การพัฒนาชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (Development of Electronic Learning Packages via tablet in the topic on Introduction of Educational Technology and Communications for Graduate students of Educational technology and Communications, School of Educational Studies, Sukhothai Thammathirat Open University)

Main Article Content

ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ (Taweewat Watthanakuljaroen)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจความต้องการเนื้อหาสำหรับการพัฒนาชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา (2) พัฒนาชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา (3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ศึกษาด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา และ (4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการใช้ชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา ประชากรที่ใช้สำหรับสำรวจความต้องการด้านเนื้อหาสำหรับการพัฒนาชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาโท แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ลงทะเบียนในภาค 1/2556 จำนวน 146 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับการพัฒนาชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาโท แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ที่ลงทะเบียนในภาค 2/2556 จำนวน 62 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสอบถามความต้องการด้านเนื้อหาสำหรับพัฒนาชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา (2) ชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (3) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (4) แบบศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการใช้ชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


            ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยความต้องการความรู้พื้นฐานด้านการจัดระบบทางการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ระบบทางการศึกษา ความต้องการความรู้พื้นฐานด้านการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการวิจัยและการเขียนโครงการวิจัยทางเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา ความต้องการความรู้พื้นฐานด้านสัมมนาทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเกี่ยวกับสัมมนาด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียน และความต้องการความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวกับการศึกษาทางไกลกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (2) ผลการพัฒนาชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ทั้ง 4 หน่วย มีประสิทธิภาพ คือ 81.50/80.00, 80.25/80.40, 81.10/81.20 และ 80.65/80.80ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (3) นักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) นักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพามีความคิดเห็นว่าชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์พกพามีความเหมาะสมในระดับเห็นด้วยมากที่สุด


 


              The purposes of this research were (1) to study the needs of graduate students toward the topic of electronic learning packages via tablet; (2) to develop the electronic learning packages via tablet; (3) to study the learning progress of students using electronic learning packages via tablet; and (4) to study the opinions of students toward the electronic learning packages via tablet. The population to study the needs of graduate students toward the topic of electronic learning packages via tablet were 146 graduate students of Educational Technology and Communications School of Educational Studies Sukhothai Thammathirat Open University. The sample to develop the electronic learning packages via tablet were 62 graduate students of Educational Technology and Communications. They were selected through the simple sampling technique. Research instruments comprised (1) a questionnaires to study the needs of graduate students toward the topic of electronic learning packages via tablet (2) electronic learning packages via tablet in the topic on Introduction of Educational Technology and Communications (3) an achievement test for pre-testing and post-testing; and (4) a questionnaire on graduate students’ opinions toward the electronic learning packages via tablet. Statistics employed for data analysis were mean, standard deviation, and t-test.


               Research findings showed that (1) The needs of the needs of graduate students revealed that the overall needs of graduate students toward the topic of electronic learning packages via tablet in the topic on Introduction of Educational Technology and Communications were at the high level in all topics. When specific aspects of the needs of graduate students were considered, the findings were as follows: the topic of Introduction of systems approach in education, with analysis of systems approach in education; the topic of Introduction of research of Educational Technology and Communications, with problems and research proposal in Educational Technology and Communications; the topic of Introduction of seminar in Educational Technology and Communications, with seminar in Educational Technology and Communications for normal education; and the topic of Introduction of Educational Technology and Communications in Human Resource Development, with distance education for Human Resource Development (2) The four units of electronic learning packages via tablet had efficiency indices of 81.50/80.00, 80.25/80.40, 81.10/81.20 and 80.65/80.80 respectively, thus meeting the determined 80/80 efficiency criterion (3) The learning achievement of the graduate students increased significantly at the 0.05 level indicating significant learning progress; and (4) The opinions of the graduate students of electronic learning packages via tablet toward the using of were at the “Highest Agreeable” level.


