การตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านความเป็นคนดี สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (Validate Factors and Indicators of Desirable Characteristics in Goodness Trait for Elementary and Secondary Students)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความเป็นคนดี สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ที่มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านจิตวิทยาการศึกษา การวัดและประเมินผลทางการศึกษา และการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) กำหนดโครงสร้างคำถามในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ 2) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความเป็นคนดี สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 5 องค์ประกอบ องค์ประกอบละ 3 ตัวบ่งชี้ รวม 15 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 1) รักความเป็นไทย (รักชาติศาสน์กษัตริย์ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ภูมิใจในความเป็นคนไทย) 2) ซื่อสัตย์เสียสละ (ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ อดทน) 3) มีวินัยรับผิดชอบ (ปฏิบัติตามระเบียบของสังคม รับผิดชอบ มุ่งมั่นในการทำงาน) 4) มีจิตสาธารณะ (ช่วยเหลือผู้อื่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ รักษาสมบัติส่วนรวม)และ 5) มีสติรู้เท่าทัน (มีสติ มีภูมิคุ้มกัน อยู่อย่างพอเพียง) มีความเหมาะสมเพราะครอบคลุมและสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
This research is qualitative design. The objective is to examine factors and indicators of desirable characteristics in goodness trait for elementary and secondary students through in-depth interviews with 7 experts with expertise and experience in educational psychology, measurement and assessment in education and instructional design. Research was divided into 2 steps. The first step was to create structured interview questions. The second step was to interviews 7 experts about validity of factors and indicators the result showed that the desirable characteristics in goodness trait consists of 5 factors, 15 indicators (3 indicators for each factor), factors and indicators were as follow: The factor 1 Love Thai; Love of Nation, religion and the monarchy, Grateful, and Proud to be Thai. The factor 2 Honest and sacrifice; Honest, Sacrifice, and Patient. The Factor 3 Disciplinary and responsibility; Follow the rules of society, Responsibility, and commitment to work. The Factor 4 Public mind; Help others, Participate in public events, and Preserve the public property. The Factor 5 Consciousness; Consciousness, Good immunity, and Sufficiency was well appropriate because they were inclusive and consistent with 8 desired characteristics of students of The Basic Education Core Curriculum B.E.2551.
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2560 สืบค้นจาก https://math.ipst.ac.th/wp-content/uploads/2015/PDF/
Curriculum%202551.pdf
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและพัฒนาข้าราชการพลเรือน. กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
นารีรัตน์ อินทรวิสัย. (2558). การมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนปรชานิคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8(1), 856-867
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙). (2560). เสียสละ ความเสียสละ. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 19
พฤศจิกายน พ.ศ.2560 สืบค้นจาก https://www.itti-patihan.com/เสียสละ-ความเสียสละ.html
พูลศักด์ อุดมโภชน์. (2556). การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย และแนวทางการปฏิบัติในความเป็น
ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 6(3), 431-442.
ลัดดาวัลย์ ประกอบเพ็ชร์. (2552). ผลและความคงทนของการพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอน
ปลายโดยการสอนแบบบูรณาการด้วยการเขียนบันทึกประจำวัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย ภู่โยธิน และคณะ. (2551). หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญ
ทัศน์.
วิจารณ์ พาณิชย์. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงษ์.
สรรเสริญ วงศ์ชอุ่ม. (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ
วันที่ 27 กรกฏาคม พ.ศ.2561 สืบค้นจากhttps://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand
/2017-EdPlan60-79.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2561 สืบค้นจาก https://www.sukhothai.go.th/mainredcross/7I.pdf
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
(2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
____________________. (2553). แนวทางการพัฒนา การวัด และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงาน.
อาทร จันทร์วิมล. (2558). ค่านิยม 12 ประการกับการศึกษาไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม
พ.ศ.2560 สืบค้นจากwww.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/40503-1854.pdf
ภาษาต่างประเทศ
Grcic, J. (2013). Virure Theory, Relativism and Survival. International Journal of Social Science and Humanity, 3(4), 416-419.
Kocyigit, M., & Karadag, E. (2016).Developing an ethical tendencies scale based on the theories of ethics. Turkish Journal of Business Ethics, 9(2), 297–307.
Luna, L. M. R., Tongeren, D. R. V., & Witvliet. C. V. (2017). Virtue, positive psychology, and
religion: consideration of an overarching virtue and an underpinning mechanism. Psychology of Religion and Spirituality, 9(3), 299-302.
Peterson, C., & Seligman, M.E.P. (2004). Character strengths and virtues: A classification and handbook. Wasshington, DC: American Psychological Association.
Warna-Furu, C., Saaksjarvi, M., & Santavita, N. (2010). Measuring virtues – development of a scale to measure employee virtues and their influence on health. Scandinavian Journal of Caring Sciences, 24, 38–45.