การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการดำรงชีวิตในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาชีพครูสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (Developing Instructional Model Focusing on Life Skill in Occupations and Technology Subject for Home Economics Teacher student)

Main Article Content

นทัต อัศภาภรณ์ (Natad Assapaporn)

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการดำรงชีวิตในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาชีพครูสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ครูพี่เลี้ยง จำนวน 12 คน นักศึกษาปฏิบัติงานวิชาชีพครูสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ที่สอนสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว จำนวน 12 คน  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1– 6 จำนวน 157 คน ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามครูพี่เลี้ยงของนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาชีพครูสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการดำรงชีวิต และ3)แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการดำรงชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการดำรงชีวิต ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้ทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่  รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการทำงาน  รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการจัดการ  รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา  รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการทำงานร่วมกัน และรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการแสวงหาความรู้  2) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่า เนื้อหาที่เรียนมีความน่าสนใจในระดับมาก ผู้สอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด  สื่อการสอนดึงดูดความสนใจอยู่ในระดับมาก และผู้สอนมีเทคนิคการสอนให้เข้าใจง่าย มีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด


 


                  The objectives of this research were to develop instructional model which focused on life skills in Occupation and technology subjects for Home Economics teacher students and to study the results of using the model with students and teachers collaboration in developing instructional model focusing on life skills in occupation and technology (Home Economics Learning area) The population consisted of 12 mentor teachers , 12 Home Academic teacher students , 157 seven to twelve graders. The researcher tools were questionnaire for mentors, Study plan, instructional model focusing on life skills and on opinionnaire of students toward the model used. The data were analyzed by using frequency, percentage, means and standard deviation. The data were presented in tables with description and content analysis were used in descending priority order. The research finding were as followed


  1. There were 5 models of instruction 1) a model focusing on working skills 2) a model focusing on managing skills 3) a model focusing on problem-solving skills 4) a model focusing on working together skills and 5) a model focusing on knowledge seeking skill.

  2. The result of using to model :

               The learners satisfaction on the model used were most students agree with 1)interesting contents at high level 2) learning activities focused on learners participation at highest level 3) teaching and learning materials were interesting at high level and 4) teaching techniques used were at highest level.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน. กรุงเทพฯ :คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ. (2543). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การศาสนา. กรมสามัญศึกษา.
ไพรัตน์ แสนโสม. (2556). ทักษะกระบวนการทำงาน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttps://www.tta.in.th/uploadfile/69/OC-7-527-250-69.ppt. (สืบค้น 17 มกราคม 2558).
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544). การยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: หจก. เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
สมจิต สวธนไพบูลย์. (2541). เอกสารประกอบการสอนวิชา กว.571 ประชุมปฏิบัติการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศรีนคริตทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). รายงานความก้าวหน้าการปฏิรูปการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เอกสารประกอบการประชุม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ : สกศ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม.(2559). “เทคโนโลยีเพื่อการประเมินการเรียนรู้ภาษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21”.
Veridian E-Journal, Silpakorn University 9,3 ( กันยายน – ธันวาคม ) : 421-435.
Michel B. Eisenberg & Robert E. Berkowitz. (1987). “Big6TM: and Big6 SkillsTM”. [Online]. Retrieved June 5, 2014, form https://www.big6.org/
Talbot, P. , Astbury, G. & Mason, T. (2010). Key Concepts in Learning Disabilities. Chennai, India :SAGE Publications Ltd.
World Health Organisation. (1997). Life Skills Education for Children and Adolescents in Schools: Introduction and Guidelines to Facilitate the Development and Implementation of Life Skills. Geneva: Division of Mental Health, World Health Organisation