การจัดการศึกษาแบบใหม่ของฝรั่งเศสกับการเพาะบ่มจิตสำนึกทางวัฒนธรรม ของพระสงฆ์เขมร (French’s New Education System and Cultivation of Cultural Consciousness of The Khmer Sangha)
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการศึกษาแบบใหม่ของรัฐบาลอาณานิคมฝรั่งเศสในกัมพูชากับการแสดงออกถึงสำนึกทางวัฒนธรรมของพระสงฆ์เขมรในช่วงทศวรรษ 1930 โดยเสนอมุมมองที่แตกต่างออกไปเพิ่มเติมจากการศึกษาที่ผ่านมาที่มักให้ความสำคัญกับรัฐบาลอาณานิคมฝรั่งเศสในฐานะผู้มีบทบาทในการสร้างสำนึกถึงความเป็นชาติเขมร ผู้วิจัยต้องการชี้ให้เห็นว่าในขณะที่สำนึกถึงความเป็นชาติของชาวเขมรสัมพันธ์กับกระบวนการทำให้ทันสมัยของฝรั่งเศสในกัมพูชา โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษา แต่รากฐานทางความคิดของชาวเขมรคงความสืบเนื่องในการให้ความสำคัญต่อพุทธศาสนา ภาษา และวรรณกรรมโดยมีกลุ่มพระสงฆ์เป็นผู้ธำรงรักษาความสืบเนื่องนั้น
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าฝรั่งเศสดำเนินนโยบายจัดระบบการศึกษาแบบใหม่แก่ชาวเขมรเพื่อตอบสนองต่อความต้องการแรงงานที่มีการศึกษา แต่ด้วยธรรมเนียมที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ประกอบกับภาระทางเศรษฐกิจและความขัดแย้งกับชาวเวียดนามและชาวจีนทำให้ชาวเขมรเลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนที่วัดโดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ดำเนินการสอน ทำให้ฝรั่งเศสหันมาจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนวัดพร้อมกับปฏิรูปการศึกษาแก่คณะสงฆ์เพื่อลดอิทธิพลของสยามและสร้างกลุ่มพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถสำหรับการสอนโรงเรียนวัดแบบใหม่ในแบบที่ฝรั่งเศสต้องการและควบคุมได้ แต่การจัดการศึกษาแบบใหม่ส่งผลที่ฝรั่งเศสไม่ได้คาดคิด กล่าวคือทำให้พระสงฆ์ก้าวเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้เคลื่อนไหวด้านชาตินิยมควบคู่กับกลุ่มปัญญาชน ประเด็นที่น่าสนใจคือการเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ไม่ได้เกิดขึ้นจากแนวคิดทางการเมือง แต่เกิดจากความต้องการธำรงรักษารากฐานทางวัฒนธรรมของเขมร จึงแสดงให้เห็นว่าสำนึกถึงความเป็นชาติของชาวเขมรนั้น ไม่ได้เกิดจากการผลักดันของฝรั่งเศสแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังเกิดจากความสืบเนื่องของการเพาะบ่มสำนึกถึงความเป็นชาติที่เชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมซึ่งพระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้สึกดังกล่าวต่อสังคม และสัมพันธ์กับการปฏิรูปการศึกษาของฝรั่งเศสที่ผลักดันให้พระสงฆ์กลุ่มหนึ่งเป็นผู้ที่มีความก้าวหน้าทางความคิดแต่มีจิตสำนึกในการธำรงรักษาภาษา-วรรณกรรมที่แสดงออกถึง “ความเป็นเขมร”
The aim of this research is to examine the relationship between French new education system in Cambodia and the manifestation of Khmer Sangha’s cultural consciousness during the 1930s by presenting an additional and different perspective from existing works that prioritize French colonial government’s role in developing Khmer national consciousness. The researcher wants to point out that while the development of Khmer national consciousness was related to French’s modernization process in Cambodia, education reforms in particular, there was a continuity in the fundamental belief of the Khmer on the importance of Buddhist religion, language and literature, with the Khmer sangha as a main proprietor of such continuity.
Study’s results indicate that the French organized modern system of education for the Khmer to serve the need for educated manpower. However, because of the adherence to traditional practice as well as economic burden and resentment toward the Vietnamese and the Chinese, the Khmer preferred to send their offspring to Buddhist temple schools taught by the sangha. This compelled the French to reform both temple schools and the sangha’s education in order to lessen Siamese influence and to create a new group of educated sangha who would be teaching in the reformed temple schools under French’s control and in a way that the French wanted. The scheme, however, produced results that the French did not quite anticipate, for it was responsible for the sangha’s involvement in the khmer nationalist movement together with other intellectuals. The interesting issue here is that sangha’s movement arose less out of political concept than the need to preserve Khmer cultural roots, thus suggesting that the rise of Khmer national consciousness was not propagated totally by the French. Rather, it connected with continued awareness within Khmer society of its own cultural identity. The sangha’s important role in the dissemination of such cultural awareness was related to French education reforms which produced a new group of modern sangha with progressive thought but also with commitment toward the preservation of language and literature that defined “khmerness”.
