การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแนวคิดการถ่ายโยงความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครูภาษาไทย (A Development Of The Local Wisdom Knowledge Management Model With The Knowledge Transformation To Promote The Knowledge Management Ability And Critical Thinking For The Thai Language’s Teacher Students)

Main Article Content

ปริญญา ปั้นสุวรรณ์ (Parinya Pansuwan)
บำรุง ชำนาญเรือ (Bamroong Chamnanrua)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ  1) พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแนวคิดการถ่ายโยงความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครูภาษาไทย 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแนวคิดการถ่ายโยงความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครูภาษาไทย 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาครูภาษาไทยและครูพี่เลี้ยงที่มีต่อรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแนวคิดการถ่ายโยงความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครูภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักศึกษาครูภาษาไทย ชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการจัดการความรู้ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบประเมินความสามารถในการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการสอนภาษาไทย แบบประเมินความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาครูภาษาไทยและครูพี่เลี้ยงที่มีต่อรูปแบบการจัดการความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)               การวิเคราะห์ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t –test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


               ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแนวคิดการถ่ายโยงความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครูภาษาไทย ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า TSCACEA Model มีองค์ประกอบของรูปแบบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบการจัดการความรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการความรู้ 3) กระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่  1) วางแผนกำหนดเป้าหมาย 2) ขวนขวายแสวงหาความรู้ 3) พินิจหมวดหมู่ให้เป็นระบบ 4) วิเคราะห์จบแล้วกลั่นกรอง  5) ตรึกตรองโยงความรู้เก่าสู่ใหม่  6) แลกเปลี่ยนได้ให้แบ่งปัน  7) ประยุกต์พลันกับงานตน  และ 4) เงื่อนไขของการนำรูปแบบการจัดการความรู้ไปใช้ ได้แก่ ระบบสังคม ระบบสนับสนุน และหลักการตอบสนอง

  2. ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแนวคิดการถ่ายโยงความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครูภาษาไทย พบว่า นักศึกษาครูภาษาไทยมีความสามารถในการจัดการความรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            3. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาครูภาษาไทยและครูพี่เลี้ยงที่มีต่อรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแนวคิดการถ่ายโยงความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครูภาษาไทย พบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแนวคิดการถ่ายโยงความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครูภาษาไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด และ ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแนวคิดการถ่ายโยงความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครูภาษาไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก


 


              The purposes of this research were to: 1) develop the local wisdom knowledge management model with the knowledge transformation to promote the knowledge management ability and critical thinking for the Thai Language’s teacher students. 2)study effectiveness of the local wisdom knowledge management model with the knowledge transformation to promote the knowledge management ability and critical thinking for the Thai language’s teacher students. 3) Study the opinions of the Thai language’s teacher students and the mentor on the local wisdom knowledge management model with the knowledge transformation to promote the knowledge management ability and critical thinking for the Thai language’s teacher students. The sample of this research was 19 fifth year Thai language’s teacher students, Thai language section, faculty of education, Kanchanaburi Rajabhat university. The research instruments employed in this research were knowledge management model, knowledge test on knowledge management and local wisdom, evaluation form on ability to manage local wisdom knowledge integrated with teaching Thai language, evaluation form on ability to think critically, questionnaire on opinions of Thai language’s teacher students and mentors toward knowledge management model. The data were analyzed by percentages, mean (), standard deviation (S.D.), dependent t - test, and content analysis.


               The research results were as follows:


               1 The local wisdom knowledge management model with the knowledge transformation to promote the knowledge management ability and critical thinking for the Thai language’s teacher        students was named TSCACEA Model. There were 4 components of the model: 1) Principles of knowledge management model 2) Objectives of knowledge management model 3) Knowledge management process consisted of 7 steps 1) Target plan 2) Seeking knowledge 3) Consider the category as a system) 4) Analysis and moderation 5) Contemplate old knowledge to new knowledge 6) Exchange to share 7) Applied to the job and 4) the conditions for implementing the knowledge management model,  namely, social system, support system and response principle.


  1. The study of the effectiveness of the local wisdom knowledge management model with the knowledge transformation to promote the knowledge management ability and critical thinking for the Thai language’s teacher students revealed that Thai language’s teachers student’s ability to manage knowledge and critical thinking increased significantly at the .05 level.

