มหาวิทยาลัยเมืองนิเวศที่มีความยั่งยืนในมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม (Sustainable Eco University in Social, Economic and Environmental Dimensions)

Main Article Content

พรธิดา เทพประสิทธิ์ (Bhorntida Thepprasit)
ธีระวัฒน์ จันทึก (Thirawat Chuntuk)

Abstract

บทคัดย่อ


            เมืองเชิงนิเวศ เป็นแนวคิดการพัฒนาเมืองสู่ความยั่งยืนภายใต้หลักการสร้างดุลยภาพ ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมของการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ การลดความเหลื่อมล้ำ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากแนวทางการพัฒนาเมืองที่ได้กล่าวในข้างต้น พบว่า จากที่ส่วนใหญ่มีการดำเนินงานเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมได้มีการขยายตัวมาสู่ภาคการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย โดยได้นำแนวคิดปรัชญาเมืองสีเขียวมาพัฒนาจนกลายเป็นนโยบาย มหาวิทยาลัยเมืองนิเวศ (Eco University)  โดยการพัฒนามหาวิทยาลัยเมืองนิเวศนั้นเป็นแนวคิดที่เป็นผลมาจากปัญหาสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในเขตเมืองหรือชุมชน หลายมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้เริ่มนำแนวคิดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมมาเป็นนโยบาย ยุทธศาสตร์ หรือแนวทางในการพัฒนาและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย โดยเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมที่สะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยเมืองนิเวศ ที่มีความยั่งยืนในมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่สามารถสรุปประเด็นการพัฒนาออกเป็น 3 แนวทางตามมิติการดำเนินงาน โดยพบว่า มิติทางสังคมจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงานคือ การมีเป้าหมายร่วมกัน การจัดตั้งโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่นำแนวคิดจากเมืองนิเวศ (Eco City) มาประยุกต์ใช้ การเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่สัมผัสได้และก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และก่อเกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน สำหรับมิติเศรษฐกิจมีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่หลากหลาย ควบคุมอัตราการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ และควบคุมอัตราการปล่อยของเสียที่เกิดขึ้นกิจกรรมต่างๆ อันส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง และสุดท้ายมิติสิ่งแวดล้อมพบว่า เป็นมิติที่มีความสำคัญ มีการเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ สถานที่ตั้งระบบสาธารณูปโภค การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การจัดการขยะ การใช้น้ำ การจัดการระบบขนส่ง โดยสร้างพื้นที่ในมหาวิทยาลัยให้เป็นสีเขียว ทำให้น่าอยู่ร่มรื่นเป็นห้องเรียนธรรมชาติ ตลอดจนเป็นต้นแบบในด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


 


คำสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, มหาวิทยาลัยเมืองนิเวศ, เมืองนิเวศ, การพัฒนาแบบยั่งยืน


 


 


Abstract


            Eco City is a concept of sustainable urban development, based on the principle of balancing the concrete outcome of ecological optimization, reduction of disparity, and better quality of life. From the urban development approach mentioned above, there has been an expansion of the industry-specific operations to the university level. Green City Philosophy was developed into a policy of Eco University. The development of an eco-university is a concept that is the result of current environmental problems, particularly urban or community-based universities. Many universities in Thailand have adopted energy conservation and environmental concepts as a policy, strategy or approach to develop and operate universities. Their emphasis on the environment reflects the coexistence of life and the environment. Models for sustainable Eco University in social, economic and environmental dimensions have been developed. We can summarize the development issues into 3 dimensions according to the operational dimension. Firstly, in the social dimension, the important starting point for the operation is to have a common goal. There are projects and activities that apply Eco City concept. People learn to conserve energy and the environment in a concrete way. This creates sustainable learning and involvement of the community. Secondly, in economic dimension, various economic systems have been developed; Consumption of natural resources is regulated; and the rate of waste generated from various activities is controlled. This resulted in lower operating expenses. Finally, in environmental dimension, an important dimension, it is found that the operations ranging from location of utility system, energy management, climate change management, waste management, water use management, transport management. The campus has been developed as a green area to provide a natural environment, as well as a model for sustainable energy and environmental conservation.


 


Keywords: Climate Change, Eco University, Eco City, Sustainable Development


 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts
Author Biography

พรธิดา เทพประสิทธิ์ (Bhorntida Thepprasit), คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

นิสิตปริญญาโท มศว