การประเมินความต้องการจำเป็นของการศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา (นานาชาติ) (Needs Assessment of Study in Doctor of Education Program in Educational Management (International Program))

Main Article Content

โสวริทธิ์ธร จันทร์แสงศรี (Sovaritthon Chansaengsee)
ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์ (Panchit Longpradit)
พสชนันท์ นิรมิตรไชยนนท์ (Poschanan Niramitchainont)
อริศรา เล็กสรรเสริญ (Arisara Leksansern)

Abstract

             การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมุ่งวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นต่อการศึกษาต่อในหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา (นานาชาติ) ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะก่อนการประเมิน ได้แก่ (1) การศึกษา ค้นคว้า รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับการประเมินความต้องการจำเป็น และทบทวนหลักสูตร (2) การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับการวิจัยนี้ ได้แก่ ศิษย์เก่า และผู้ประกอบการ (ต้นสังกัด) (3) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (4) การตรวจสอบและพัฒนาคุณภาพของแบบสอบถาม และ (5) การนำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง และระยะที่ 2 ระยะการประเมิน ได้แก่ (1) การนำแบบสอบถามที่ได้ไปเก็บรวบรวมข้อมูล และ (2) การวิเคราะห์ ประมวล และสรุปผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา (นานาชาติ) ทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ รวมทั้งผู้ใช้บัณฑิต (หน่วยงานต้นสังกัด) จำนวน 34 คน ด้วยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการวิจัย พบว่า 1)  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (62.86%)  มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 39.77 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับมหาบัณฑิตทางด้านการจัดการศึกษา/การบริหารการศึกษา (97.14%) ในภาคปกติ (58.82%) มีอาชีพรับราชการ (67.65%)  มีประสบการณ์การทำงาน และอยู่ในวงการธุรกิจการศึกษา (55.88%)  2) ผลการวิเคราะห์ความต้องการในการศึกษาต่อในหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)  พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการศึกษาต่อ (51.61%) สนใจศึกษาหรือทำวิทยานิพนธ์ทางด้านการบริหารองค์การ การจัดการศึกษาทางเลือก และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และต้องการนำความรู้ด้านการจัดการการศึกษา การประกันคุณภาพ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปใช้ในการทำงาน สะดวกในการจัดการเรียนการในวันและเวลาราชการ (86.67%) และส่วนใหญ่สามารถลามาศึกษาต่อ (84.21%)  3) ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อการจัดการหลักสูตร พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการจัดการหลักสูตร โดยรวมทุกประเด็นอยู่ในระดับมาก ( x =4.14, S.D.=1.06)  โดยประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นสูงที่สุดเป็น 3 ลำดับแรก ได้แก่ การให้นักศึกษาศึกษาดูงาน/การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการตามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันทางการศึกษาในต่างประเทศ (x =4.45, S.D.=0.99) และ 4) ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อรายวิชาที่พึงมีในหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นโดยรวมในระดับมาก ( x=4.01, S.D.=1.05) โดยรายวิชาที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในระดับสูงที่สุด ได้แก่ รายวิชากลยุทธ์การวางแผน และการประกันคุณภาพการจัดการศึกษา ( x =4.19, S.D.=0.87)


             


This study is a survey research aiming to analyse the need of enrolling Doctor of Education Program in Educational Management (International Program). There were 2 phases of the study, which were the phase of pre-assessment and the assessment phase. For the former phase of assessment, it was to 1) study and accumulate document and data necessary for needs assessment and review the curriculum, 2) identify all stakeholders who were alumni and their affiliations, 3) establish research tools, 4) examine and develop the research tools, and 5) tryout the research questionnaires. For the second phase, the researchers were to 1) collect the data, 2) analyse, process, and make a research summary. The samples were 34 graduates who have graduated from Master of Education Program in Educational Management (International Program) both in Thailand and any other country and their affiliations. This research employed purposive selection as the way to select the samples. Descriptive statistics and content analysis were used to analyse the collected data.


               The research findings revealed that 1) most respondents were male (62.86%) and the average age was 39.77. In addition, 97.14% of them had graduated in Master of Education Program in Educational Management. 67.65% of the respondents had worked for government, whereas 55.88% had been working in educational field. 2) The result of needs assessment of study in Doctor of Education Program in Educational Management (International Program) indicated that most respondents intended to study in this program (51.61%). They were interested in conducting a research on organisation management, alternative education, and transformational leadership. Also, they needed the knowledge of educational management, quality assurance, and human resource management to be applied into their work fields. Moreover, most of them intended to study on weekdays (86.67%) and 84.21% of the respondents could obtain an allowance from their organisations to study in this program. 3) The analysis of program management indicated that all aspects of the management were in high level ( x=4.14, S.D.=1.06). The most significant opinion expressed were exchanging academic experiences cooperated with the university or foreign educational institutions ( x=4.45, S.D.=0.99). 4) The result of opinions towards subjects in the program expressed that the respondents were satisfied with all proposed subjects. The most popular subjects they revealed were Strategic Planning and Quality Assurance in Educational Management (x =4.19, S.D.=0.87).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