  2. The study of the opinions of the Thai language’s teacher students and the mentors on the local wisdom knowledge management model with the knowledge transformation to promote the knowledge management ability and critical thinking for the Thai language’s teacher students found that the opinions of the Thai language’s teacher students on the local wisdom knowledge management model with the knowledge transformation to promote the knowledge management ability and critical thinking for the Thai language’s teacher students were at the most levels mean and the opinions of the mentors on the local wisdom knowledge management model with the knowledge transformation to promote the knowledge management ability and critical thinking for the Thai language’s teacher students overview were at much level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ

References

ภาษาไทย
กรมวิชาการ.(2540).การวางแผนการเรียนการสอนสื่อและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2546).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). คู่มือการจัดการความรู้ในองค์กร
การศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ชาตรี สำราญ.(2545). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา.กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.
ดรุนภา นาชัยฤทธิ์.(2557). “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหาและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์”.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี.(2544).วิทยาการด้านการคิด.กรุงเทพมหานคร : บริษัท เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จำกัด.
บัณฑิต ฉัตรวิโรจน์.(2550). “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู”.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต(นโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง.(2553). “การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู”.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประพนธ์ ผาสุกยืด.(2550).การจัดการความรู้ (KM) ฉบับขับเคลื่อน.กรุงเทพมหานคร : ใยไหม.
พรชัย ภาพันธ์.(2545). “กู้วิกฤตการศึกษาด้วยภูมิปัญญาไทย.”วิชาการ. 7 (กรกฎาคม 2545), 2-11.
พีระพรรณ ทองศูนย์.(2556). “การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม”.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์.(2551).คู่มือการเปลี่ยนผ่านการศึกษาตามหลักสัตตศิลา.พิมพ์ครั้งที่ 3 .กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟิค.
วิจารณ์ พานิช. (2547). การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร : ใยไหม.
ศุภวรรณ สัจจพิบูล.(2553).“การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ เนื้อหาและประเภทงานเขียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงวิชาการ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต.”วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงาน ก.พ.ร.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.(2549).คู่มือการจัดทำแผนจัดการความรู้ : โครงการพัฒนาส่วนราชการให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ในส่วนราชการ.กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน ก.พ.ร.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สุพัตรา คงขำ.(2556).“การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านหนังตะลุงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมท้องถิ่น”.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุมน อมรวิวัฒน์.(2541). “ทำไมต้องปฎิรูปการเรียนรู้”ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
การปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวคิด 5 ทฤษฎี.กรุงเทพมหานคร : ไอเดียสแควร์.
สุรางค์ โค้วตระกูล.(2541).จิตวิทยาการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์..(2556).การพัฒนาทักษะการคิดระดับสูง. กรุงเทพมหานคร : ไอ.คิว.บุ๊คเซ็นเตอร์.

ภาษาต่างประเทศ
Assin D.N. (1995). “Teacher Education in an Ear of Transformation” Preparing Teachers for All the World Children : An Era of Transformation. Bangkok : Chulalongcorn University Printing House.
Bigg, B. S.(1999). Human Characteristics and School Learning. New York : Mc Graw Hill.
Decaroli,J. (1973).“What Research Say to The Classroom Teacher : Critical Thinking.”Social Education 37,1 (January 1973) : 67 – 68.
Dressel,Paul and Lewis B.Mayhew.(1957).General Education : Exploration in Evaluation.2nd ed.Washington,D.C.: American Council on Education.
Ennis,R.H.(1993). “Critical Thinking Assessment.”Theory into Practice 32 ,3 : 10.
Marali, Y. (2001). Knowledge management and organizational competence. New York:
New York University press.
Marquardt, M.J. (2002). Building the learning organization.: Mastering the 5 elements for corporate learning. Palo Alto, CA: Davies-Black.
Nonaka, I., & Takeuchi, H. (2005). The knowledge-creating company : how Japanese
companies create the dynamics of innovation. New York: Oxford University
press.
Paul,R.(1993).Teaching critical thinking. California : Center For Critical Thinking and Moral Critique.