Article Details
References
ภาษาไทย
Anderson, B. (2009). Chumchončhintakam: Botsathō̜n wā dūai kamnerd læ kān phrǣkhayāI khō̜ng chātniyom. Charnvit Kasetsiri, trans. 2nd ed. Bangkok: Khrōngkān tamrā sangkhomsāt læ manutsayasāt.
แอนเดอร์สัน, เบน(2552). ชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการแปล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
Būakhamsī, T. (2012). Prawatsāt Kamphūchā. 2nd ed. Bangkok: Matichon.
ธิบดี บัวคำศรี. (2555). ประวัติศาสตร์กัมพูชา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.
Būakhamsī, T. (2014). “prathed kamphūchā khō̜ng phraʻongmayukhonthō̜n” [The Country of Cambodia of Princes Votha and Yukanthor]. Journal of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University 10, 1: 147-174.
ธิบดี บัวคำศรี. (2547). “เอกสารมหาบุรุษเขมร: การศึกษางานเขียนประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของกัมพูชา.” วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
Chōo Tar kwān. (2014). banthưk wādūai khanopthamnīam praphēnī khō̜ng čhœ̄n la. Chalœ̄m Yongbunkœ̄t, trans. 3rd ed. Bangkok : Matichon.
โจว ต้า กวาน. (2557). บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ. เฉลิม ยงบุญเกิด, ผู้แปล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มติชน.
Damrongrāchānuphāp, Somdetkromphrayā. (1974). nirātnakornwat. Bangkok: Khlangvitthaya.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2517). นิราศนครวัด. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.
Mulō̜, Bunčhan. (1985). khukkānmư̄ang. Kǣo Isara, trans. Bangkok: Kledthai.
มุล, บุญจันทร์. (2528). คุกการเมือง. แก้ว อิสระ, ผู้แปล. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
Nō̜rōdomsīhanu. (1975). Indōčhīn: Thatsanačhākpakking Nō̜rōdom Sīhanu Hai samphāt kǣ čhang. Sawāng Wong, trans. Bangkok: Prapansān.
นโรดมสีหนุ. (2518). อินโดจีน: ทัศนะจากปักกิ่ง นโรดม สีหนุ ให้สัมภาษณ์แก่จังกูติวส์. สว่าง วงศ์พัวพันธุ์, ผู้แปล. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.
Panyarit, S. (1979). “farangsēt kap kān hai kān sưksā kǣ ʻānānikhomʻindōčhīn.” Thammasat Journal 8, 4: 79-93.
สุนันทา ปัญญาฤทธิ์. (2522). “ฝรั่งเศสกับการให้การศึกษาแก่อาณานิคมอินโดจีน.” วารสารธรรมศาสตร์ 8, 4: 79-93.
Phakdeekham, S. (2011). Sāttrālǣbong: Watthanatham thāng wannasin Phatthanākān læ khwāmsamphan kap watthanatham khamēn. Bangkok: Krasūangkāntāngprathēt.
ศานติ ภักดีคำ. (2554). ศาสตราแลบง: วัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ พัฒนาการ และความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมเขมร. กรุงเทพฯ: กระทรวงการต่างประเทศ.
Phakdeekham, S. (2012). “khwāmsamphan thāng phraphutsātsanā rawāng siam samai phrabāt somdetphračhō̜mklaočhaoyūhūa kap krungkamphūchā” [Siam-Cambodia Buddhist Relations during the Period of King Rama the Fifth]. Songklanakarin Journal of Social Sciences & Humanities 18,3 (July-September): 3-19.
ศานติ ภักดีคำ. (2555). “ความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างสยามสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวกับกรุงกัมพูชา.” วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 18, 3 (กรกฎาคม-กันยายน): 3-19.
Sothea Sovannathero, Phra (Yon). (2010). “Kān sưksā khō̜ng khana song nai rātchaʻ ānāčhak kamphūchā” [Education of Sangha in the Kingdom of Cambodia]. M.A. Thesis Maha chulalongkornrajavidyalaya University of Arts in Buddhist Studies.
สุเธีย สุวณฺณเถโร, พระ (ยนต์). (2553).“การศึกษาของคณะสงฆ์ในราชอาณาจักรกัมพูชา.” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสตร์ บัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภาษาต่างประเทศ
“Annexe N 14 RÉORGANISATION DE L'ENSEIGNEMENT PUBLIC EN INDO - CHINA.” (1908). Situation de l'Indo-Chine de 1902 à 1907 TOME II. Saigon: Imprimerie Commerciale Marcellin Rey C. Arden.
