ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีในวิสาหกิจขนาดย่อม สำหรับกิจการการค้าและบริการ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ทรรศนะของผู้ทำบัญชี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจของผู้ทำบัญชีในวิสาหกิจขนาดย่อมภาคธุรกิจการค้าและบริการ ในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีที่สามารถรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยศึกษาจากการค้นคว้าทฤษฎีอ้างอิง ได้แก่ ทฤษฎีระบบสารสนเทศทางการบัญชี ทฤษฎีการยอมรับในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทฤษฎีประเมินความสำเร็จในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยใช้แบบสอบถามในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ทำบัญชีในวิสาหกิจขนาดย่อมพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่ออธิบายผลในเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และอยู่ในธุรกิจประเภทบริการ มีอายุในช่วงระหว่าง 20 ปี – 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีประสบการณ์ทำงานช่วงระหว่าง 3-5 ปี ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ในด้านคุณภาพควรรองรับการบันทึกข้อมูลที่มีรายละเอียดตามรูปแบบมาตรฐานบัญชีแต่ละประเทศสมาชิก เก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก และเห็นว่าโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีควรมีคุณสมบัติรองรับการบันทึกบัญชีได้หลากหลายสกุลเงินตามแต่ละประเทศสมาชิก โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีควรให้ข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นและสามารถนำข้อมูลมาใช้เพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจในการบริหารได้ทันที ส่วนปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ ผู้ทำบัญชีเห็นว่าผู้ผลิตควรมีทีมพัฒนาเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาในด้านซอฟต์แวร์ เมื่อต้องมีการปรับเปลี่ยนรองรับการทำงานภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ผลิตควรมีบริการด้านอบรมการใช้งานและการให้บริการด้านการวางระบบซอฟต์แวร์เพื่อรองรับกลุ่มผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสมาชิก ปัจจัยเงื่อนไขด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีผลในการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เห็นว่าผู้ผลิตควรมีบริการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาผ่านระบบออนไลน์ รองลงมาเห็นว่าโปรแกรมบัญชีควรรองรับแพลตฟอร์มของโอเอส (OS) ที่หลากหลาย และควรมีบริการด้านการบำรุงรักษาระบบและบริการตรวจเช็คทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงควรมีการให้บริการหลังการขายที่ดี จากผลวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีสมการถดถอยเชิงพหุตัวแปรอิสระทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของการบริการ และตัวแปรปัจจัยเงื่อนไขสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่าตัวแปรที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้โปรแกรมของผู้ทำบัญชีเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่มีค่าสูงสุด คือ ปัจจัยด้านเงื่อนไขการอำนวยความสะดวกในการใช้ รองลงมาคือปัจจัยด้านคุณภาพของการให้บริการ และตัวแปรในด้านคุณภาพของระบบ ตามลำดับ และพบว่าตัวแปรทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามและส่งผลในเชิงอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
utsāhakam sō̜pwǣ hǣngprathētthai [Publication from Department of Software Industry
Promotion of Thailand] Bangkok.
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย. (2554). เอกสารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
แห่งประเทศไทย : กรุงเทพมหานคร.
Institute of Small and Medium Enterprises. (2011). ēkkasān phœ̄iphrǣ kānsamrūat mūnlakhā talāt
ʻai thī sathāban wisāhakit khanāt klāng læ khanāt yō̜m. [Publication from Institute of IT
Market Survey Small and Medium Enterprises] Bangkok.
สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2554). เอกสารเผยแพร่การสำรวจมูลค่าตลาดไอที สถาบัน
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร.
Ko-anantakul T. (2012). SEI phœ̄isō̜pwǣ Thai ʻandap nưng ʻĀsīan læ ʻandap siphā khō̜ng lōk .
nittayasān. [SEI Announces Top 15 Software in ASEAN and 15th in the World] Engineering
Today Vol. 10 No. 115 July 2012. Bangkok.
ทวีศักดิ์ กออนันตกูล. (2555). SEI เผยซอฟต์แวร์ไทยอันดับ 1 อาเซียน และอันดับ 15 ของโลก. นิตยสาร
Engineering Today ปีที่ 10 ฉบับที่ 115 เดือนกรกฎาคม 2555. กรุงเทพมหานคร.
