การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 1 (The Experience Management on the Basis of High/Scope Concept on Basic Mathematics Skill Development for Kindergarten 1 Students)

Main Article Content

ณัฎฐา มหาสุคนธ์ (Natta Mahasukon)
รสริน เจิมไธสง (Rossarin Jermtaisong)

Abstract

              การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดประสบการณ์แบบปกติ  2) เพื่อเปรียบเทียบด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 ก่อนเรียน และหลังเรียน ด้วยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป  3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ระหว่างการจัดประสบการณ์แบบไฮสโคป และการจัดประสบการณ์แบบปกติ   กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เลือกโดยใช้วิธีการสุ่ม ได้จำนวน 70 คน ระยะเวลาการดำเนินงานวิจัยใช้ระยะเวลาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 แบบแผนการทดลองแบบ The randomized pretest - posttest control group design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แผนการการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High/scope) เรื่องคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน จำนวน  5 แผน              2) แผนการจัดประสบการณ์แบบปกติ  เรื่อง คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน จำนวน 5 แผน 3) แบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยแบบทดสอบจัดเป็นสถานการณ์ รวมทั้งหมด 20 ข้อ   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้  t -test (Dependent Samples) และ t -test (Independent Samples)  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 ด้วยการจัดประสบการณ์แบบปกติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 ด้วยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01 3) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป สูงกว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


 


                The objectives of this study are; 1) to compare the basic mathematics skills of kindergarten 1 students before and after their lesson through conventional experience management; 2) to compare the basic mathematics skills of kindergarten 1 students before and after the lesson through experience management on the basis of high/scope concept; and 3) to compare the basic mathematics skills of kindergarten 1 students who have received an experience management lessons on the basis of high/scope concept and a conventional experience management lesson. The sample for this research included seventy kindergarten 1 students at Bunkhumratbamrung School, Pathumthani Primary Educational Service Area Office 1. The students were in the second semester of 2017 and selected by Random sampling. The study was undertaken in the second semester in the 2017 academic year and used a randomized pretest and posttest control group design. The tools of this study were; 1) five experience management programs on the basis of high/scope concept on daily life mathematics; 2) five conventional experience management programs on daily life mathematics; and 3) A practice mathematics test for kindergarten students as the situation test which included twenty questions. The statistical methods used to analyse the data were mean, standard deviation, t-test (dependent samples), and t-test (independent samples). The research findings were as follows 1) The basic mathematics skills of the kindergarten 1 students both before and after the lesson through conventional experience management at the 0.01 level of significance. 2) The basic mathematics skills of the kindergarten 1 students after the lesson through experience management on the basis of high/scope concept was higher before the lesson, at the 0.01 level of significance. 3) The basic mathematics skills of the kindergarten 1 students who received the experience management on the basis of high/scope concept was higher than the students who received the conventional experience management, at the 0.01 level of significance.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

1.กระทรวงศึกษาธิการ.(2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กรุงเทพฯ : คุรุสภา
2.กระทรวงศึกษาธิการ.(2545) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 . กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว
3.การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย.(2556) https://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/1233
4.กุลยา ตันติผลาชีวะ 2551 รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา กรุงเทพมหานคร มิตรสัมพันธ์ กราฟฟิค
5.คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว. (2550). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้ รูปแบบ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
6.เจริญตา จาดเจือจันทร์ .(2556). การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์)
7.เชวง ซ้อนบุญ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH -3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย.(ดุษฎีนิพนธ์,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
8.ณัฐพรหม อินทุยศล(2553) จิตวิทยาการศึกษา, เพชรบูรณ์ : สถาบันพละศึกษา, วิทยาเขตเพชรบูรณ์
9.ปัทมา ดวงศรี. (2558) การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป.(วารสารวิชาการและการวิจัยสังคมสงเคราะห์ )
10.พัชรี ผลโยธิน และคณะ. (2550) การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดไฮสโคป . กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น
11.เพ็ญจันทร์ เงียบประเสริฐ (2542) คณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย,ภูเก็ต : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎ ภูเก็ต
12.ละไม ธานี. (2552) การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
13.วรนาท รักสกุลไทย. (2542) การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 3-5 ปี. กรุงเทพฯ: ประสานการพิมพ์ (2551). “ไฮสโคป (High Scope) กับการพัฒนาเด็กปฐมวัย” รวมนวัตกรรมทฤษฎี การศึกษาปฐมวัยสู่การประยุกต์ใช้ใน ห้องเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สาราเด็ก
14.วริษกร ไชยรัตน์. (2551) การเปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระหว่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดโยนิโสมนสิการแบบการณมนสิการและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยทักษิณ)
15.วิพาพร บุญวงษ์. (2551) การเปรียบเทียบพฤติกรรมการเห็นคุณค่าในตนเองและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบไฮสโคปกับการจัดประสบการณ์แบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา)
16.ศิริพรรณ สิทธิพูนอนุภาพ. (2552) การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป (High/scope) (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
17.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.( 2546) นโยบายและแผนการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย (0-5 ปั) กรุงเทพฯ : สถาบันแห่งชาติเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
18.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550) การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดไฮสโคป พัชรี ผลโยธิน และคณะ กรุงเทพฯ : วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น
19.สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์ (2550) การศึกษาปฐมวัย, กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
20.สุริยา ฆ้องเสนาะ , 2557 https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=31140
21.สมเด็จ จุลนันท์. (2553) การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนปฐมวัยตาม แนวคิดไฮสโคป. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
22.Hohmann, M. and Weikart D.P, (1995). Educating Young Children. United States of
America : High/Scope Press.