Ayres, David M. (2003). Anatomy of a Crisis: education, development, and the state in Cambodia, 1953 - 1998. Chiang Man: Silkworm Books.
Bilodeau, Charles. (1955). “Compulsory Education in Cambodia.” in Compulsory Education in Cambodia, Laos and Viet-Nam. Switzerland: United Nations.
Bilodeau, Charles. (1984). “Compulsory Education in Cambodia,” in Education and the Colonial Experience, eds. Philip G. Altbach and Gail P. Kelly. second rex.ed. New Brunswick: Transaction Books.
Clayton, Thomas. (1995). “Restriction or Resistance? French Colonial Educational Development in Cambodia.” Education Policy Analysis Archives 3, 19 (December 1): 1-14
Chandler, David. (2008). A History of Cambodia, fourth edition. Colorado: Westview Press.
Forest, Alain. (1980). Le Cambodge et la Colonisation Française: Histoire d’une Colonisation sans Heurts (1897-1920). Paris: L’Harmattan.
Edward, Penny. (1999). “Cambodge: The Cultivation of a Nation 1860 – 1945.” Thesis Doctor of Philosophy History Department, Monash University.
Gyallay-Pap, Peter. (1989). “Reclaiming a shattered past: Education for the displaced Khmer in Thailand.” Journal of Refugee Studies 2: 257-275.
Hansen, Anne Ruth. (2007). How to Behave Buddhism and Modernity in Colonial Cambodia 1860-1930. United States of America: University of Hawai’I Press.
Harris, Ian. (2006). Cambodian Buddhism History and Practice. Chiang Mai: Silkworm Books.
Klairung Amratisha. (1998). “The Cambodian Novel: A Study of Its Emergence and Development.” Ph.D. Thesis, University of London School of Oriental and African Studies.
Kiernan, Ben. (1985). How Pol Pot Came to Power: A History of Communism in Kampuchea, 1930-1975. London: Verson.
Morizon, René. (1931). Monographie du Cambodge. Indochina Française: Monographie du Cambodge. Hanoi: Imprimerie d’Extrême-Orient.
Smith, R.M. (1971). “The Khmer Empire, French rule, and the path to independence.” In Cambodia: The widening war in Indochina. J.S. Grant, L.A.G. Moss, & J. Unger (Eds.). New York: Washington Square Press.
Torhorst, M. (1966). “The development of the educational system in the Kingdom of Cambodia.” in Educational systems of some developing countries in Africa and Asia. Dresden: Verlag Zeit im Bild.
Tully, John. (1996). Cambodia Under the Tricolour: King Sisowath and the ‘Mission Civilisatrice’ 1904-1927. Australia: Monash papers on Southeast Asia.
Rany, Sam. (2012). “Cambodia’s Higher Education Development in Historical Perspectives (1863-2012).” International Journal of Learning & Development 2, 2: 224-241.
Sam, Yang. (1998). “Buddhism in Cambodia, 1795-1954.” Thesis Presented to the Faculty of the Graduate School of Cornell University in Partial Fulfillment of Requirement for the Degree of Master arts.
ឃីង ហុក ឌី. (២០០២). ទិដ្ឋភាពទូទៅនៃអក្សរខ្មែរ. ភ្នំពេញ: រោងពុម្ពខ្មែរ. [ฆึง หก ฑี. (2002). สภาพทั่วไปในอักษรเขมร. พนมเปญ: โรงพิมพ์เขมร.]
ដេ្រប សុផល. (២០០៨). កម្ពុជា នយោបាយ សេដ្ឋកិច្ច សង្គម (១៨៦៣ - ១៩៧៩). កម្ពុជា: ជោគជ័យ. [เดียบ โสะผล. (2008). กัมพูชา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม (1863 - 1979). กัมพูชา: โชคชัย.]
ត្រឺង ងា. (១៩៧៣). ប្រវត្តិសាស្រ្តខែ្មរ ភាគ ១ - ២. ភ្នំពេញ: n.d. [ตรึง เงีย. (1973). ประวัติศาสตร์เขมร ภาค 1 - 2. พนมเปญ: n.d.]
ពុទ្ធសាសនបណ្ឌិត្រ. (២០០៥). ប្រវត្តិសងេ្ខបពុទ្ធសាសនបណ្ឌិត្រ. ភ្នំពេញ: ពុទ្ធសាសនបណ្ឌិត្រ. [พุทธศาสนบัณฑิตย์. (2005). ประวัติสังเขปพุทธศาสนบัณฑิตย์. พนมเปญ: พุทธศาสนบัณฑิตย์.]