National Software Industry Promotion Agency. (2016). ēkkasān phœ̄iphrǣ kānsamrūat mūnlakhā
talāt ʻai thī sathāban wisāhakit khanāt klāng læ khanāt yō̜m [Survey of software
production And software services in Thailand in 2015]. Bangkok.
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ. (2559). เอกสารเผยแพร่การสำรวจการผลิตซอฟต์แวร์
และบริการซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2558. กรุงเทพมหานคร.
Policy Department Ministry of Foreign Affairs. (2012). kān khao sū prachākhom ʻĀsīan læ
phonkrathop tō̜ prathētthai. [ Accession to the ASEAN Community and Its Impact on
Thailand]. Department of ASEAN Affairs, Ministry of Foreign Affairs.
กลุ่มงานนโยบายกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2555). การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและ
ผลกระทบต่อประเทศไทย. กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.
Roongjarurong S. (2008). patčhai thī mī phon tō̜ kānlư̄ak chai prōkrǣm samretrūp thāngkān
banchī khō̜ng thurakit khanāt klāng læ khanāt yō̜m nai khēt Krung Thēp Mahā Nakhō̜n.
[Factors affecting the selection of business accounting software packages in a Small and
Medium Enterprises in Bangkok] Sripatum University: Bangkok.
สุวรรณี รุ่งจตุรงค์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจขนาด
กลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยศรีปทุม: กรุงเทพมหานคร.
The Ministry of Industrial. (2002). kot krasūng ʻutsāhakam rư̄ang kamnot čhamnūan kān čhāng
ngān læ mūnlakhā sinsap thāwō̜n khō̜ng wisāhakit khanāt klāng læ khanāt yō̜m Phō̜.Sō̜.
2543. [Law of The Ministry of Industrial in a topic hiring and value of fixed asset in a Small
and Medium Enterprise, 2543] Bangkok.
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2545). กฎกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่า
สินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543. กรุงเทพมหานคร.
Boockholdt, J. L. (1999). Accounting Information Systems. 5th Irwin/McGraw-Hill.
Chan S. L., (2000). Information technology in business processes", Business Process
Management Journal, Vol. 6 Issue: 3, pp.224-237.
Delone, W.H. and Mclean, E.R. (1992). Information Systems Success: The Quest for the
Dependent Variable. Information Systems Research, 3, 60-95.
DeLone, W.H. and McLean, E.R. (2002). Information systems success revisited. Proceedings of the
35th Hawaii International Conference on System Sciences, BigIsland, Hawaii, pp 238-249.
DeLone, W.H. and McLean, E.R. (2003). The DeLone and McLean model of information
systems success: A ten-year update. Journal of Management Information
Systems, Vol.19 No.4 , pp. 9-30.
Gable, G. (1996). A Multidimensional Model of Client Success When Engaging External
Consultants. Management Science (42:8), pp. 1175-1198.
Julia Smith. (1999). Information technology in the small business: establishing the basis
for a Management information system. Journal of Small Business&Enterprise
Development, Vol.6 : Issue:4.
Matlin G. (1979). What is the value of investment in information system. MIS Quarterly
3(3), pp.5-34.
Rai, A., Lang, S.S., Welker, R.B., 2002. Assessing the validity of is success models: an
empirical test and theoretical analysis. Information System Research13, pp.50–69.
Roger. E.M. (1962). Diffusion of Innovation. The free press. New York.
Sabherwal, R., Jeyaraj, A., Chowa, C. (2006). Information system success: individual and
Organizational determinants. Management Science. 52 (12),1849–1864.
Seddon P. and Kiew Min-Yen (1996). A Partial Test and Development of Delone and
Mclean's Model of IS Success. Australasian Journal of Information Systems ;
Vol 4, No.1.
Venkatesh, V.; Morris, M.G.; Davis, F. D. (2003). User Acceptance of Information Technology:
Toward a Unified view. MIS Quarterly, 27(3): pp.425–478.
Yamane. T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.