ภาพลักษณ์และการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยท่ามกลางพหุวัฒนธรรม ในรัฐปีนัง ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย (The communication of image and Thai identity in multi-cultural society of Penang, Malaysia)
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์คนไทยในพหุวัฒนธรรมในรัฐปีนัง ประเทศ
สหพันธรัฐมาเลเซีย (2) เพื่อศึกษารูปแบบและเนื้อหาการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทย และ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบและเนื้อหาการสร้างภาพลักษณ์และการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทย คณะผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลคนไทยในเกาะปีนัง จำนวน 30 คน โดยเป็นคนไทยที่มีสัญชาติไทย เชื้อชาติไทย และสัญชาติมาเลเซีย เชื้อชาติไทยที่พำนักอาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะปีนัง ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป สำหรับการสุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์กลุ่มคนมาเลเซีย จะแบ่งสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควต้า เป็น 3 กลุ่ม คือ คนมาเลเซีย เชื้อชาติมาเลย์ เชื้อชาติจีน คนมาเลเซีย เชื้อชาติอินเดีย กลุ่มละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน เป็นตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 20 – 70 ปี
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัย ได้ผลดังนี้ (1) ภาพลักษณ์คนไทยในพหุวัฒนธรรมในรัฐปีนัง คนไทยมองว่ามีทั้งแง่บวก ในด้านการนับถือศาสนา การใช้ภาษาไทย การสื่อสารด้วยรอยยิ้ม การกราบ และการไหว้ และแง่ลบ ได้แก่ คนไทยในรัฐปีนังมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ แข่งขันกัน การเข้าไปทำงานที่ไม่เหมาะสม ข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยผ่านสื่อที่เต็มไปด้วยความรุนแรง สำหรับคนมาเลเซียทั้ง 3 เชื้อชาติ ให้ความเห็นว่า คนไทยเป็นคนนิสัยดี มีมนุษยสัมพันธ์ สู้งาน เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ร่วมกิจกรรมของรัฐปีนังที่จัดขึ้นเสมอ รวมถึงได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนภาษาไทยจากเพื่อนคนไทยด้วย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังโดดเด่นเรื่องการท่องเที่ยว ทำให้คนมาเลเซียนิยมไปเที่ยว และภาพลักษณ์ในแง่ลบ มาจากการรับรู้ข่าวสารจากเมืองไทย ส่วนใหญ่รับรู้ในประเด็นการเมืองที่มีความรุนแรง และข่าวก่อการร้ายเสียเป็นส่วนใหญ่ (2) รูปแบบและเนื้อหาการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทย ที่พบมาก คือ สื่อกิจกรรม ในที่นี้ คือ กิจกรรมทางศาสนาที่ทั้งคนไทย คนมาเลเซีย โดยเฉพาะคนมาเลเซียเชื้อชาติจีน ได้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย เนื่องจากนับถือศาสนาเหมือนกัน และสื่อบุคคล โดยเฉพาะคนไทยเองที่จะช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษาไทยและอาหารไทย นอกจากนี้ ก็จะพบการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านสื่อกิจกรรมในสถาบันการศึกษา การจัดกิจกรรมของสถานกงสุลไทยฯ สื่อออนไลน์ สื่อบุคคล สื่อป้าย บอร์ดประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ สินค้าที่เกี่ยวกับประเทศไทย เป็นต้น (3) รูปแบบและเนื้อหาการสร้างภาพลักษณ์และการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทย คนไทยในรัฐปีนังควรเน้นรูปแบบสื่อกิจกรรม (กิจกรรมทางศาสนา) และสื่อบุคคล (คนไทยเผยแพร่ภาษาไทยและอาหารไทย) นอกจากนี้ ควรมีสื่ออื่น ๆ สนับสนุน ได้แก่ สื่อออนไลน์ สื่อป้าย บอร์ด เพื่อการประชาสัมพันธ์ข่าวสารตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ เช่น วัดไทย สถานกงสุลไทย สถาบันการศึกษา เป็นต้น ด้านเนื้อหา ควรแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ได้แก่ รอยยิ้ม การกราบ การไหว้ การเทิดทูนพระมหากษัตริย์ การใช้ภาษาไทย การสื่อถึงนิสัยใจคอของคนไทยที่เป็นคนสุภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ สู้งาน ด้านศาสนาควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา และประเพณีต่าง ๆ ของไทย ซึ่งทุกชนชาติสามารถเข้าร่วมได้ที่วัดไทย การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเป็นอีกประเด็นที่คนไทยในรัฐปีนัง รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญ เพราะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียนิยมท่องเที่ยวในประเทศไทย และคนไทยในรัฐปีนังควรเป็นกระบอกเสียงเผยแพร่ข่าวสารที่ดีของประเทศไทยให้คนมาเลเซียและชนชาติอื่น ๆ เข้าใจสถานการณ์ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดที่คลาดเคลื่อนได้
