การบริหารกลยุทธ์ทางการตลาดและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจร้านขนมบ้านขุนแก้ว (Marketing Strategies and Obstacles to the Operations of Ban Khun Kaew Dessert Store)

Main Article Content

กนกวรรณ กิจชระภูมิ (Kanokwan kitcharabhumi)
เกตุวดี สมบูรณ์ทวี (Kedwadee Sombultawaee)
ณญาตา ทองรัศมี (Nayata Thongrasamee)
อัญชลีพร บุญชู (Aunchaleepon Boonchoo)

Abstract

                การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่องการบริหารกลยุทธ์ทางการตลาดและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจร้านขนมบ้านขุนแก้ว มีวัตถุประสงค์คือ 1.)เพื่อศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และ 2.)เพื่อศึกษาอุปสรรคและวิธีแก้ปัญหาในการดำเนินธุรกิจ โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้ประกอบการร้านขนมบ้านขุนแก้ว ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผ่านการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured) ทางโทรศัพท์มือถือและเครื่องบันทึกเสียง และจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า กลยุทธ์ที่ร้านขนมบ้านขุนแก้วใช้ คือกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดซึ่งมี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์(Product) ด้านราคา(Price) ด้านสถานที่(Place) ด้านการส่งเสริมการขาย(Promotion) ด้านบุคคล(People) ด้านลักษณะทางกายภาพ(Physical Evidence) และด้านกระบวนการ(Process) ส่วนอุปสรรคที่พบในการดำเนินธุรกิจคือ 1.)ด้านการผลิต 2.)ด้านการตลาด และ 3.)ด้านเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการเลือกวิธีแก้ไขสถานการณ์โดยการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ในสายผลิตภัณฑ์เดิม รวมถึงใช้นวัตกรรมการส่งเสริมการขายในช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ผ่านระบบการขนส่งที่รวดเร็วเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค


 


                 This research was a qualitative research which aimed to study marketing strategies and barriers to business. It is based on case study Ban Khun Kaew and the entrepreneur source of information presented in the research. The data was collected by in-depth interviews and semi-structured participants. Used cell phone to make telephone interviews and used another cell phone , pen, and notebook to collect information. The study found the marketing mix in business of Kanom Ban Khun Kaew are use 7 aspects which are product, price, place, promotion, people, physical evidence, and process. And the obstacle to the business of Ban Khun Kaew are 3 aspects which are production, marketing, and economic. The most appropriate solution is addition new product in original product line and use the innovative online promotion to increase sales.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

Elena, V. P., Irina, V. Y., Anna N. A., & Alla O. P. (2016). Marketing Mix for E-commerce. International Journal of Environmental & Science Education, 11(14), 6744-6759.
Euromonitor International. (2015). อัตราการเติบโตตลาดเบเกอรี่ในประเทศไทย. ได้จาก: https://positioningmag.com/1104367. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561.
Hitesh B. (2017). Service Marketing Mix - 7 P’s of marketing. Retrieved from https://www.marketing91.com/service-marketing-mix/. Accessed September 26, 2018.
Kolter, P. (1997) Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (14 th 3431Globaled) Upper Saddle River, NJ : Prentice – Hall
MBA Marketing. (2556). แนวคิดส่วนประสมทางการตลาด7Ps. จาก: https://mbamk.blogspot.com/2013/07/7ps.html?m=1. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2561.
Mehrdad, A. & Elham, D. (2011). The Role of Service Marketing Mix and Its Impact on Marketing Audit in Engineering and Technical Service Corporations. Global Journal of Management and Business Research, 11(6), 67-77.
กฤษดา เชียรวัฒนสุข และ สุรพร อ่อนพุทธา. (2560). การจำแนกกลุ่มลูกค้าที่คำนึงถึงราคาและคำนึงถึงคุณภาพก่อนตัดสินใจซื้อ โดยใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps) “วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม -ธันวาคม 2560.
จิรดา นาคฤทธิ์. (2557). แนวความคิดทางการตลาด (Marketing Concept). วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ตุลาคม-ธันวาคม. ได้จาก: https://jiradabbc.wordpress.com. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2561.
ชีวรรณ เจริญสุข (2547).กลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม (โชว์ห่วย). บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. บริหารธุรกิจการตลาด.
ฐิติมา ผการัตน์สกุล และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์.“วารสารวิชาการ Veridian E-Journal” ปีที่8 ฉบับที่3 (กันยายน-ธันวาคม). P: 1906-3431.
ณัฐ อรินพไพบูลย์. (2554). ความพึงพอใจของผู้รับเหมาต่อส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผสมเสร็จของโรงงานซีแพคแฟรนไชส์ สาขาจอมทอง. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บริหารธุรกิจการตลาด.
พสชนัน ทินราช. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์ และกลยุทธ์การตลาดเพื่อเสริมความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ : กรณีศึกษา บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสจำกัด (มหาชน). (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).
พัชร สมะลาภา. "Food Solution" ระบบช่วยบริหารจัดการร้านอาหารครบวงจรที่สุดครั้งแรกของไทย.(2560). ได้จาก : https://siamrath.co.th/n/16489. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2561.
วิชิต อู่อ้น. (2557). แนวคิดและทฤษฎีทางการตลาด. ได้จาก : https://fifathanom.wordpress.com/. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561.
สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2550). เคล็ดลับการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: พีซีพริ้นทเทค์.
สุกัญญา ละมุล.(2560).ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ร้านกาแฟสดคาเฟ่อเมซอล.หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
หนึ่งฤทัย เซี่ยงฉิน และประสพชัย พสุนนท์. (2558).ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสตาร์บัคส์ และร้านทัม เอ็น ทัมส์ คอฟฟี่ สาขาวิคตอเรีย การ์เด้นส์. “วารสารวิชาการ Veridian E-Journal” ปีที่8 ฉบับที่3 (กันยายน-ธันวาคม). P: 1906-3431