“ព្រះរាជប្រកាសលេខ ៥៦.” (១៩១៦). ឲកតូប ណោវម ដេសម ១៩១៦, រាជកិច្វ-រដ្ឋកិច្វ កម្ពុជា, រាជកិច្វរាជ្ការ ១, ៤ បណ្ណសាដ្ឋានជាតិកម្ពុជា. [“พระราชประกาศเลข 56.” (1911). ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม 1911. ราชกิจ- รัฐกิจ กัมพูชา. ราชกิจราชการ 1, 4. บรรณสถานชาติกัมพูชา.]
“ព្រះរាជប្រកាសលេខ ៦៧.” (១៩១៥). សូយេត អ៊ូត សេបតម ១៩១៥, រាជកិច្វ-រដ្ឋកិច្វ កម្ពុជា, រាជកិច្វរាជ្ការ ៥, ៣ បណ្ណសាដ្ឋានជាតិកម្ពុជា. [“พระราชประกาศเลข 67.” (1915). กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน 1915. ราชกิจ-รัฐกิจ ราชกิจราชการ 5, 3. บรรณสถานชาติกัมพูชา.]
“ព្រះរាជប្រកាសលេខ ៨០.” (១៩១៦). ឲកតូប ណោវម ដេសម ១៩១៦. រាជកិច្វ-រដ្ឋកិច្វ កម្ពុជា. រាជកិច្វរាជ្ការ ៦, ៤ បណ្ណសាដ្ឋានជាតិកម្ពុជា. [“พระราชประกาศเลข 80.” (1916). ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม 1916. ราชกิจ- รัฐกิจ กัมพูชา. ราชกิจราชการ 6, 4. บรรณสถานชาติกัมพูชา.]
មៀច ប៉ុណា, (១៩៩៤). “ការសិក្សាសម័យបុរាណ.” កម្ពុជសុរិយា ៤៨, ៣ (តុលា-វិចកា-ធ្នូ): ៩០-៩៤. [เมียจ บุณฺณ. (1994). “การศึกษาสมัยบุราณ.” กัมพุชสุริยา 48, 3 (ตุลาคม - พฤศจิกายน - ตุลาคม), 90-94.]
លី ធាម. (១៩៦០). អក្សរសាស្ត្រខ្មែរ. ភ្នំពេញ: បណ្ណាគារសេង ងួន ហ៊ួត. [ลี ธามเตง. (1960). อักษรศาสตร์เขมร. พนมเปญ: บรรณาคารเสง งวน หวด.
“សាគ្រារសេនាបតីលេខ ៤.” (១៩១៦). អាវរីល ម៉េ យូរាំង ១៩១៦. រាជកិច្វ-រដ្ឋកិច្វ កម្ពុជា. រាជកិច្វរាជ្ការ ៦, ២. បណ្ណសាដ្ឋានជាតិកម្ពុជា. [“สารตราเสนาบดีเลข 4.” (1916). เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน 1916. ราชกิจ-รัฐ กิจ กัมพูชา. ราชกิจราชการ 6, 2. บรรณสถานชาติกัมพูชา.]
ហូត តាត. (១៩៧០). កល្យាមិត្តរបស់ខ្ញុំគឺសមេ្តចព្រះសង្ឃរាជព្រះនាមជួន ណាត. n.d. [หวด ตาด. (1970). กัลยาณมิตรของข้าพเจ้าคือสมเด็จพระสังฆราชพระนามจวน ณาต. ม.ป.ท.]
ហ៊ែរីស, អៀន. (២០០៥). ប្រវតិ្ត និងការប្រតិបតិ្ត ព្រះពុទ្ធសាសនានៅប្រទេសកម្ពុជា. ភ្នំពេញ: រោងពុម្ពផ្សាយនគរវត្ត. [แหรีส, เอียน. (2004). ประวัติและการปฏิบัติ พระพุทธศาสนาประเทศกัมพูชา. พนมเปญ: โรงพิมพ์นครวัด.]
អ៊ុម-ស៊ុម. (១៩៩៥). “បញ្ហាបួស.” កម្ពុជសុរិយា ៤៩, ១ (មករា-កុម្ភះ-មីនា): ២៧-៣១. [อุม-สุม. (1995). “ปัญหาบวช.” กัมพุชสุริยา 49, 1 (มกราคม - กุมภาพันธ์ - มีนาคม), 27-31.]
ឪម-ខែម. (២០០០). “ពុទ្ធសាសនានិងតមៃ្លសីលធម៍ចំពោៈស្វាមីភរិយា.” កម្ពុជសុរិយា ៥៤, ២ (មេសា-ឧសភា-មិថុនា): ២- ៥៣. [อุม-แขม. (2000). “พุทธศาสนากับคุณค่าทางจริยธรรมของสามีภรรยา,” กัมพุชสุริยา 54, 2 (เมษายน-พฤษภาคม - มิถุนายน), 2-53.]