Veridian E - Journal , Silpakorn University chabap phāsā Thai sākhā manut sāt sangkhommasāt læ sinlapa pī thī sip chabap thī sō̜ng dư̄an Phrưtsaphākhom - Singhākhom 2560.
สาวิตรี สิทธิชัยกานต์ และคณะ .(2560).การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้บูรณาการธรรมชาติวิทยาศาสตร์ สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา.Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่10 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม -สิงหาคม 2560.
Samnakngān wichākān læ māttrathān kānsưksā .[tūa chī wat læ sāra kān rīanrū kǣn klāng klum sāra kān rīanrū khanittasāt ( chabap prapprung Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip ) tām laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄n thān Phutthasakkarāt 2551]. samnakngān khana kammakān kānsưksā naphư̄n thān sathāban songsœ̄m kānsō̜n witthayāsāt læ theknōlōyī.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.(2560).ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Samnakngān wichākān læ māttrathān kānsưksā ,.(2017).[tūa chī wat læ sāra kān rīanrū kǣn klāng tō̜ng rū læ khūan rū klum sāra kān rīanrū sinlapa] . samnakngān khana kammakān kānsưksā naphư̄n thān.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.(2560).ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางต้องรู้และควรรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ภาษาต่างประเทศ
Buasri, T.(1999).Curriculum theories and design development.Bangkok:Thanawat Printing.(in Thai).
Khemmani,T.(2002).Science of teaching:knowledge for learning management.(2nd ed.).Bangkok:Chulalongkorn University Press.(in Thai).
Srisa-ard,B.(2003).Curriculum development and curriculum evalustion.Bangkok:Suveeriyasarn.(in Thai).
Wongyai,W.(1995).Developing new dimension of curriculum and teaching.Bangkok:Rungruangtham.(in Thai)