 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

Brahmawong, C. (2003). kan phalit chut kan rian ilekthronik [Development of Electronic Learning Packages] . Bangkok: Aimphan.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2546). การผลิตชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.
Choomek, J. (2012). kan phatthana kitchakam kan rianru baep STAD doi chai botrian manti midia bon khomphiotoe phok pha rueang lakkan chai si khong phurian chan prathomsueksa chuang chan thi 2 [The development of learning activity of "STAD" utilizing multimedia lessons with tablets on color usage principles of primary school level 2 students]. Master Thesis in Technical Education, King Mongkut’s University of Technology Thonburi.
จันจิรา ชูเมฆ. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์พกพา เรื่องหลักการใช้สีของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Electronic Transactions Development Agency. (2015). rai-ngan phon kan samruat pharuetikam phuchai inthoenet nai prathet thai pi 2558 [Thailand internet user profile 2015]. Bangkok: Electronic Transactions Development Agency.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2558). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.
Iamumnuaisuk, L. (2013). kan sang sue bon upakon khomphiotoe phok pha rueang kan khlueanwai nai rabop dichiton bueangton thi chai withikan son baep hongrian klap dan [Creating media on mobile computer to be subject to the introduction of digital animation using flipped classroom as a teaching method]. Master Thesis in Technical Education, King Mongkut’s University of Technology Thonburi.
ลัลน์ลลิต เอี่ยมอำนวยสุข. (2556). “การสร้างสื่อบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา เรื่อง การเคลื่อนไหวในระบบดิจิตอลเบื้องต้นที่ใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Kaewphanngam, C. (2016). theknoloyi phuea kan pramoen kan rianru phasa samrap phurian nai satawat thi 21 [Technology-Assisted Language Assessment for 21st Century Learners]. Veridian E-Journal, Silpakorn University 9, 3 (September – December): 436-452.
ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม. (2559). เทคโนโลยีเพื่อการประเมินการเรียนรู้ภาษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University 9, 3 (กันยายน – ธันวาคม): 436-452.
Mongkhonwong, T. (2013). botbat khong phuborihan sueksanithet khru phurian lae bukhlakon sai sanapsanun nai kan chai thaep let phisi phuea kansueksa [Roles for Administrator Supervisor Teacher Learner and Staff to support to use tablet for education]. Retrieved on July 28, 2013. From https://202.29.215.169/vichakarn/member/data/Dr.thanakit/
ธนกฤตย์ มงคลวงษ์. (2556). บทบาทของผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครู ผู้เรียน และบุคลากรสายสนับสนุนในการใช้แท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2558, จาก https://202.29.215.169/vichakarn/member/data/Dr.thanakit/
Pangkham, K. (2011). kan phatthana rupbaep kan chai khomphiotoe phok pha tam naeokhit thruesadi kan rianru phuea sangsan panya [Development of laptop usage model on constructionism]. Dissertation in Education, Kasertsart University.
กิตติศักดิ์ แป้นงาม. (2554). การพัฒนารูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์พกพาตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ปัญญา. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Rungruang, T.; Satiman, A. (2017). “phon kan rian i loen ning baep kae panha choeng sangsan ruam kap kitchakam khrong ngan phuea songsoem khwamsamat nai kan kae panha khong naksueksa radap parinyatri [Effects Of E-Learning By Creative Problem-Solving Learning Approach And Project Based Learning Activities To Enhance Problem Solving Abilities Of Undergraduate Students]” Veridian E-Journal, Silpakorn University 11, 2 (May – August): 598-617.
ธัญชนก รุ่งเรือง อนิรุทธ์ สติมั่น. (2560). “ผลการเรียนอีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี” Veridian E-Journal, Silpakorn University 11, 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม): 598-617.
Somchit, S. (2013). kan phatthana kitchakam kan rianru doi chai krabuankan klum ruam kap aep phli khe chan bon khomphiotoe phok pha rueang theknoloyi sarasonthet lae kan suesan samrap phurian chan prathomsueksa pi thi 3 rongrian ban nam cha [The development of learning activities based on group process along with application on tablet about information and communication technology for grade 3 students Bannumcha school]. Master Thesis in Technical Education, King Mongkut’s University of Technology Thonburi.
เสาวภา สมจิตร. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับแอพพลิเคชั่นบนคอมพิวเตอร์พกพา เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านน้ำฉา วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Srifa, P. (2012). thaep let (Tablet) kap kan chatkan sueksa samrap phurian nai yuk satawat thi 21 [Tablet to Education for learner in 21st Century]. Educational Technology Department Silpakorn University.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2555). “แท็บเล็ต (Tablet) กับการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21”. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Technology for Learning and Teaching Bureau. (2012). khumue oprom patibatkan buranakan chai khomphiotoe phok pha (Tablet) phuea yok radap kanriankanson [ Handbook of integrated tablet for learning]. Bangkok: Technology for Learning and Teaching Bureau, Office of the Basic Education Commission.
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน. (2555). คู่มืออบรมปฏิบัติการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Thammetar, T. (2014). i loen ning: chak thruesadi su kan patibat [e-Learning: from theory to practice]. Bangkok: Thailand Cyber University Project The Higher Education Commission.
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice. กรุงเทพฯ: โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
Watthanakuljaroen, T. (2012). theknoloyi sarasonthet lae kan suesan kap kan phatthana sapphayakon manut nai pramuan sara chut wicha theknoloyi lae suesan kansueksa kap kan phatthana sapphayakon manut [Information Technology and Communication for Human Resource Development in Textbook of Information Technology and Communication for Human Resource Development]. Chapter 11. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. (2555). เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ใน ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (หน่วยที่ 11). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Watthanakuljaroen, T. (2014). kan phatthana chut fuek-oprom thang klai rueang theknoloyi sarasonthet lae kan suesan thi chai nai kansueksa thang klai [Development of Distance Training Packages on Information Communications and Technology used in Distance Education]. Nonthaburi: Institute for Research and Development Sukhothai Thammathirat Open University.
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. (2557). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในการศึกษาทางไกล. นนทบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภาษาอังกฤษ
Gagne, R., Briggs, L., and Wager, W. (1992). Principles of Instructional Design. New York: Holt, Rinehart, and Winston.
Kemp, Jerrold E. (1985). The Instructional Design Process. New York: Harper & Row Publishers.
Ritchie, and Hoffman. (1997). Incorporating instructional design principle with the World Wide Web. Englewood Cliffs, NJ: Educational Technology Publications.