การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อพัฒนาความสามารถในการรู้สารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Learning Management Through Inquiry Method to Develop Information Literacy of Prathomsuksa 6 Students)

Main Article Content

พรพรรณ บุญนำ (Phonphan Boonnum)
รสริน เจิมไธสง (Rossarin Jermtaisong)

Abstract

                       การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการรู้สารสนเทศ  วิชาคอมพิวเตอร์  (สาระที่ 3  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปกติ  2)  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการรู้สารสนเทศ  วิชาคอมพิวเตอร์  (สาระที่ 3  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบสืบสอบ  3)  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการรู้สารสนเทศหลังเรียน  วิชาคอมพิวเตอร์  (สาระที่ 3  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสอบกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนสังข์อ่ำวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560  โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling)  ได้จำนวน  60  คน  ระยะเวลาดำเนินงานวิจัยใช้ระยะเวลาภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2560  แบบแผนการทดลองแบบ The randomized pretest - posttest control group design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1)  แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  (สาระที่ 3  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน  7  แผน       รวม    7 ชั่วโมง  2)  แบบทดสอบวัดความสามารถในการรู้สารสนเทศ เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  (สาระที่ 3  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) เป็นแบบทดสอบปรนัย  4  ตัวเลือก  จำนวน 30 ข้อ  3)  แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ  เรื่อง  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศ  (สาระที่ 3  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) จำนวน  7  แผน  รวม 7 ชั่วโมง    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t -test (Dependent Samples) และ t -test (Independent Samples)


                      ผลการวิจัยพบว่า  1) ความสามารถในการรู้สารสนเทศ วิชาคอมพิวเตอร์  (สาระที่  3  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปกติ  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  2)  ความสามารถในการรู้สารสนเทศ วิชาคอมพิวเตอร์  (สาระที่  3  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้รูปแบบสืบสอบ  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05    3) ความสามารถในการรู้สารสนเทศ วิชาคอมพิวเตอร์  (สาระที่  3  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้รูปแบบสืบสอบ  สูงกว่าการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


 


               The major objectives of the research on learning management through inquiry
method  to develop information literacy of prathomsuksa 6 students were to 1) compare the
ability of information literacy in computer subject (topic 3: information technology and
communication) of prathomsuksa 6 students both before and after learning management
through traditional learning activities, 2) compare the ability of information literacy in computer
subject (topic 3: information technology and communication) of prathomsuksa 6 students both
before and after learning management through inquiry method, 3) compare the ability of
information literacy in computer subject (topic 3: Information information technology and
communication)  of prathomsuksa 6 students both before and after learning management
through inquiry method and traditional learning activities.


               Research samples were 60 prathomsuksa 6 students of Sung-Um Wittaya School,
Pathumtani Primary Educational Service Area Office 1, studying in the 2nd semester of the
academic year 2560 selected by cluster sampling. research period was in the 2nd semester of
the academic year 2560. the experimental design of the randomized pretest - posttest control
group design. research instruments consisted of 1) 7 lesson plans with inquiry method on
information technology (topic 3: information technology and communication) for 7 hours, 2) a
30 items with 4 multiple choice achievement test on information literacy (topic 3: information
technology and communication), and 3) lesson plans with traditional method on information
technology (topic 3: information technology and communication) for 7 hours. Mean, Standard
Deviation, t -test (Dependent Samples) and t -test (Independent Samples) were used for data
analysis.


               It was found out that 1) information literacy in computer subject (topic 3: information
technology and communication) of prathomsuksa 6 students studied through tradition
method, the students’ post test showed higher score than the pre test with statistically
significant difference at the level of .05, 2) information literacy in computer subject (topic 3:
information technology and communication) of prathomsuksa 6 students studied through
inquiry method, the students’ post test showed higher score than the pre test with statistically
significant difference at the level of .05, 3) information literacy in computer subject (topic 3:
information technology and communication) of prathomsuksa 6 students studied through
tradition method, the students’ post test showed higher score than the post test of those with
traditional method with statistically significant difference at the level of .05.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

1.กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา
2.กรองแก้ว กิ่งสวัสดิ์. (2556). การบูรณาการการสอนการรู้สารสนเทศระดับประถมศึกษา โดยใช้
สภาพแวดล้อมทางการเรียนเสมือนจริง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
3.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2559.จาก https://www.thailibrary.in.th/2014/02/22/ict-2020/
4.กัลยา ภูทัตโต. (2558). ผลของการใช้การเรียนรู้สืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการที่มีต่อมโนทัศน์
ทางเคมีและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
5.กานต์ธิดา แก้มกาม. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R กับวิธีสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
6.ชัชนิ พรพิพัฒน์. (2556). ผลของการอภิปรายแบบสืบสวนร่วมกันที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีต่อ
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
7.ญาดา ศรีอรุณ. (2557). การศึกษาบทบาทครูสังคมศึกษาที่มีต่อการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศของ
นักเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
8.ณัฐมน สุชัยรัตน์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้
แบบจำลองเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
9.ธัณย์นิชา เวียนภีระภัทร์. (2559). การวิเคราะห์เชิงจำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อการรู้สารสนเทศ
และแนวทางการพัฒนาการรู้สารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
10.ปฏิมาภรณ์ ธรรมเดชะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดพื้นที่เสรีสำหรับการ
สานเสวนาและการสืบสอบเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ด้านความเป็นพลเมืองและความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
11.ปรเมษฐ์ มรุธานินทร์. (2555). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ
ร่วมมือ เปรียบเทียบกับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
12.ภคพร อิสระ. (2557). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการโต้แย้งร่วมกับ
เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีและความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
13.มยุรา เมืองฮาม. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของ
นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีการสืบสอบร่วมกับเทคนิคการคิดแบบ
หมวกหกใบ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
14.มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์การจัดทำยุทธศาสตร์การ
ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2559. จาก https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2014/03/Final-Paper.pdf
15.สรคม ดิสสะมาน. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบสืบสอบเสมือนเพื่อ
เสริมสร้างความสามารถด้านการอ่าน เชิงวิชาการของนิสิตปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
16.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่ม
สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
17.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2559
18.สุมาลี เชื้อชัย, (2560). การเปรียบเทียบการสอนแบบสืบสอบ (5E) กับการสอนโดยใช้สถานการณ์
จำลองที่มีต่อความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
19.สุรีรัตน์ พะจุไทย. (2558). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสอบ 7E
ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)
20.อทิติย์ ชูตระกูลวงศ์. (2556). ผลของการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยใช้คำถาม ตามการจำแนก
ประเภทวัตถุประสงค์ทางการศึกษาของบลูมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
21.อัจฉรา ปานรอด. (2555). ผลของการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยใช้การเชื่อมโยงแผนผังมโนทัศน์
ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
22.อำพล ขวัญพัก. (2557). ผลของการใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้สืบสอบ 5 ขั้นตอนร่วมกับการใช้เพลง
ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และบรรยากาศการเรียนรู้เชิงบวก ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).