อำนาจการบริหารการศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 (Thai Educational Administration Authority in Thailand 4.0 Era)

Main Article Content

กัญญาภัค อังสุพันธุ์โกศล (Kanyapak Angsuphankosol)
กานต์ชนก พรมทา (kanchanok promtha)
ชัยวัฒน์ พนมวรชัย (Chaiwat Phanomworachai)
ดวงกมล โถทอง (Duangkamon Thotong)
ธีรังกูร วรบำรุงกุล (Theerangkoon Warabamrungkul)

Abstract

                 การขับเคลื่อนอำนาจการบริหารการศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 มีการดำเนินงานโดยการรวมอำนาจและการกระจายอำนาจ โดยระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579), แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564 ), แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12  บทความนี้จึงเล็งเห็น ความสำคัญของการจัดการกับอำนาจการบริหารการศึกษาที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบ 3ป คือ 1) ปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาและปรับปรุงการดำเนินงานของระบบการศึกษาที่จัดให้ดีขึ้น 2) เปลี่ยนแปลงแหล่งที่มาและจำนวนเงินที่หาได้สำหรับการจัดการศึกษา และ 3) ประโยชน์แก่รัฐและประโยชน์แก่ท้องถิ่น โดยพบว่า อำนาจการบริหารการศึกษาไทยได้ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญ 2560 และการเปลี่ยนแปลงของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารการศึกษาให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ แนวทางการจัดการอำนาจการบริหารการศึกษาของไทยมีแนวโน้มในการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาระบบการบริหารการศึกษาที่ดี


 


                The administrative authority of the Thailand educational administration in the Thailand 4.0 era is dominates to centralize authority in administration and decentralize the authority of government as stated in the 20 years Thailand’s National Strategy (2017-2036), The 12th National Economic and Social Development Plan (2017-2021), National Education Development Plan and 12th National Education Stratigy. This article recognizes the importance of coordination between the quality of educational administration and integration on the movement of the authority Thailand educational administrative policy in achieving the following three goals: 1) improve and develop the quality of the administrative processes; 2) modification of resources; and 3) advantages of government and local communities. We found out that this idea has been defined in the Kingdom of Thailand’s 2017 Constitution edition and the National Education Act. Educational administration that revised the structure to create flexibility in administration, competently developed towards effective administration systems and better education administration management system.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts