พระอัจฉริยภาพทางดนตรีในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร: กรณีศึกษา การบันทึกเสียงการขับร้องประสานเสียง บทเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีคำร้องจำนวน 41 บทเพลง (The Musical genius of His Majesty the King Bhumibol Adulyadej : A Case Study of the Recording of 41 Royal Compositions with Lyrics for Choir)

Main Article Content

มนสิการ เหล่าวานิช (Monsikarn Laovanich)
วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช (Vitchatalum Laovanich)

Abstract

              งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานการบันทึกเสียงการขับร้องประสานเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่มีคำร้อง 41 บทเพลง 2.ศึกษาวิธีการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธ์สำหรับการขับร้องประสานเสียง 3.ศึกษาวิธีการฝึกซ้อมขับร้องประสานเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์เพื่อการบันทึกเสียง


               การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ  เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงานการขับร้องประสานเสียง วิธีการเรียบเรียงเสียงประสาน และวิธีการฝึกซ้อมขับร้องประสานเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์เพื่อการบันทึกเสียง


               ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานการขับร้องประสานเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีคำร้อง 41 บทเพลง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนการเผยแพร่ นำเสนอเป็น 4 ขั้นตอน คือ ด้านการเรียบเรียง  เสียงประสาน ด้านการฝึกซ้อม ด้านการบันทึกเสียง และด้านการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญเพลง    พระราชนิพนธ์มาบันทึกเสียงเพื่อเผยแพร่ 2. วิธีการเรียบเรียงเสียงประสาน ต้องยึดข้อกำหนดของทางสำนักพระราชวังเป็นพื้นฐาน เลือกรูปแบบ (style) ที่จะเรียบเรียง วางโครงสร้างของเพลง พิจารณาเลือกใช้เปียโนบรรเลงประกอบ ทำแนวประสาน สร้างสีสัน สร้างความน่าสนใจ และพิจารณาการสร้างท่อนนำ ท่อนบทบรรเลงคั่น ท่อนจบของเพลง 3.วิธีการฝึกซ้อมขับร้องประสานเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์เพื่อการบันทึกเสียง ประกอบด้วย วิธีการเริ่มต้นฝึกหัดเพลงอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการวางแผนการฝึกซ้อม เทคนิควิธีการขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ วิธีการร้องคำร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ให้ถูกต้องทั้งเทคนิคและความหมาย และวิธีการร้องเพื่อรักษาความสมดุลของเสียง (Balance) ระหว่างแนวทำนองกับแนวประสาน


 


               This research examines: 1) the production process of a recording of His Majesty the King Bhumibol Adulyadej compositions with lyrics for a choir, 2) the choral arrangement methods, and 3) the practice method. This study applies a mixed methodology, combining quantitative and qualitative researches into the production process of the recording, the musical arrangement, and the practice method of the choir of the royal compositions.


               The research results were: 1) The production process consisted of four stages including musical arrangement, practice, recording, and requesting a permission from the Bureau of the Royal Household to make a recording. 2) To create the choral arrangements, arrangers had to comply with the musical arranging guidance of the Bureau of the Royal Household, and made decisions on various aspects of the musical arrangement such as the layout of the musical structure, the use of accompaniment, the harmony structure, enriching the arrangement, and the addition of the introduction, interlude, and outro. 3) The practice method includes effective way to start a practice, planning and organization of practicing, techniques used in the singing of the royal compositions, lyrics and interpretation, melody and accompaniment balancing method.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