ตัวละครจากวรรณคดีไทยในบทเพลงไทยสากล: ความนิยมและวิธีการนำเสนอ (CHARACTERS FROM THAI LITERATURE IN NEW-STYLE THAI SONGS: POPULARITY AND PRESENTATION METHODS)

Main Article Content

วรรณวิภา วงษ์เดือน (Wanvipa Wongduean)
วีรวัฒน์ อินทรพร (Weerawat Intaraporn)

Abstract

               บทความเรื่องนี้ศึกษาตัวละครจากวรรณคดีไทยที่ปรากฏในบทเพลงไทยสากลที่เผยแพร่ใน www.youtube.com จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาตัวละครจากวรรณคดีไทยที่นิยมนำมาสร้างสรรค์ใหม่เป็นบทเพลง 2. เพื่อศึกษาวิธีการนำเสนอตัวละครในบทเพลงไทยสากล


               ผลการศึกษาพบว่า บทเพลงไทยสากลที่สร้างสรรค์จากตัวละครในวรรณคดีไทยจากการรวบรวมตามขอบเขตการวิจัยครั้งนี้มาจากวรรณคดีไทยจำนวน 16 เรื่อง ปรากฏตัวละครจากวรรณคดีไทยทั้งหมด 59 ตัว วรรณคดีไทยเรื่องที่นิยมนำตัวละครมาสร้างสรรค์เป็นบทเพลงไทยสากลและมีความหลากหลายมากที่สุด ได้แก่ เรื่องรามเกียรติ์ ส่วนตัวละครจากวรรณคดีไทยที่นำมาสร้างสรรค์เป็นบทเพลงไทยสากลมากที่สุด 3 ลำดับ ได้แก่ นางกากี จากเรื่องกากี นางวันทอง จากเรื่องขุนช้างขุนแผน และ ทศกัณฐ์ จากเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนวิธีการนำเสนอตัวละครมี 3 ลักษณะ คือ 1. การคงเค้าลักษณะเดิมของตัวละคร 2. การเปลี่ยนแปลงบทบาทของตัวละคร และ 3. มีทั้งการคงเค้าลักษณะเดิมและการเปลี่ยนแปลงบทบาทของตัวละคร


           This article aims to study characters in Thai literature as they appeared in modern Thai songs published in www.youtube.com until December 2017.  The study is twofold.  First, how the characters are re-created in modern Thai songs is investigated.  Then how they are presented in the songs is subsequently investigated.


            By examining 59 characters in 16 Thai literary works, it was found the characters most variedly mentioned in the modern Thai songs were from Ramakian. Additionally, the 3 characters most re-created in the songs were Kakee from Kakee,  Wan Thong from Khun Chang Khun Phaen and Thotsakan from Ramakien.  The characters, however, were found to be presented in two different ways.  While some characters were presented with their original roles, some are presented with changing roles.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts