การพัฒนารูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู (The Development of Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning for Pre-service Teachers)

Main Article Content

วสันต์ ศรีหิรัญ (Wason Srihirun)
กอบสุข คงมนัส (Kobsook Kongmanus)
สุมาลี ชัยเจริญ (Sumalee Chaicharoen)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา สภาพ ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทาง การเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2) พัฒนารูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตาม แนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู และ 4) รับรองรูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะครุศาสตร์ จำนวน 44 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Sampling)  เครื่องมือวิจัย ได้แก่  1) รูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตาม แนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  2) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 3) แบบประเมินตนเองการทำงานเป็นทีม 4) แบบสอบถามการทำงานเป็นทีมจากสมาชิกในทีม 5) แบบสัมภาษณ์การคิดวิเคราะห์  6) แบบวัดการคิดวิเคราะห์  7) แบบสอบถามความสามารถในการสื่อสารและ   การใช้เทคโนโลยี 8)  แบบวัดความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี  9) แบบสำรวจความคิดเห็น 10) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  สถิติทดสอบที    (t- test  Dependent)


               ผลการวิจัย พบว่า


  1. ผลการศึกษา สภาพ ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู จากการศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครู พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในภาพรวมระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย 2) ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการจัดกิจรรมการเรียนการสอนภาพรวมมีปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาชีพครูอยู่ในระดับมาก                   3) ความต้องการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมมีความต้องการในการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก และผลจากการศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอน พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง  2) ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการจัดกิจรรมการเรียนการสอนภาพรวมของปัญหาอยู่ในระดับมาก และ 3) ความต้องการจัดการเรียนการสอน มีความต้องการในระดับมากที่สุด  

  2. รูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์แบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ เป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างคุณลักษณะที่ ต้องการตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูและ ความสามารถที่สำคัญที่จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยอิงหลักการ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองตามแนวทฤษฎีคอนสตัคติวิสต์และรูปแบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมและพัฒนาได้ตามหลักการและวิธีการที่ถูกกำหนดไว้ในรูปแบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักศึกษาวิชาชีพครู  2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตัวผู้เรียนตามทักษะ ความรู้ความสามารถและสติปัญญาของเอกัตบุคคล โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ หลากหลาย เพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิชาชีพครูที่ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู  3) ผู้เรียน/ผู้สอน เป็นบทบาทและคุณสมบัติของผู้เรียนและผู้สอนที่มีต่อการใช้รูปแบบฯ 4) เนื้อหา เป็นเนื้อหาตามกรอบมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา จำนวน  4  หน่วยการเรียน ประกอบด้วย  ความรู้ทั่วไป และแนวคิดทฤษฎีของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา, การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา, แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้, การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา 5) สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้าน เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เรียกว่าConstructivist Learning Environments (CLEs) และ Open Learning  environments (OLEs) ที่มุ่งเน้นความสามารถในการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างซับซ้อน โดยเน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากปัญหา คำถาม กรณี หรือโครงงานที่มีความซับซ้อน ร่วมหลักการการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่เน้น การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตัวผู้เรียนตามทักษะ ความรู้ความสามารถและสติปัญญาของเอกัตบุคคล (Individualized Competency) ตามอัตราความสามารถทางการเรียนแต่ละคนจากมวลประสบการณ์ที่ครูจัดให้ผ่านสื่อเทคโนโลยี ICT หลากหลายประเภทในปัจจุบัน และเป็นลักษณะการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นอกชั้นเรียนอย่างอิสระทั้งด้านความคิดและวิธีปฏิบัตินำมาเป็นพื้นฐาน 6) กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นกระบวนการเรียนของรูปแบบ ได้นำแนวคิดห้องเรียนกลับด้านและแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์มาใช้ในการกำหนดกิจกรรมในการเรียนของรูปแบบ โดยรูปแบบการเรียนแบ่งออกเป็น  2 ส่วนหลักคือ การเรียนรู้นอกห้องเรียน และการเรียนรู้ในห้องเรียน 7) การประเมินผลความสามารถการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21  เป็นการประเมินผลความสามารถการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้เรียนรู้จากรูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู โดยได้แบบการประเมิน 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1การประเมินผลก่อนเรียน ระยะที่ 2 การประเมินระหว่างเรียน และระยะที่ 3 การประเมินผลหลังเรียน ผลที่ได้จากประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับดี

  3. ผลการใช้รูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตาม แนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 1) ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ความสามารถด้านการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบฯ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถด้าน การทำงานเป็นทีมของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นตามลำดับซึ่งแสดงให้เห็นถึงนักศึกษาวิชาชีพครูมีพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนด้วยรูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอน ด้านรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้สื่อบนเครือข่าย ภาพรวมความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

  4. ผลการรับรองรูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู โดยผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบฯภาพรวมความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

         The purposes of the research were: 1) to study the condition, problems, and need of Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning for Pre-service Teachers 2) to develop the Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning for Pre-service Teachers 3) to study the effects of using Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning for Pre-service Teachers and 4) to approve and propose the Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning forPre-service Teachers. The samples were 44 pre-service teachers From Rajabhat University who registered in educational technology and innovation subject and selected by Multi – Stage Sampling. The research instruments were 1) the Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning for Pre-service Teacher, 2) Group-work observation form, 3) self-evaluation form in teamwork activity, 4) group members’ evaluation form in teamwork  activity, 5) critical thinking interview, 6) evaluation form of critical thinking, 7) the questionnaire about the communication abilities and using technology, 8) evaluation form about the communication abilities and using technology, 9) opinion poll and 10) achievement test. The data were statistical analyzed by Index of Item – Objective Congruence (IOC), mean, percentage, standard deviation, and t-test Dependent.


               The research findings were as follows:                                   


  1. The results of pre-service teachers’ opinions about the condition, problems, and need of Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning for Pre-service Teachers showed that 1) the condition of teaching overall was at low level. 2) the problems and obstacles that effected to teaching and learning was overall at high level 3) the need of teaching and learning at high level. The results of lecturers’ opinions about the condition, problems, and need of Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning for Pre-service Teachers showed that 1) condition of teaching and learning overall was at medium level, 2) problems and obstacles that effected to teaching and learning overall was at high level and 3) need of teaching and learning overall was  at the highest level.

  2. The Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning for Pre-service Teachers consisted of 7 components as the following: 1) principles 2) objective 3) learners/teachers 4) contents 5) Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning for Pre-service Teachers 6) instructional process and 7) measurement and evaluation. The result of appropriateness was at the high level.

  3. The effects of using Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning for Pre-service Teachers found that 1) the students’ critical thinking, communication abilities, technology use ability, and achievement after learning was significantly higher than the pretest score at .05 significant levels. 2) The teamwork ability of pre-service teachers showed that the average score is higher. It can be said that the pre-service teachers have the higher level of team working. 3) The opinions about learning with Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning for Pre-service Teachers showed that the instructional condition and instructional model were appropriate at the highest level of appropriateness and the online learning environment design was appropriate at the high level of appropriateness.

  4. The experts agreed that the Constructivist Learning Environment Model with Flipped Classroom to Enhance 21st Century Learning for Pre-service Teachers was appropriate at the high level.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

จารุณี ซามาตย์. (2552). “การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จิราภรณ์ หนูสวัสดิ์. (2554). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการผ่านเว็บตามแนวทฤษฎีการขยายความคิด เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้ของผู้เรียนในระพับอุดมศึกษา.” ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปิยะวดี พงษ์สวัสดิ์, และ ณมน จีรังสุวรรณ. (2558). “การออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้กิจกรรมWebQuest เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สําหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา.” วารสารครุศาสตร์ อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พราวเพ็ญธรรม เรืองศรี.(2560). “การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านผ่านสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการนำตนเอง ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี.” Veridian E-Journal,Silpakorn University (กันยายน–ธันวาคม) : 2221-2233.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2548). “ร่วมคิดร่วมเขียน ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด.” กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. (2550). “รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การพัฒนาโมเดลต้นแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์.” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรศักดิ์ ปาเฮ (มปป.) “ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21” สืบค้นจาก : https://phd.mbuisc.ac.th/academic/flipped%20classroom2.pdf
หทัยชนันบ์ กานต์การันยกุล และ วิสูตร โพธิ์เงิน (2557). “การพัฒนาชุดกิจกรรมการออกแบบทางศิลปะด้วยสมุดร่างภาพ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.” Veridian E-Journal,Silpakorn University (มกราคม - เมษายน) : 831-843.
Anderson, J. R. (1985). Cognitive Psychology and Its Implication. 2nd Ed. New York:Freeman.
Dyer, W.G. (1977). Team building: Issues and alternatives. Reading; MA: Wesley.
Dyer, W.G.. (1977). Team Building: Issues and Alternatives. Reading, MA & Menlo.
Hannafin M., Susan L., and Kevin O. (1999). Open Learning Environments: Foundations, Methods, and Models. In Charles M. Reigeluth (ED), Instructional Design Theories And Models: A New Paradigm of Instructional Theory. Volume II.Newjersy: Lawrence Erlbaum Associates.
Herreid, C. F., & Schiller, N. A. (2013). Case studies and the flipped classroom. Journal of College Science Teaching