This research aims at (1) studying Thai people’ s image in multi-cultures in Penang, Malaysia, (2) studying pattern and content for communicating Thai identity and (3) proposing pattern and content for image building and communicating Thai identity which promote Thai culture and tradition. The researchers used purposive sampling; 30 Thai people in Penang Island which are both Thai nationality - Thai race and Malaysian nationality - Thai race (Orang Siam) who have stayed in Penang Island for five years or more. For the Malaysian respondents, the researchers specified a quota for three groups; Malay, Chinese and Indian race. A group was made up often people; giving a total of 30 participants. The sample group is between the ages of 20 to 70 years old.
The result according to the research objectives shows that the (1) Thai image in multi-cultures in Penang, regarding Thai people are expressed both positively and negatively. Among the positive feedback are that Thai people are respectful to religion, using Thai language, smiling, worshiping while the negative image are that Thai people live separately and compete with each other, work improperly, receives news from and about Thailand with violence. For the three Malaysian races, they think Thai people have good habit, establish good relationships, hard workers, worship the monarchy, participate with organized activities of Penang and learn and exchange Thai language with Thai friends. In addition, tourism of Thailand is outstanding; it inspires Malaysian people to travel. For negative image, it comes from news receiving from Thailand which is most violent politics and terrorism. (2) Most pattern and content to communicating Thai identity is activity media (religious activity) which Malaysian-Chinese can participate in because both Thai and Malaysian-Chinese respect same religion and personal media can do public relations about art, culture and Thai style; especially, Thai language and food. Furthermore, there is Thai identity communication through activity media at educational institute, Thai consulate, online media, personal media, banners, public relations boards, Thai products, etc. (3) pattern and content to build image and Thai identity communication which promote Thai culture and tradition, Thai people in Penang should focus on activity media (religious activity) and personal media to do public relations about Thai language and food. Moreover, there should be other medias which are online media, banners and boards for doing public relations in important places such as Thai temples, Thai consulate, educational institute, etc. In case of content, it should express excellent culture; smiling, worshiping, worshiping the monarchy, using Thai language, presenting Thai habit which is polite, has good relationship and work hard. For religion issue, there should be doing public relations about Thai important days in religion and tradition which every race can participate at Thai temple. To do public relations about Thai tourism is an issue which both Thai people in Penang and relating sectors should give importance because there are Malaysian tourists like traveling in Thailand. Finally, Thai people in Penang should be mediator disseminating good news from Thailand for other races to understand situations; politics, economics and society and protect misunderstanding from other people.
Article Details
References
เกศินี บัวดิศ. (2554). “ภาพลักษณ์กับทิศทางเพื่อการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย”. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 11,12.
