การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (The Learning Management by Using Flipped Classroom for Efficiency Of studying Development Applied in Mathematics subjectfor junior high school grade 3 Students)

Main Article Content

ยุภาพร ด้วงโต้ด (Yupaporn Duangtod)
รสริน เจิมไธสง (Rossarin Jermtaisong)

Abstract

              การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง การหาปริมาตร  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาปริมาตร ของกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ)


               กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลทับกวาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 60 คน เลือกโดยใช้วิธี การสุ่มแบบกระบวนการสุ่ม (Randomization)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียน กลับด้าน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t –test)


ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้


  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           The  major objectives of  the  research on The Learning Management by Using Flipped Classroom for Efficiency of studying Development Applied in Mathematics subject for Junior high school grade 3 students were to  1)  To compare the efficiency of studying  level  in finding quantity, Mathematics subject  for  the junior high school Grade 3 Students before  and after  arranging activity by using flipped classroom  2) To compare the efficiency of studying level in finding quantity,  Mathematics subject for The junior high school Grade 3 Students before and after arranging activity by using normal classroom 3) To compare the studying efficiency after studying of  The junior high school Grade 3 student who has been arranged for learning activity of finding quantities of the group receiving learning activity by using  flipped classroom and group that arranged the meeting  by using normal classroom.


               Research samples are junior high school Grade 3 students ,  Anubantabkwang School, Saraburi Primary Educational Service Office Area 2, Semester 1 , Academic Year 2017 , by using multistage sampling  method for 60 sampling, using experimented plan of The Randomized Pretest-Posttest Control Group Design. the tools using in research are Flipped Classroom Lesson Plan, Normal Classroom lesson plan, Efficiency of studying test, usage statistics in information analyzing, mean, Standard Deviation, hypothesis testing by using t-test (Dependent Samples) and t-test (Independent Samples)


The result of information analysis are as follows:


  1. The efficiency of mathematics studying, Subject in finding quantities of The junior high school Grade 3 students who has been arranged learning activity by using Flipped Classroom, the students’ post showed higher score than the pretest with significantly different in statistical rate of .05

  2. The efficiency  of  mathematics  studying , subject  in finding quantities of The junior high school Grade 3 students who has been arranged by using Normal Classroom, the students’ post showed higher score than the pretest with significantly different in statistical rate of  .05

  3. The efficiency of mathematics studying , subject in finding quantities of junior high school Grade 3 students before and after learning by creating learning activity by using Flipped Classroom is higher than the students receiving activity by using Normal Classroom with significantly difference rate  in statistically  for  .05

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
(ปรับปรุง). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน. (2551). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิชาภา บุรีกาญจน์. 2556. “ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับด้าน
ที่มีผลต่อความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น.”
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
นิอิบณูรอวี บือราเฮง. (2557). ผลของการสอนแบบบูรณาการด้วยการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน
สื่อประสม และนวัตกรรม คุณลักษณ์ศึกษาด้านทักษะทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมและ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ศาสนประวัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
พิมพ์ประภา พาลพ่าย. (2557). การใช้สื่อสังคมตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเรื่อง ภาษาเพื่อ
การสื่อสาร เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
(ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). วิกฤติการศึกษา : ทางออกที่รอการแก้ไข. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ลัทธพล ด่านสกุล. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยพอดคาสต์โดยใช้
กลวิธีการกำกับตนเองที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโครงสร้างการโปรแกรม และการกำกับตนเองของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).
วรวรรณ เพชรอุไร. (2556). “ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนโดยใช้เทคนิคผสมผสานในวิชาการแปรรูปยาง
ของนักศึกษาปริญญาตรี สาาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์”. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิ
สดศรีสฤษดิ์วงศ์.
_______. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท
เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
_______. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ส เจริญการพิมพ์.
สุภาพร สุดบนิด. (2557). “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางกับการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ.” (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (2569). สืบค้นจาก
https://www.saraburi2.org/nitad/