Chailuangurai, K. (2013). ʻēkkasān thāng wichākān rư̄ang khwāmkhatyǣng nai sangkhom phahu watthanatham [Conflict in multi-cultural society academic document]. Retrieve January 15, 2017 from https://61.19.238.229/dsdw2011/doc.php?doc_ref=106
เกษรา ชัยเหลืองอุไร. (2556). เอกสารทางวิชาการ เรื่อง ความขัดแย้งในสังคมพหุวัฒนธรรม. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560 จาก https://61.19.238.229/dsdw2011/doc.php?doc_ref=106
Euamornvanich, P. (n.d.). kānsư̄sān rawāng watthanatham [Intercultural communication]. Retrieve January 15, 2017 from gs.rmu.ac.th/rmuj/myfile/intercultural%20
communication.doc
พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (ม.ป.ป.). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560 จาก gs.rmu.ac.th/rmuj/myfile/intercultural%20communication.doc
Kaewthep, K. (2014). sāt hǣng sư̄ læ watthanatham sưksā. [Science of Media and Culture Study] (3rd ed.). Bangkok: Parbpim.
กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ: ภาพพิมพ์.
Kuwinpant, P. (2008). ʻattalak læ khwāmlāklāi thāng watthanatham khō̜ng ʻĒchīa tawanʻō̜k chīang tai [The identity and diversity of Southeast Asia]. Southeast Current, 5, 15: 24.
ปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2551). อัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กระแสอาคเนย์, 5(55): 24.
Senakham, T. (2016). Thai tāngdāo thāo tāng dǣn : sangkhomwitthayā khō̜ng chīwit khām phromdǣn [Thai Thangdao Thao Thangdan:Sociology of life across borders]. Bangkok: Chulalongkorn University.
ฐิรวุฒิ เสนาคำ. (2559). ไทยต่างด้าวท้าวต่างแดน: สังคมวิทยาของชีวิตข้ามพรมแดน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Sophana, S. (2014). wēthī sēwanā ʻĀsīan hūakhō̜ sāt læ sin khō̜ng kān yū rūam kan [ASEAN Forum “Science and art in living together”]. Thai Health Promotion Foundation and Institute of Languages and Cultures of Asia, Mahidol University. Retrieved on January 22, 2017 from https://www.thaihealth.or.th/
Content/25574เรียนรู้%20อยู่ร่วม%20บนความต่างของวัฒนธรรม%20%20%20
%20%20%20%20%20.html
โสภนา ศรีจำปา. (2557). เวทีเสวนาอาเซียนหัวข้อ “ศาสตร์และศิลป์ของการอยู่ร่วมกัน”. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2560 จาก https://www.thaihealth.or.th/
Content/25574เรียนรู้%20อยู่ร่วม%20บนความต่างของวัฒนธรรม%20%20%20
%20%20%20%20%20.html
Tharasak, S. (Silpakorn Division). (2017). Thai pīnang khwāmsamphan nai bō̜ribot thāng prawattisāt : čhāk nānā mā lē rat sū Mālēsīa læ singkhapō nai patčhuban [Thai Penang relation in historic context: From Malay states to Malaysia and Singapore in present]. Bangkok: Silpakorn Division.
ศุกลรัตน์ ธาราศักดิ์ (กรมศิลปากร). (2558). ไทย ปีนัง ความสัมพันธ์ในบริบททางประวัติศาสตร์: จากนานามาเลรัฐ สู่มาเลเซียและสิงคโปร์ในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
Wilainuch, P. (2014). kānbō̜rihān kānsư̄sān khō̜ng ʻongkān kānsư̄sān kap klum phū mī sūandai sūansīa [Organizational Communication Management, communication with stakeholder groups]. Bangkok: Active Print.
ไพโรจน์ วิไลนุช. (2557). การบริหารการสื่อสารขององค์การ การสื่อสารกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
Wiwatthananukul (Krittawit), M. (2017). kānsư̄sān rawāng watthanatham [Intercultural communication]. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.
เมตตา วิวัฒนานุกูล (กฤตวิทย์). (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.